Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29007
Title: ลักษณะและปัญหาในการใช้พื้นที่ส่วนกลาง : กรณีศึกษา โครงการเคหะชุมชนร่มเกล้า ระยะ 3
Other Titles: Characteristics and problems in utilization of common facility : a case study of Romklao housing estate phase 3
Authors: สัมฤทธิ์ เปี่ยมอยู่สุข
Advisors: เสริชย์ โชติพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sarich.C@Chula.ac.th
Subjects: การเคหะแห่งชาติ
โครงการเคหะชุมชนร่มเกล้า
อาคารชุด
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการเคหะชุมชนร่มเกล้า ระยะ3 เป็นโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามนโยบายของรัฐบาลโดยมอบหมายให้การเคหะแห่งชาติรับผิดชอบในการจัดสร้างที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐาน สำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อย โดยในโครงการเคหะชุมชนทุกโครงการของการเคหะแห่งชาติ มีความจำเป็นที่จะต้องมีพื้นที่ส่วนกลางและในทุกโครงการที่มีการใช้พื้นที่ส่วนกลางมักมีปัญหาเกิดขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ และปัญหาในการใช้พื้นที่ส่วนกลางของโครงการเคหะชุมชนร่มเกล้า ระยะ3 โดยศึกษาจากการใช้พื้นที่ส่วนกลางทั้งหมดในโครงการอันได้แก่ ถนน ทางเท้า สนามกีฬา สวนสาธารณะ และสนามเด็กเล่น การศึกษานี้ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารด้านกายภาพของโครงการ การสัมภาษณ์ผู้จัดการนิติบุคคลของอาคาร การสำรวจ สังเกต ถ่ายภาพ สอบถาม และจดบันทึก การใช้พื้นที่ส่วนกลางในโครงการในทุกๆ 1 ชั่วโมง รวมเป็น 24 ช่วงเวลาใน 1 วันเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ จากการศึกษาพบว่าการใช้พื้นที่ส่วนกลางในทุกพื้นที่ของโครงการมีกิจกรรมเกิดขึ้น 5 กิจกรรมโดยแบ่งตามลักษณะการใช้พื้นที่ ได้แก่ 1)กิจกรรมตลาด (จับจ่ายใช้สอย) 2)กิจกรรมจอดรถเข็น และแผงลอย 3)กิจกรรมกีฬา 4)กิจกรรมพักผ่อน (นันทนาการ) และ5)กิจกรรมจอดรถ ในการใช้พื้นที่ส่วนกลางมีปัญหาเกิดขึ้นแตกต่างกัน ได้แก่ 1)การใช้พื้นที่ผิดประเภทไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่จัดไว้ 2)ขาดการดูแลรับผิดชอบรักษาความสะอาดพื้นที่ต่าง ๆ และ3)บางพื้นที่ไม่พร้อมรองรับการใช้งาน เป็นต้น ซึ่งในหลายพื้นที่มักเกิดปัญหาประเภทเดียวกันมากที่สุด คือลักษณะการใช้พื้นที่ผิดประเภทไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่จัดไว้ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมามากมาย การศึกษานี้พบว่าพื้นที่ส่วนกลางในโครงการส่วนใหญ่ไม่มีระบบการจัดการด้านพื้นที่ อีกทั้งยังขาดพื้นที่สำหรับจอดรถบางประเภทได้แก่ รถบริการสาธารณะ รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน และรถเข็นที่ใช้ในการประกอบอาชีพ และในบางพื้นที่อยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมรองรับการใช้งาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความจำเป็นต่อผู้อยู่อาศัยในโครงการ และยังพบต่อไปอีกว่าเจ้าของที่ดินพื้นที่ส่วนกลางในโครงการส่วนใหญ่นั้นไม่ได้เป็นผู้ดูแลพื้นที่ของตนด้วยตนเอง โดยมักมอบพื้นที่ของตนให้ใช้เป็นสาธารณะในโครงการ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากในการบริหารจัดการพื้นที่ต่าง ๆ นั้นมีความจำเป็นที่จะต้องใช้งบประมาณ จึงเป็นเรื่องยากที่จะมีหน่วยงานใดเข้ามารับผิดชอบ การศึกษานี้เสนอว่า การใช้พื้นที่ส่วนกลางจะมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างเต็มศักยภาพและปัญหาในการใช้พื้นที่ส่วนกลางในโครงการจะบรรเทาหรือลดลง ทางโครงการเคหะชุมชนร่มเกล้า ระยะ3 จะต้องมีการจัดให้มีการจัดการด้านการใช้พื้นที่ส่วนกลางอย่างเป็นระบบ
Other Abstract: Romklao Housing Estate Phase 3 project is one of the government’s housing development projects.National Housing Authority is responsible for building stardard houses for people on a low income. Every housing project has communal areas that can cause problems. The study aims to investigate problems of sharing communal areas in Romklao Housing Estate Phase 3. The publicly-shared areas include roads, sidewalks, stadiums, parks, and playgrounds. The research methods included collecting data from documents about the physical construction of the project, interviewing with the juristic manager, surveying, observing, photographing, discussing, and taking notes. The researcher observed the use of the communal areas Communal areas serve five main functions: 1) market (buying and selling), 2) wheelbarrows and stalls, 3) sports, 4) resting areas (recreation), and 5) parking space. The problems were: 1) users using a communal area for the wrong type of activity for that area, 2) no one taking responsibility for cleaning the areas, 3) some areas not being adequately prepared for use. The most commonly found problem was users using an area for the wrong type of activity, which led to many other problems. It was found that there is no real system to determine the use of the communal areas. Romklao Housing Estate Phase 3 lacks parking lots for some specific types of vehicles such as public transport vehicles, motorcycles, bicycles, and wheelbarrows, and some areas are not in a good condition. Moreover, the real owners of the communal areas pass the responsibility for taking care of those areas to the juristic manager. The main reason why there is no one to take care of the areas is lack of budget. As a result, it is hard to find anyone to take responsibility. The study suggests that an effective system be implemented so that the users can use the communal areas efficiently, which should result in fewer problems.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29007
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1982
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1982
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
samrit_pe.pdf10.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.