Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29120
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กาญจนา นิมมานเหมินท์ | |
dc.contributor.advisor | ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย | |
dc.contributor.author | พิชัย ไชยวังษา | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2013-02-26T08:04:20Z | |
dc.date.available | 2013-02-26T08:04:20Z | |
dc.date.issued | 2530 | |
dc.identifier.isbn | 9745678163 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29120 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 | en |
dc.description.abstract | ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี ของนิติบุคคลต่างประเทศตามมาตรา 66 ที่เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยในรูปสาขาหรือบริษัทย่อยที่มีบริษัทแม่ถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ และนิติบุคคลต่างประเทศที่ให้ถือว่าประกอบกิจการในประเทศไทยนั้น ในทางปฏิบัติยังไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากการตีความกฎหมายมาตรา 65 ตรี (13) (14) ของกรมสรรพากรและศาล กล่าวคือ สาขานิติบุคคลต่างประเทศไม่สามารถนำค่าใช้จ่ายประเภทค่าเช่าสำนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าเครื่องเขียน เครื่องใช้ ค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของเครื่องมือเครื่องใช้ ที่เกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินงานของการบริหารสาขาต่าง ๆ ทั่วโลกรวมทั้งสาขาในประเทศไทยของสำนักงานใหญ่มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ นอกจากนี้สาขาจะนำค่าใช้จ่ายในการค้นคว้าและพัฒนามาถือเป็นรายจ่ายได้เฉพาะที่สาขาได้รับบริการหรือได้นำผลการค้นคว้าพัฒนามาใช้ประโยชน์ตามความเป็นจริงเท่านั้น ซึ่งในทางปฏิบัติไม่มีการค้นคว้าและพัฒนาใดจะให้ผลในการนำมาใช้ประโยชน์ได้เสมอไป ในขณะเดียวกันบริษัทย่อยที่มีบริษัทแม่ถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแท้ที่จริงก็คือ นิติบุคคลของต่างประเทศนั่นเอง หากประกอบกิจการในประเทศไทยกฎหมายถือว่าเป็นคนละนิติบุคคลกับบริษัทแม่ ดังนั้นจึงสามารถติดต่อค้าขายโดยคิดค่าสินค้าและค่าบริการระหว่างกันได้ในราคาตลาดตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) บังคับไว้ ส่วนสาขานั้นการติดต่อค้าขายกับสำนักงานใหญ่ต้องใช้ราคาทุน เนื่องจากเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ดังนี้สาขาย่อมมีแนวโน้มที่จะแปลงตัวเองมาเป็นบริษัทย่อย ซึ่งเป็นโครงสร้างทางธุรกิจของบริษัทข้ามชาติที่สามารถทำการยักย้ายถ่ายเทกำไรจากประเทศที่ตนเข้าไปลงทุนได้ง่าย จากเหตุผลดังกล่าวผู้เขียนจึงได้วิเคราะห์การนำวิธีการเก็บภาษีแบบ Unitary Method มาใช้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากนิติบุคคลต่างประเทศที่เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย เพราะวิธีนี้เป็นวิธีการคำนวณกำไรของสาขาหรือบริษัทย่อยโดยเฉลี่ยกำไรมาจากสำนักงานใหญ่หรือบริษัทแม่ โดยสูตรซึ่งมีฐานมาจากยอดขาย ยอดเงินเดือนค่าจ้าง และยอดทรัพย์สินที่มีอยู่ในประเทศไทย โดยวิธีการนี้สามารถแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายสำนักงานใหญ่ดังที่กล่าวมาได้ ทั้งยังสามารถดึงเอากำไรที่สาขาหรือบริษัทย่อยไปยักย้ายถ่ายเทไปยังสำนักงานใหญ่หรือบริษัทแม่เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีกลับมาได้ซึ่งสร้างความเป็นธรรมให้แก่ประเทศไทยในฐานะเป็นประเทศ Host Country จากการวิเคราะห์พบว่ามีความเป็นไปได้สูงในการนำวิธีการเก็บภาษีแบบ Unitary Method มาใช้เพราะจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรเพียงเล็กน้อย มิได้เป็นการแก้ไขโครงสร้างทางภาษีแต่อย่างใด ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะว่า. ควรนำวิธีการเก็บภาษีแบบ Unitary Method มาใช้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากนิติบุคคลต่างประเทศตามมาตรา 66 ที่เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยในรูปสาขาหรือบริษัทย่อยที่มีบริษัทแม่ถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ และนิติบุคคลต่างประเทศตามมาตรา 76 ทวิ และรัฐบาลควรใช้ประโยชน์จากข้อกำหนดในอนุสัญญาเพื่อเว้นการเก็บภาษีซ้อน ที่ทำไว้กับประเทศต่าง ๆ ในข้อที่ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อสนเทศเพื่อแลกเปลี่ยนหรือขอข้อมูลอันจะเป็นประโยชน์ต่อการคำนวณภาษีโดยวิธี Unitary Method นอกจากนี้รัฐบาลควรทำความตกลงในลักษณะดังกล่าวกับประเทศต่าง ๆ เพิ่มขึ้นด้วย | |
dc.description.abstractalternative | Under Section 65 bis and Section 65 Ter, of the Revenue Code the calculation of net profit, for tax purpose, from foreign entity which conducts business in Thailand under the form of “branch” is unfair in practice owing to the interpretation of Section 65 Ter (13) (14) by the Revenue Department and the Court; viz, the “branch” cannot deduct overhead expenses such as rent, water rate, electricity rate, office expenses and depreciation incurred in the head office in the course of operation management and supervision over branches including Thailand from gross profit. In addition, the “branch” can deduct expenses on research and development only when it actually receives benefit from that research. In practice, not every research can always be materialised. Meanwhile the subsidiary which is wholly own by the foreign parent entity, when conducts business in Thailand, will be treated as different entity from foreign parent company under the Thai Law. This allows all business transactions within each other such as service, price of goods etc., can be charged at market price under Section 65 bis (4) of the Revenue Code. But the “branch” is treated as the same entity as the parent. Therefore, all transactions are assessed at cost. So, there is tendency that the “branch” will convert into a subsidiary and become an arm for multinational enterprise in transfer of profit from the host country. By reason above this thesis will study the introduction of “Unitary Method” for corporate income taxation purpose. This method will calculate the branch’s or subsidiary’s profit from average profit of parent company abroad. It will be assessed from total sale, payroll and property in Thailand. This can solve the problem mentioned above and also prevent profit-transfer out of Thailand by the foreign entity. From this study, we found that it’s highly likely that “Unitary Method” is to be introduced since such introduction requires minor amendment of the Revenue Code. Therefore, of suggest that “Unitary Method” should be introduced to cover all foreign entities whether or not it operates in the form of “branch” or one hundred percent foreign own subsidiary or other foreign entity under Section 76 bis. In addition, the government should capitalise on all provisions in conventions of avoidance of double taxation made with other countries especially those related to the exchange of information to counter fraud or fiscal evasion in relation to tax, which hitherto have rarely been realized. Also the government should further enhance such conventions with other countries. | |
dc.format.extent | 6430686 bytes | |
dc.format.extent | 2117332 bytes | |
dc.format.extent | 18258328 bytes | |
dc.format.extent | 15978275 bytes | |
dc.format.extent | 40298070 bytes | |
dc.format.extent | 10400626 bytes | |
dc.format.extent | 4094121 bytes | |
dc.format.extent | 3454887 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | วิเคราะห์การนำวิธีการเก็บภาษีแบบ Unitary Method มาใช้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากนิติบุคคลต่างประเทศตามมาตรา 66 และ 76 ทวิ | en |
dc.title.alternative | Study on whether unitary method can replace foreign enterprises corporate income tax | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pichai_cha_front.pdf | 6.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pichai_cha_ch1.pdf | 2.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pichai_cha_ch2.pdf | 17.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pichai_cha_ch3.pdf | 15.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pichai_cha_ch4.pdf | 39.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pichai_cha_ch5.pdf | 10.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pichai_cha_ch6.pdf | 4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pichai_cha_back.pdf | 3.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.