Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29219
Title: การศึกษาการจัดกิจกรรมศิลปะในห้องเรียนคู่ขนานสำหรับ เด็กออทิสติก ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3
Other Titles: A study of art activity organization in parallel classrooms for autistic children in grades one to three
Authors: วุฒิภา สว่างสุข
Advisors: ขนบพร วัฒนสุขชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Khanobbhorn.W@Chula.ac.th
Subjects: เด็กออทิสติก
เด็กออทิสติก -- การศึกษา
ศิลปะ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
พัฒนาการของเด็ก
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมศิลปะในห้องเรียนคู่ขนานสำหรับเด็กออทิสติก ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3 ที่ส่งเสริมการพัฒนาเด็กออทิสติกใน ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้จัดกิจกรรมศิลปะในห้องเรียนคู่ขนานสำหรับเด็กออทิสติก จำนวน 30 คน ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กออทิสติก จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ครูมีความเห็นด้วยสูงสุดด้านวัตถุประสงค์ ในการจัดกิจกรรมศิลปะ คือ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และฝึกการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (ตา,หู,จมูก,ปาก,สัมผัส) ให้ทำหน้าที่สัมพันธ์กัน (x =4.60) ด้านวิธีการคือจัดกิจกรรมโดยให้มีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน และสอนจากง่ายไปยาก(x = 4.63) ด้านสื่อและอุปกรณ์คือเลือกที่ดึงดูดความสนใจมีความเหมาะ สมและปลอดภัยกับเด็กและเหมาะสมกับการใช้งานในกิจกรรมแต่ละประเภท (x = 4.56) ด้านการประเมิน ผล ใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนจากการปฏิบัติกิจกรรม(x =4.43) ผลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญถึงแนวทางการจัดกิจกรรมศิลปะ พบว่ากิจกรรมศิลปะที่ส่งเสริมพัฒนาการ ด้านร่างกาย 1)วัตถุประสงค์เพื่อการประสานกันของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและควบคุมการเคลื่อนไหว 2)วิธีการจัดกิจกรรมศิลปะที่หลากหลายเน้นให้เคลื่อนไหวร่างกาย ด้านอารมณ์ 1)วัตถุประสงค์เพื่อควบคุมและลดการแสดงออกทางอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ 2)วิธีการให้เลือกทำในสิ่งที่ชอบให้อิสระในการทำงาน ด้านสังคม 1)วัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กสามารถทำกิจกรรม และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นมากขึ้น 2)วิธีการเน้นการจัดกิจกรรมกลุ่ม ด้านสติปัญญา 1)วัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ 2)วิธีการ บูรณาการกิจกรรมศิลปะเข้ากับวิชาการอื่นๆ ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกัน ในการพัฒนาการทุกด้าน ในเรื่องสื่อและอุปกรณ์ควรดึงดูดความสนใจ และคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ การประเมินผล ควรประเมินผลเป็นรายบุคคล ด้วยวิธีการสังเกตทั้งก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน
Other Abstract: This research aimed to study the art activities organization in parallel classroom for autistic children in grades 1-3. Participants included 30 teachers who conducted art activities in parallel classrooms for autistic children and 12 specialists who had experiences involved with the development of autism. The instruments were questionnaire, interview and observation forms. The results were as follows ; the art activities focused on the 4 parts consists of physical, intelligent, emotional, social skills, and exercised all five senses (x =4.60). The process was to organize a simple activity then increase a difficulty (x = 4.63). Materials were appealing, childproof, and appropriation (x = 4.56). The evaluation was observed during the activities in the classrooms(x = 4.43).In addition, the results from the interview indicated that the art activities assisted children’s development. Firstly, the physical development was developed during the procedures of various forms of art activities which encouraged children to act following the tasks. They practiced the muscular control of their movements, especially small muscle control, to improve whole body integration. Secondly, by considering emotional development, the art activities helped children with autism controlled and reduced unwanted emotions by letting them had freedom to do their favored tasks. Thirdly, the cooperative group of art activities aided children with autism to learn to increase their social skills and participate with other children. Lastly, the art activities advanced the intelligence development and improved their learning skills by integrating the activities with other subjects, using the appealing and childproof materials conforming 4 parts of children’s development. The concluding evaluation was adapted from additional instruments; individual assessment, pre-tests, mid-tests, post-tests, and observation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29219
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1602
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1602
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wuttipa _sa.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.