Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29168
Title: การฝึกความจำในผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่อง
Other Titles: Memorytraining practice in impaired memory elderly
Authors: มยุรี กลับวงษ์
Advisors: นันทิกา ทวิชาชาติ
สุมนา ชมพูทวีป
Other author: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตเครื่องมือที่ใช้ในการฝึกความจำที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทยและศึกษาผลการใช้เครื่องมือในการฝึกความจำในผู้สูงอายุ ที่มีความจำบกพร่องจำนวน 40 คน โดยการสุ่มตัวอย่าง และใช้ Solomon four group design ในการออกแบบการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า เมื่อนำเครื่องมือที่ใช้ในการฝึกความจำตามแบบของ Stengel ที่ได้รับการปรับตามขั้นตอนแล้ว ไปใช้กับผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องในกลุ่มตัวอย่าง โดยทำการทดสอบก่อนและหลังการฝึกความจำด้วย Mini Mental State Exam ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีความจำเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หลังจากได้รับการฝึกความจำ ส่วนผู้สูงอายุในกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฝึกความจำนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าอิทธิพลของการทดสอบก่อนการฝึกความจำไม่ส่งผลต่อการทดสอบหลังการฝึกความจำ การวิเคราะห์อิทธิพลร่วมของตัวแปรอิสระ ระหว่างกลุ่มอายุกับกลุ่มเพศ ระดับการศึกษากับกลุ่มเพศ อาชีพเดิมกับกลุ่มเพศ สถานภาพการสมรสกับกลุ่มเพศ พบว่าผู้สูงอายุที่มีกลุ่มระหว่าง 60-75 ปี เพศชายและหญิง ไม่จำกัดอาชีพและสถานภาพการสมรส สามารถใช้แบบฝึกความจำในการฝึกความจำ แล้วบังเกิดผลให้มีความจำในทางที่ดีขึ้นได้เหมือนกัน
Other Abstract: The purposes of this study are to establish a new device for memory training in impaired memory Thai elderly, and also to evaluate the effectiveness of this device by Solomon four group design. Fourty impaired memory elderly were sampled by random assignment method. The device was adjusted for Thai people from Stengel method. Mini Mental State Exam was used as pretest and posttest. The experimental group show significant improvement in memory at p<.01 as compare to control group. The result of this study was controlled and tested. Pretest was shown to have not any effect on posttest. Two-way analysis of variance was used. Age x sex, education x sex, marital status x sex were tested. Impaired memory elderly aged 60-75, both sexes, any educational level, past occupation or marital status can all benefit from this training program.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29168
ISBN: 9745793418
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mayuree_kl_front.pdf6.54 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_kl_ch1.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_kl_ch2.pdf9.57 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_kl_ch3.pdf4.53 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_kl_ch4.pdf16.42 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_kl_ch5.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_kl_back.pdf8.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.