Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29099
Title: | ฤทธิ์ของบาราคอล, สารสกัดจากใบของต้นขี้เหล็กต่อระบบประสาทส่วนกลาง |
Other Titles: | Actions of Barakol, a compound extrated from young leaves of Cassia siamea on the central nervous system |
Authors: | พิกุล จันทร์โยธา |
Advisors: | ภาวิช ทองโรจน์ ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2531 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในการวิจัยนี้ได้นำเอา (3a, 4-Dihydroxy-2, 5-dimethyl-1, 4-dioxaphenalene) ซึ่งเป็นสารสกัดจากใบอ่อนและดอกของต้นขี้เหล็ก มาศึกษาฤทธิ์ทองเภสัชวิทยาเบื้องต้น โดยศึกษาพิษวิทยา, ผลในการสงบระงับ, ปฏิกิริยาต่อกันกับยากระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (picrotoxin, bicucullin, strychnine), ผลในการระงับความเจ็บปวด และผลต่อระบบ serotonergic และ dopaminergic system. Barakol มี effective dose ที่ต่ำ และ toxic dose ที่สูง คือมี CD50 และ LD50 เท่ากับ 296.17 (265.25-331.56) mg/Kg และ 324.09 (320.36-347.39) mg/Kg ตามลำดับ และสามารถลด locomotor activity ในหนูถีบจักรในขนาดที่ต่ำ โดย barokol ขนาด 10, 25, 50, 75, 100 mg/Kg สามารถลด activity ได้ 38.28%, 65.23%, 66.29%, 71.78% และ 78.94% ตามลำดับbarakol ในขนาดสูง 100, 125, 150, 175, 200 mg/Kg มีฤทธิ์ในการระงับความเจ็บปวดโดยสามารถเพิ่ม nociceptive threshold ได้ 26.03%, 47.07%, 76.07%, 86.97% และ 91.71% ตามลำดับ แต่ barakol ไม่สามารถต้านฤทธิ์ที่เกิดจากยากระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางคือไม่สามารถลด CD50 และ LD50 ของ picrotoxin, bicucullin และ strychnine ได้ นอกจากนั้นการศึกษาเชิงพฤติกรรมยังพบว่า barakol สามารถ suppress serotonergic system activity คือ ลดจำนวนการสะบัดหัวของหนูขาวที่เกิดจากการฉีด 5-Hydroxytryptopan (200 mg/Kg) ในขนาด 25, 50, 75, 100 mg/Kg ได้ 6%, 59.6%, 76.36%, 92.91% ตามลำดับ และไปกระตุ้น dopaminergic system activity จากการเพิ่มจำนวนการหมุนของหนูขาวที่ฉีด apomorphine ขนาด 1 mg/Kg หลังการทำ 6-OH-DA ที่ substantia nigra แล้ว โดย barakol ขนาด 75, 100, 125, 150 mg/Kg ทำให้จำนวนการหมุนของหนูเพิ่มขึ้น 5.25% , 49.80%, 68.47% และ 83.69% ตามลำดับ มีผลงานวิจัยหลายฉบับกล่าวถึงผลของ dopaminergic system ในการควบคุม locomotion, ลดความเจ็บปวด และมี inhibitory influence ต่อระบบ serotonergic system ดังนั้นเป็นไปได้มากว่าผลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดเหล่านี้จะกระทำผ่านที่ระบบ dopaminergic system และ barakol อาจจะเป็น dopamine agonist ตัวหนึ่ง ที่จะนำมาใช้เป็นยาที่มี effective dose ที่ต่ำ และมี toxic dose ที่สูง ซึ่งอาจทำให้เกิดผลแทรกซ้อนต่าง ๆ น้อยมาก |
Other Abstract: | Barakol (3a, 4-Dihydroxy-2, 5-dimethyl-1, 4-dioxaphenalene), were extracted from Cassia siamea Lamk., was tested for toxicology, sedative action, interaction with CNS stimulating drugs (picrotoxin, bicucullin, strychnine), and effect on nociceptive response, effect on serotonergic and dopaminergic system. The results showed that barakol has wide margin of safety with lo effective dose and high toxic dose. Mean convulsant dose (CD50) and mean lethal dose (LD50) have been estimated to be 296.71 (265.25-331.89) mg/kg and 324.09 (302.36-347.39) mg/kg respectively. Barakol 10, 25, 50, 75, 100 mg/kg suppressed locomotor activity by 38.28%, 65.23%, 71.78%, 78.94% respectively, while hot-plate test showed analgesic effects at higher doses 100, 125, 150, 175, 200 mg/kg increasing nociceptive threshold by 26.03%, 47.07%, 76.07%, 86.97% and 91.71% respectively. Study with CNS stimulants failed to show any antagonistic actions. Moreover, behavioral study suggested that barakol at 25, 50, 75, 100 mg/kg suppressed serotonergic activity by decresing head shake behavior produced by injection of 5-hydroxytryptophan (200 mg/kg) by 6%, 59.6%, 76.36%, 92.91% respectively. At dose 75, 100, 125, 250 mg/kg dopaminergic activity was augmented as suggested by increased turning behavior in apomorphine treated rat following unilateral 6-OH-DA lesing in substamtia nigra, the increase being 5.25%, 49.80%, 68.47% and 83.69% respectively. Several literaturs related with these results suggested that these effects may be mediated through dopaminergic system, since evidence suggested that dopaminergic system increased nociceptive threshold, decreased locomotor activity and inhibition of serotonergic transmission. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สรีรวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29099 |
ISBN: | 9745693944 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pikul_ja_front.pdf | 5.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pikul_ja_ch1.pdf | 6.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pikul_ja_ch2.pdf | 3.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pikul_ja_ch3.pdf | 13.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pikul_ja_ch4.pdf | 3.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pikul_ja_back.pdf | 6.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.