Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29000
Title: | การป้องกันรังสีในการรักษาโรคมะเร็งของต่อมธัยรอยด์ด้วยไอโอดีน-131 |
Other Titles: | Radiation protection in I-131 therapy of thyroid cancer |
Authors: | พจี เจาฑะเกษตริน |
Advisors: | ร่มไทร สุวรรณิก พวงรัตน์ บูรณพงษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2531 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ได้มีการนำไอโอดีน-131 มาใช้ในทางการแพทย์เพื่อรักษาโรคมะเร็งของต่อมธัยรอยด์กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากปริมาณกัมมันตภาพรังสีของไอโอดีน-131 ที่ใช้มีขนาดสูง จึงจำเป็นต้องมีมาตรการพิเศษในการป้องกันอันตรายจากรังสี วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ จากผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เข้าพำนักในโรงพยาบาลศิริราช เพื่อรักษาโรคมะเร็งของต่อมธัยรอยด์โดยใช้สารละลายไอโอดีน-131 เพื่อเลือกหาและกำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายจากรังสีสำหรับเจ้าหน้าที่ ผู้เข้าเยี่ยม สาธารณชน และต่อผู้ป่วยเอง การดำเนินการประกอบด้วยการออกแบบวิธีการให้สารละลายไอโอดีน-131 แก่ผู้ป่วยในระบบปิด เพื่อป้องกันการระเหยของไอโอดีนสู่บรรยากาศและป้องกันการทำหก วิธีการให้ไอโอดีนแก่ผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นมีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัย โดยมีปริมาณไอโอดีน-131 เหลือตกค้างอยู่ในขวดเพียงร้อยละ 1.6 ± 1.3 (n = 57) ในการใช้เทอร์โมลูมีเนสเซน โดสิมีเตอร์ วัดปริมาณรังสีที่อวัยวะสืบพันธ์ และกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วย พบว่าอวัยวะสืบพันธ์และกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วยทั้งชายและหญิงได้รับปริมาณ รังสีสูงมากในวันแรก แต่จะลดลงอย่างรวดเร็วในวันต่อๆมา ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณกัมมันตภาพรังสีที่ถูกขับถ่ายในปัสสาวะ การวัด เอกซ์โพเชอเรทจากตัวผู้ป่วยแต่ละวันด้วยเครื่องเซอร์เวย์ มิเตอร์ ให้ข้อมูลในการกำหนดระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่หรือพยาบาล จะเข้าไปปฏิบัติงานกับผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย และกำหนดวันที่ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ สำหรับผู้ป่วยที่ได้ดื่มไอโอดีน-31 จำนวน 100 มิลลิคูรี หลังจากนั้นทันที เจ้าหน้าที่พยาบาลสามารถอยู่ปฏิบัติงานที่ระยะห่าง 1 เมตร จากผู้ป่วยได้เฉลี่ยเป็นเวลานาน 9 นาที โดยจะไม่ทำให้ได้รับรังสีเกินระดับปริมาณรังสีสูงสุดที่กำหนดให้รับได้ ที่ 24 และ 48 ชั่วโมง ระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่สามารถอยู่ปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยจะยืดเป็น 36 และ 80 นาที ตามลำดับ ดังนั้นการให้การ รักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยที่ได้ดื่มไอโอดีน-131 ตามความจำเป็นปกติซึ่งไม่กินเวลานาน ย่อมไม่ทำให้เจ้าหน้าที่พยาบาลได้รับอันตรายจากการแผ่รังสี พบว่าการให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ ไม่ได้ช่วยทำให้ปริมาณกัมมันตภาพรังสีที่เหลืออยู่ในตัวผู้ป่วยลดลงเร็ว ไอโอดีน-131 จะถูกขับถ่ายออกมาในบัสสาวะอย่างรวดเร็ว เป็นปริมาณโดยเฉลี่ยถึงร้อยละ 53, 6.8 และ 1.3 ในวันที่ 1 ถึง 3 ตามลำดับ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการ ในการเก็บหรือกำจัดบัสสาวะของผู้ป่วยอย่างน้อยใน 2 วันแรก สำหรับที่โรงพยาบาลศิริราชใช้วิธีกำจัดทางโถส้วม การทดลองสอบความเปรอะเปื้อนรังสีในห้องผู้ป่วย พบว่าบริเวณพื้นห้องน้ำมีการเปรอะเปื้อนรังสีสูงกว่าบริเวณอื่น เป็นการยืนยันถึงความจำเป็นในการจัดหาห้องน้ำแยกให้แก่ผู้ป่วยดังกล่าว |
Other Abstract: | Iodine-131 has been increasingly used for therapeutic management of thyroid cancer. The use of high activities of iodine-131 requires the implementation of special radiation safety precautions. This thesis accumulated information from a number of in-patients in Siriraj Hospital who received therapeutic dose of iodine-131 for the management of thyroid cancer to establish special radiation safety procedures for personnel, nurses, visitors and the patients themselves. The studies began with the design of oral administration of iodine-131 by closed system to prevent volatilization and contamination of iodine. The system renders a convenient, quick, economic and safe method of oral administration. Residual iodine-131 in the bottle was only 1.63 ± 1.3 per cent. Use of thermoluminescent dosimeter to monitor radiation dose that the gonads and bladder were exposed showed that the organs received a substantial amount of radiation dose in the first day after the administration. The radiation dose decreased rapidly on subsequent days. This is in conformity with the amount of radioactivity excreted via the bladder. Routine monitoring of exposure rate from the patient by a survey meter helps define the duration a person can stay safely with the patient at a particular distance and determine the discharge of the patient. General safety precautions are thus established. For a patient dosage of 100 mCi of iodine-131, one can work at a distance of 1 metre from’ the patient for a period of time not longer than 9, 36 and 80 minutes immediately and at 24 and 48 hours after administration, respectively It can be concluded that under normal conditions of nursing, it is unlikely that significant dosage could be received. Forced fluid did not help decrease iodine retention. Iodine is quickly excreted in the urine amounting to 53, 6.8 and 1.3 per cent of administered dose in day 1 to day 3 respectively thus necessitating special precaution in storage or disposal of the urine, at least during the first 2 days. In Siriraj Hospital the urine is disposed in the toilet. The survey of contamination in the patient's room, revealed that the bath room (or toilet) ranked the most risky area for contamination. It confirmed that a s |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิวเคลียร์เทคโนโลยี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29000 |
ISBN: | 9745690465 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pachee_ch_front.pdf | 4.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pachee_ch_ch1.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pachee_ch_ch2.pdf | 1.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pachee_ch_ch3.pdf | 4.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pachee_ch_ch4.pdf | 2.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pachee_ch_ch5.pdf | 2.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pachee_ch_ch6.pdf | 4.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pachee_ch_ch7.pdf | 3.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pachee_ch_back.pdf | 3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.