Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29085
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
dc.contributor.authorพนิตนาถ เย็นบุตร
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-02-23T06:14:00Z
dc.date.available2013-02-23T06:14:00Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9745671185
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29085
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาเหตุผลและสาเหตุของการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง (2) เปรียบเทียบเหตุผลและสาเหตุของการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่มีภูมิลำเนาเดิมต่างกัน (3) สำรวจแบบแผนการศึกษา แบบแผนการคำเนินชีวิต ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคของนักศึกษา ที่ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษา (4) ศึกษาทัศนคติต่อการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาของนักศึกษา และ (5) ศึกษาแนวโน้มโครงการชีวิตในอนาคตของนักศึกษาที่ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษา ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ย้ายถิ่นจากภูมิลำเนาเดิมเข้าสู่ส่วนกลางและได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาในปีการศึกษา 2526 ซึ่งในขณะนั้น มีอายุไม่เกิน 20 ปี บริบูรณ์ จำนวน 34,460 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 382 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับภูมิลำเนาเดิมและสถานภาพของนักศึกษา ตอนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับเหตุผลและสาเหตุของการย้ายถิ่นเพี่อการศึกษา แบบแผนการศึกษา แบบแผนการดำเนินชีวิต ทัศนคติต่อการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษา ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งโครงการชีวิตในอนาคต ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างและแบบสอบถามคืนทางไปรษณีย์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยกับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1. นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษา ส่วนใหญ่มีเหตุผลสำคัญที่สุดในการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาเนื่องจากต้องการฟังคำบรรยายในชั้นเรียน โดยมีบิดา มารดา หรือผู้ปกครองเป็นผู้มีส่วนสำคัญที่สุดในการสนับสนุนให้นักศึกษาย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาในครั้งนี้ 2. เมื่อเปรียบเทียบเหตุผลและสาเหตุของการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาของนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาต่างกันตามภูมิภาค ปรากฏว่านักศึกษาส่วนใหญ่จากทุกภาคมีเหตุผลสำคัญที่สุดในการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาเหมือนกัน คือ ต้องการฟังคำบรรยายในชั้นเรียน แต่บุคคลที่มีส่วนสำคัญที่สุดในการสนับสนุนการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาของนักศึกษาส่วนใหญ่จากภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง เหมือนกัน คือ บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ส่วนนักศึกษาจากภาคเหนือ และภาคตะวันออก ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาด้วยการตัดสินใจของตนเอง 3. แบบแผนการศึกษาที่นักศึกษากระทำบ่อย ๆ คือ การอ่านตำราเรียน การเข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน การซื้อแนวข้อสอบเก่าเพื่อช่วยในการสอบ และการสนทนาทางวิชาการกับเพื่อน ๆ ตามลำดับ ส่วนแบบแผนการศึกษาที่นักศึกษากระทำนาน ๆครั้งได้แก่ การศึกษาหาความรู้นอกเหนือจากตำราเรียน การเข้าห้องสมุด เพื่ออ่านหนังสือหรือค้นคว้า การฟังคำบรรยายสรุปทางโทรทัศน์ การเข้าร่วมกิจกรรมที่ชมรมต่าง ๆของมหาวิทยาลัยจัดขึ้น การฟังคำบรรยายสรุปทางวิทยุ และการซักถามอาจารย์ในชั้นเรียนตามลำดับ 4. นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เวลาเดินทางจากที่พักไปมหาวิทยาลัยน้อยกว่า 30 นาที และมักใช้วิธีโดยสารรถประจำทาง กลุ่มเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัยที่สนิทสนมของนักศึกษามีจำนวน 4 คนขึ้นไป และมักพบปะกันที่โต๊ะในมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่เพื่อนที่สนิทสนมเหล่านี้จะเป็นคนจังหวัดเดียวกัน นักศึกษาส่วนใหญ่มักจะไปมหาวิทยาลัยเฉพาะวันที่ต้องการฟังคำบรรยาย เมื่อมีเวลาว่างนักศึกษามักจะอยู่บ้านหรือที่พัก การกลับไปเยี่ยมภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษาคือช่วงปิดภาคเรียน 5. นักศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับที่นั่งฟังคำบรรยายไม่เพียงพอ ที่พักอยู่ไกลจากมหาวิทยาลัย และนักศึกษาไม่ค่อยมีโอกาสพบเพื่อน เมื่อเปรียบเทียบปัญหาและอุปสรรคที่นักศึกษาประสบมากที่สุดหลังจากย้ายถิ่นแล้ว ปรากฏว่านักศึกษาประสบปัญหาและอุปสรรคในเรื่องค่าใช้จ่ายมากที่สุด 6. นักศึกษามีความพอใจในสาขาวิชาที่ศึกษาอยู่มากที่สุด รองลงมาได้แก่การเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ประสบการณ์ที่ได้จากการอยู่ในกรุงเทพฯ การจัดให้มีชั้นเรียนโดยไม่บังคับการเข้าชั้นเรียน และเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัย 7. นักศึกษาส่วนใหญ่คาดว่าจะทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษา โดยตั้งใจว่าจะทำงานในจังหวัดอื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่กรุงเทพฯ หรือจังหวัดใกล้เคียง ทั้งนี้เหตุผลของนักศึกษาส่วนใหญ่ คือต้องการทำประโยชน์ในต่างจังหวัด
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (l) to study the reasons and the causes of migration for education of Ramkhamhaeng University Students (2) to compare the reasons and the causes of migration between Ramkhamhaeng University Students who came from different regions (3) to survey the learning and living patterns, the problems and obstacles of the students who migrated for education (4) to study the students' attitudes toward migration for education and (5) to study the students’ future plans. Population of this research were 34,460 Ramkhamhaeng University Students who aged under twenty and registered to be students in the academic year 1983. Sample were 382 students from the population. The research tool was a questionnaire which comprised of 2 sections. Section 1 was concerning domicile and personal status. Section 2 was concerning the reasons and the causes of migration for education, learning and living patterns, the problems and obstacles of the students who migrated for education, attitudes towards migration for education and future plans. The questionnaires were collected by post and the data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean and standard deviation. Finding 1. Most of the students migrated for education wanted to attend class. Their parents' or guardians support were the most important factor for the migration. 2. Comparing the reasons and causes of migration for education of the students who came from different regions, most of students from all regions migrated for education with the same reason: want to attend class. The important factor for migration of the students from The Southern, The Northeastern and Middle region were their parents' and guardians’ support, the important factor for migration of the students from The Northern and Eastern region were their own decisions.3.The learning pattern which students performed frequently were textbook studying, class attending, test guideline studying, academic discussing with other students respectively. The learning pattern which the students rarely performed were external studying, studying in the library, brief learning from T.V, student activities participating, brief learning from radio and class discussions respectively. 4. Most of students went to Ramkhamhaeng University by bus and take only less than 30 minutes. Each of them have more than 4 close friends. The gathering place was the tables in the university. Most of their close friends came from the same province. Most of students went to the university only when they wanted to attend class. They always stayed at residences when there was no class. They will visit their parents’ home during their school vacation. 5. The problems and obstacles of most of students were the shortage of class seats, the distance of their residences and the university, and chance to meet friends. The most important problem and obstacle was the expenditure. 6.The students were most satisfied with the field of their studies. They were also satisfied with being Ramkhamhaeng University students, having experiences in living in Bangkok, class with no requirement of attendance and their friends respectively. 7.Most of students expected to work outside Bangkok after their graduation because they expected they want to be useful for rural.
dc.format.extent6578542 bytes
dc.format.extent5724119 bytes
dc.format.extent12229438 bytes
dc.format.extent2544879 bytes
dc.format.extent28664344 bytes
dc.format.extent15678884 bytes
dc.format.extent11295495 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงen
dc.title.alternativeMigration for education of Ramkhamhaeng University studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสารัตถศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panitnart_ye_front.pdf6.42 MBAdobe PDFView/Open
Panitnart_ye_ch1.pdf5.59 MBAdobe PDFView/Open
Panitnart_ye_ch2.pdf11.94 MBAdobe PDFView/Open
Panitnart_ye_ch3.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open
Panitnart_ye_ch4.pdf27.99 MBAdobe PDFView/Open
Panitnart_ye_ch5.pdf15.31 MBAdobe PDFView/Open
Panitnart_ye_back.pdf11.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.