Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29142
Title: การพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อระบายและไล่น้ำเสียในคลอง
Other Titles: Development of a mathematical model for drainage and flushing in a canal
Authors: พิชัย พิธานพิทยารัตน์
Advisors: สุจริต คูณธนกุลวงศ์
ทวีวงศ์ ศรีบุรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันเมืองใหญ่ต่าง ๆ ที่มีประชากรอาศัยอย่างหนาแน่น และระบายน้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือน ลงสู่ท่อระบายน้ำ คลองและแม่น้ำ โดยไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมดังเช่น กรุงเทพมหานคร มักประสบปัญหาน้ำเน่าเสียตามคลองต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูแล้ง ก่อให้เกิดมลภาวะและส่งผลถึงสุขอนามัยของประชาชนที่อาศัยใกล้เคียง ในการบรรเทาการเน่าเสียของน้ำคลองมีหลายวิธี แต่วิธีที่ใช้ทดลองปฏิบัติสำหรับกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน คือ การจัดการนำน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีคุณภาพดีมาไล่น้ำเสียในคลอง การศึกษานี้มุ่งในการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สำหรับศึกษาการระบายน้ำและไล่น้ำเสียที่มีสภาพเปลี่ยนแปลงไปตามระยะทางและเวลา ในคลองที่มีลักษณะเป็นโครงข่าย พร้อมตรวจสอบความเที่ยงตรง (accuracy) ของแบบจำลอง จากนั้นได้เลือกบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม เป็นตัวอย่างในการประยุกต์ ซึ่งจะมีการปรับเทียบแบบจำลอง (calibration) และหาทางเลือกที่เหมาะสมในการปรับปรุงระบบระบายน้ำเพื่อไล่น้ำเสีย โดยเน้นการศึกษาสภาพน้ำขึ้นน้ำลง แล้วควบคุมการเปิดปิดประตูระบายน้ำ ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่จัดสร้างขึ้น สามารถจำลองสภาพการไหลในกรณีต่าง ๆ ได้ดี โดยใช้ค่า weighting coefficient,  เท่ากับ 0.55 จะให้ค่าคำนวณที่มีเสถียรภาพมากที่สุด ค่า Pelect number สามารถแบ่งพฤติกรรมการเคลื่อนย้ายมวลออกเป็นกรณีการพาเป็นหลักและกรณีการแพร่เป็นหลักได้ ในการเลือกค่าช่วงเวลาที่ใช้ในการคำนวณ, t และการแบ่งลำน้ำออกเป็นส่วน ๆ , x ควรควบคุมค่า Courant number ไม่ให้เกิน 1 และค่า Diffusion number ไม่เกิน 10 จะให้ค่าผิดพลาดที่เกิดขึ้นอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ จากการนำแบบจำลองมาประยุกต์ใช้ พบว่าสามารถจำลองสภาพการระบายน้ำและไล่น้ำเสีย ในคลองผดุงกรุงเกษมได้ดี โดยให้ผลการคำนวณใกล้เคียงกับค่าวัดจริงในสนาม แบบจำลองยังสามารถติดตั้งประตูระบายน้ำและสถานี สูบน้ำที่ตำแหน่งต่าง ๆ ภายในโครงข่ายคลองได้ ทำให้ง่ายต่อการนำแบบจำลองนี้ไปประยุกต์ใช้ กับพื้นที่อื่น ๆ ในการประยุกต์ใช้แบบจำลองสำหรับศึกษาแนวทางการระบายน้ำเพื่อไล่น้ำเสีย ได้ทำการคำนวณเปรียบเทียบผลการดำเนินการเปิด-ปิดประตู้ และเครื่องสูบน้ำทั้งในกรณีที่ขุดและไม่ขุดลอกคลอง ทำให้สามารถเลือกแนวทางการดำเนินการระบายน้ำ ที่ทำให้คุณภาพน้ำที่ดีที่สุดได้
Other Abstract: At present, crowded cities like Bangkok are faced with the problem of water pollution because domestic waste water was discharging directly into canals and rivers without any wastewater treatment. The impact of this problem, especially in the dry season, caused the environmental pollution and also posed health hazard to the people who live within the vicinity. There are many means to solve this problem but one of the effective way which Bangkok adopt to improve water quality in canal and river is to draw water from Chao Phya River to dilute the waste water in canal. The objective of this study is to develop the mathematical model for flushing and drainage waste water which the conditions change by distance and time in network canal. The accuracy of the model was testified by compared the computed result with the exact solution from direct integration. The model was applied to the actual environment and Padoong Krungkasem canal was selected for study area. The model was then, calibrated and utilized to determine the best alternative for drainage and flushing system improvement. The improvements emphasize on tidal flow condition and operation of gates, sluice and pumping station for the purpose of flushing improvement. As the result of study, the mathematical model should settle the value of weighting coefficient,  equal to 0.55 in order to calculate by the most stability. The Pelect number can separate the action of mass transportation between convection dominated and diffusion dominated. If the value of time step, t and canal dividing into portion, x could control the value of Courant and Diffusion number not exceeding 1 and 10, respectively, the error of calculation could be accepted. The applied model used as an image of flushing and drainage in canal found that it was the perfect model to simulate the condition of flushing and drainage in Padoong Krungkasem canal and provided the result of computation in the vicinity of the real value. In addition, the gate or pumping can be installed in any position of the canal network system, therefore, the model will be applicable for other conditions and areas. Apart from this, the study of flushing and drainage pattern of applied model will provide the selection of the best method for water improvement by the comparision of operating gate, pumping station including dredging the canal.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29142
ISBN: 9745760412
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pichai_pi_front.pdf6.74 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_pi_ch1.pdf4.9 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_pi_ch2.pdf9.22 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_pi_ch3.pdf15.59 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_pi_ch4.pdf12.93 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_pi_ch5.pdf19.18 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_pi_ch6.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_pi_back.pdf23.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.