Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29125
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจารุวรรณ ลิมปเสนีย์
dc.contributor.authorพิชัย จินตนาภักดี
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-02-26T09:01:59Z
dc.date.available2013-02-26T09:01:59Z
dc.date.issued2532
dc.identifier.isbn9745699934
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29125
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมของที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะรูปแบบและทำเลที่ตั้งของที่พักอาศัย จำนวนและความเสียหายของคดีลักทรัพย์ตลอดจนลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีผลต่อการเกิดคดีลักทรัพย์ในเคหะสถาน โดยวิเคราะห์ตัวแปรต่าง ๆ ใช้สถิติไค สแควร์ ค่าร้อยละ และการจัดลำดับความสำคัญ ผลการศึกษาพบว่าเขต สน.ที่มีสถิติการเกิดคดีลักทรัพย์ในเคหะสถานสูงสุดได้แก่ สน.พลับพลาไชย 2, บางมด, สุทธิสาร, วัดรวกและบางพลัดตามลำดับ มากกว่าครึ่งหนึ่งของเจ้าทุกข์คดีลักทรัพย์อาศัยอยู่ในย่านที่พักอาศัย ร้อยละ 69.4 มีการใช้ประโยชน์ของที่พักอาศัยเป็นที่พักอาศัยอย่างเดียว และส่วนใหญ่ถูกลักทรัพย์ครั้งเดียว ได้แก่ในเขต สน.ลาดกระบัง, บางเสาธง, สามเสน และสำราญราษฎร์ ทางด้านปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดคดีลักทรัพย์ในเคหะสถาน ได้แก่ สภาพแวดล้อมของบริเวณที่พักอาศัยที่เป็นซอยไม่ตันหรืออยู่ติดริมถนนใหญ่ รั้วบ้านเป็นรั้วไม้หรือคอนกรีตโปร่ง และไม่มีโทรศัพท์ในที่พักอาศัย เป็นต้น ส่วนปัจจัยที่ไม่สัมพันธ์กับการเกิดคดีลักทรัพย์ในเคหะสถาน ได้แก่ รูปแบบและประเภทของที่พักอาศัย, ขนาดเนื้อที่ดินของที่พักอาศัย, ช่วงเวลาที่เกิดเหตุ, สภาพอากาศระหว่างเกิดเหตุ, สภาพแวดล้อมข้างเคียง และจำนวนผู้อยู่อาศัยในบ้าน ข้อเสนอแนะจากการศึกษามีดังนี้ ประการแรกควรมีการจัดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจในเขต สน.บริเวณเขตต่อเมืองและชั้นนอกของกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น ได้แก่ ในเขต สน.บางมดและภาษีเจริญ ส่วนในบริเวณเขตชั้นในโดยเฉพาะ สน.สำราญราษฎร์, พระราชวัง, นางเลิ้ง, จักรวรรดิ, ดุสิต และ ดินแดง ผู้อาศัยอยู่ในเขต สน.ดังกล่าวควรระมัดระวังความปลอดภัยของทรัพย์สิน ประการที่สอง ผู้อยู่อาศัยควรจัดสภาพแวดล้อมของที่พักอาศัยให้มีลักษณะที่ปลอดภัยจากการเกิดคดีลักทรัพย์ เช่น ไม่ควรปลูกต้นไม้ติดอาคารหรือรั้วบ้าน และการป้องกันอื่น ๆ ได้แก่ การมีโทรศัพท์และมีประตูหน้าต่างที่แข็งแรงในที่พักอาศัย
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to study the relationship between physical environment of residences in Bangkok, especially location and types of houses, and the damage and loss caused by burglary. The variables are analyzed through statistical technique (Chi square, Percentage and Priority sequence). In the study, it was found that the highest number of burglaries occurred in the areas of Bangmod, Sutthisan, Wat Ruak, and Bangphat. More than a half of the burglary victims lived in residential areas. A majority, 64.9 percent, of burglary victims’ houses were used only for residence. Most Bangsaothong, Samsen, and Samranrat. The factors related to burglary can be classified as residences located near main roads or with easy accessibility, wooden or transparent fences, and having no telephone in houses, as well as others. In contrast, the factors not related to burglary are types and areas of houses, time and weather during burglary, and numbers of residents. This study suggests the following. First, the number of police in outer of Bangkok Metropolis areas should be increased such as in the police station areas of Bangmod and Phasi Charoen; and the residents living in inner Bangkok Metropolis areas, especially in the areas of Samranrat, Praratchwang, Nangloeng, Chakrawat, Dusit, and Dindaeng should be made aware of their properties. Second, residents should arrange their residential environments to be safe from burglary, for example; trees should not be grown close to houses or fences. Lastly, residents should have telephones and secure windows and doors in their houses.
dc.format.extent6437733 bytes
dc.format.extent4155215 bytes
dc.format.extent5561614 bytes
dc.format.extent3415270 bytes
dc.format.extent18707985 bytes
dc.format.extent54633477 bytes
dc.format.extent12634348 bytes
dc.format.extent5785045 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อม ในเมืองใหญ่กับการเกิดอาชญากรรม : กรณีศึกษาคดีลักทรัพย์ในเขตพื้นที่พักอาศัยของกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeA study of the relationship between big city environment and crime : a case study of burglary in residential areas of Bangkok metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคและเมือง
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pichai_chi_front.pdf6.29 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_chi_ch1.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_chi_ch2.pdf5.43 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_chi_ch3.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_chi_ch4.pdf18.27 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_chi_ch5.pdf53.35 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_chi_ch6.pdf12.34 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_chi_back.pdf5.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.