Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29065
Title: การพัฒนาดัชนีความสอดคล้องของแบบแผนการตอบข้อสอบรายบุคคล
Other Titles: The development of individual's item response pattern consistency index
Authors: พนิชา สังข์เพ็ชร
Advisors: ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
ดิเรก ศรีสุโข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาดัชนีความสอดคล้องของแบบแผนการตอบข้อสอบรายบุคคลและเพื่อตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงของดัชนีที่พัฒนาขึ้น ซึ่งปรากฏผลการวิจัยดังนี้คือ 1. ดัชนีที่พัฒนาขึ้นเรียกว่าดัชนีเอพี เป็นดัชนีที่บ่งชี้ระดับความสอดคล้องของแบบแผนการตอบ ข้อสอบที่ผู้สอบทำได้กับแบบแผนการตอบข้อสอบที่มีลักษณะเป็นกัตแมนสมบุรณ์ โดยนำคะแนนรายข้อ(U i j ) คะแนนรวม (n in) และลำดับที่ของข้อสอบ (j) มาเป็นค่าพื้นฐานในสูตรคำนวณค่าของดัชนีได้มาจาก 1- [ ∑_(i=1)^n▒〖(1-U〗ii) (ni-j+1) + ∑_(i=n+1)^j▒uI (j-n1) / ∑_(j=1)^n▒〖(n〗1-j+1) + ∑_(i=j-n+i)^j▒〖(j-n〗1)] พิสัยของดัชนีมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1.0 โดยที่จพมีค่าเท่ากับ 0 เมื่อแบบแผนการตอบข้อสอบของผู้สอบมีลักษณะตรงกันข้ามกัตแมนสมบุรณ์ และจะมีค่าเท่ากับ 1.0 เมื่อแบบแผนการตอบข้อสอบของผู้สอบมีลักษณะเป็นกัตแมนสมบุรณ์ ค่าของดัชนีจะนำมาใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินว่าคะแนนรวมของผู้สอบที่ได้จากการตอบแบบสอบเลือกตอบจะเป็นตัวแทนความสามารถของเขาได้มากน้อยเพียงใด และใช้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการคัดเลือกผู้สอบที่มีคะแนนรวมเท่ากัน 2. คุณภาพด้านความตรงของดัชนีที่พัฒนาขึ้น ซึ่งตรวจสอบจากข้อมูลของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาชั้นปีที่1 ของโรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพมหานคร จำนวน 267 คน ที่ตอบแบบสอบวิชาคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามเกี่ยวกับเหตุผลที่ผู้สอบตอบข้อสอบแต่ละข้อผิด พบว่า 2.1 ดัชนีที่พัฒนาขึ้น มีความตรงในการบ่งความสอดคล้องของแบบแผนการตอบข้อสอบที่ผู้สอบทำได้กับที่มีลักษณะเป็นกัตแมนสมบุรณ์ เมื่อใช้ความสัมพันธ์ระหว่างค่าของดัชนีเอพีกับค่าสัดส่วนของจำนวนข้อสอบที่ผู้สอบตอบได้ถูกต้องด้วยความมั่นใจต่อจำนวนข้อสอบทั้งหมดที่ตอบได้ถูกต้อง และกับค่าสัดส่วนของจำนวนข้อสอบที่ผู้สอบตอบผิดเพราะมีความไม่เพียงพอต่อจำนวนข้อสอบทั้งหมดที่ผู้สอบตอบผิดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความตรงดังกล่าว 2.2 ดัชนีที่พัฒนาขึ้นมีความตรงในการจำแนกแบบแผนการตอบข้อสอบที่มีความสอดคล้องกับ ลักษณะกัตแมนสูงและต่ำ เมื่อใช้คะแนนรวม ความมั่นใจในการตอบข้อสอบ และค่าความสามารถของผู้สอบตามแนวโลจิสติกโมเดล เป็นเกณฑ์ในการจำแนกแบบแผนการตอบข้อสอบทั้งสองลักษณะ
Other Abstract: The purposes of this research were to develop the individual's item response pattern consistency index called AP index and to examine the validity of this developed index. The research findings were as follows. 1. The developed index called AP index is to measure the degree to which an individual's response pattern consistent with a perfect Guttman pattern. By using the item scores (U i j ) the total score (n i) and the rank numbers of the items in AP formula, The AP value can be obtained from 1- [ ∑_(i=1)^n▒〖(1-U〗ii) (ni-j+1) + ∑_(i=n+1)^j▒uI (j-n1) / ∑_(j=1)^n▒〖(n〗1-j+1) + ∑_(i=j-n+i)^j▒〖(j-n〗1)] The index has values that range from 0 to 1.0. The low limit, 0, is attained when examinee's response pattern is a reversed Guttman pattern, and the upper limit, 1, when examinee's response pattern is a perfect Guttman pattern. The AP value could be used as an information to assessed whether an examinee's total score on multiple choice test is representing his ability or- not and an additional information for selecting examinees who have the same total score. 2. The validity of developed index examinees from 267 M.S. One students of the Bangkok Archdiocese, who had taken the mathematic test and answered the questionnaire which asked to indicate a reason for each questions they had missed found that: 2.1 AP index had the validity for indicating individual's item response pattern consistent with a perfect Guttman pattern by using the correlation between AP values and the proportion of number of correct responses with confident answer to total number of correct responses and the proportion of ทumber of wrong responses with insufficient knowledge to total number of wrong responses as a criteria for this validity. 2.2 AP index had the validity for discriminating high consistency of item response patterns and low consistency of item response patterns by using total score, confident answer and student ability in logistic Model as a criteria for discriminating response patterns.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29065
ISBN: 9745823562
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panicha_su_front.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open
Panicha_su_ch1.pdf10.75 MBAdobe PDFView/Open
Panicha_su_ch2.pdf19.49 MBAdobe PDFView/Open
Panicha_su_ch3.pdf13.17 MBAdobe PDFView/Open
Panicha_su_ch4.pdf12.06 MBAdobe PDFView/Open
Panicha_su_ch5.pdf9.02 MBAdobe PDFView/Open
Panicha_su_back.pdf5.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.