Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28973
Title: | มาตรการทางอาญาเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก |
Other Titles: | Criminal measures on the access to information on the internet indecent for children |
Authors: | สัณฐิชัย สนิทไชย |
Advisors: | ปารีณา ศรีวนิชย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pareena.S@Chula.ac.th |
Subjects: | อินเตอร์เน็ตกับเด็ก คอมพิวเตอร์กับเด็ก เด็ก -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ คอมพิวเตอร์ -- การควบคุมการเข้าถึง เด็ก -- เหยื่ออาชญากรรม ความผิดทางอาญา อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พฤติกรรมเบี่ยงเบน |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัญหาเกี่ยวกับการกระทำความผิดของเด็กในขณะนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่เด็กได้รับข้อมูลที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กจากอินเตอร์เน็ต โดยกฎหมายของประเทศไทยที่ใช้บังคับอยู่ยังไม่สามารถดำเนินการกับข้อมูลที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กได้ เนื่องจากปัญหาในเรื่องของการบัญญัติกฎหมายที่ไม่มีความครอบคลุมเพียงพอ ปัญหาเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย และปัญหาความไม่ชัดเจนและซ้ำซ้อนในอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และหน่วยงาน ทำให้ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กยังคงอยู่และเด็กก็สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้โดยไม่มีมาตรการที่เหมาะสมมากำกับดูแล ส่งผลให้เด็กซึ่งเป็นผู้ที่ยังด้อยวิจารณญาณและยังมีวุฒิภาวะไม่เพียงพอได้รับผลกระทบในทางลบต่อพัฒนาการและพฤติกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดการกระทำความผิดของเด็กในต่างประเทศได้มีการวางมาตรการต่างๆ ออกมาเพื่อจัดการกับปัญหาเรื่องข้อมูลที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก เช่น สหภาพยุโรปได้มีการกำหนดแผนการสร้างอินเตอร์เน็ตที่ปลอดภัยกว่า ซึ่งวัตถุประสงค์หลักคือการป้องกันเด็กจากเนื้อหาที่เป็นอันตรายบนอินเตอร์เน็ต โดยได้มีการวางแนวทางปฏิบัติเอาไว้ เช่น การตั้งสายด่วน การใช้เครื่องมือทางเทคนิคเพื่อกลั่นกรองข้อมูล การจัดระดับความเหมาะสมของข้อมูล การส่งเสริมการดูแลตนเอง เป็นต้น และในอีกหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย หรือเกาหลีใต้ ก็มีการวางมาตรการในการกำกับดูแลการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเป็นการเฉพาะเช่นกัน โดยได้มีการกำหนดลักษณะและขอบเขตของข้อมูลที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กและวางมาตรการที่จะใช้ดำเนินการกับข้อมูลเหล่านั้นไว้โดยเฉพาะ สำหรับประเทศไทย หากมีการกำหนดมาตรการทางอาญาเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยให้ครอบคลุมในด้านของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต เนื้อหาบนอินเตอร์เน็ต และผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต โดยตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการกับข้อมูลที่ไม่เหมาะสมบนอินเตอร์เน็ตและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็จะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กทั้งด้านพัฒนาการและพฤติกรรม อันจะส่งผลให้เป็นการลดและป้องกันการกระทำความผิดของเด็กไปในตัวด้วย |
Other Abstract: | Juvenile delinquency is partly the result of indecent information on the internet which is harmful or unsuitable for children. This research finds that, in Thailand, the existing laws do not cover and cope with all issues involved. Besides, they are ineffectively enforced due to lacking of understanding and the obscure and duplicate power and function of the authorities. Consequently, the indecent information still appears on the internet and children could access without appropriate monitor and control. These cause children, who are inferior and immature, be exposed to the negative effect to their development and behavior that might cause the juvenile delinquency. Many countries lay down measures to protect children from indecent information on the internet. For example, European Union created the Safer Internet Plus Programme to prevent against illegal content and to promote safer use of the Internet and other online technologies, particularly for children. The measure includes hotlines, filtering software, rating system and self-regulation. In the United State of America, Australia or the Republic of Korea, also, lay down the monitoring measure to protect children from indecent information on the internet by specifying what is indecent information for children and using specific measure to deal with it. This research proposes that there should be the criminal measures related to the access of indecent information for children, covering issues of internet users, contents and service providers. Also, a new institution authorized should be established, to be in charge of monitoring indecent information and coordinating with other agencies. With these, children’s well-being, both in development and behavior, could be protected from information on the internet that is indecent for them and would lead to the reduction and prevention of juvenile delinquency. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28973 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.282 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.282 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Santhichai_sa.pdf | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.