Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29234
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไตรวัฒน์ วิรยศิริ-
dc.contributor.authorชิษณุชา ขุนจง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-03-04T08:05:24Z-
dc.date.available2013-03-04T08:05:24Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29234-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้มีนโยบายในการปรับปรุงอาคารสำนักงาน เพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์ขององค์กรให้ทันสมัย, เหมาะสมกับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ, รองรับการขยายตัวขององค์กรในปัจจุบันและทำให้อาคารสามารถตอบสนองต่อความต้องการในการใช้พื้นที่ภายในอาคาร เช่น การปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำงาน เพื่อการเชื่อมต่อของพื้นที่การทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ทั้งนี้การดำเนินการปรับปรุงดังกล่าว จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคารและการทำงานของผู้ใช้อาคาร การปรับปรุงอาคารสำนักงานในระหว่างมีการเปิดใช้งานอาคารนี้ ต้องใช้หลักการและทฤษฎีในการทำงาน 3 ส่วนหลักๆ ประกอบกัน คือ ทฤษฎีว่าด้วยเรื่อง การบริหารทรัพยากรกายภาพ (Facility Management), การบริหารโครงการ (Project Management) และ การบริหารงานก่อสร้าง (Construction Management)จากการศึกษาพบว่า การดำเนินโครงการฯ ได้ถูกปรับเปลี่ยนไปตามนโยบายของทางธนาคาร โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ ช่วงการดำเนินโครงการที่ 1 หรือช่วงเริ่มต้นโครงการที่ได้ดำเนินโครงการตามนโยบายที่ได้ตั้งไว้ก่อนเริ่มโครงการทั้งในเรื่องของขอบเขตงานและโครงสร้างทีมงาน เมื่อดำเนินการได้ระยะหนี่งจึงเริ่มทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการปรับปรุงอาคารสำนักงานฯ เช่น ปัญหาเรื่องผู้ใช้อาคารได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงอาคารสำนักงานฯ, ปัญหาที่เกิดจากผู้รับเหมา ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบในเรื่องระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ ที่เกิดความล่าช้า ช่วงการดำเนินโครงการที่ 2 คือ ช่วงที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำการปรับปรุงอาคารสำนักงานฯ ในช่วงการดำเนินโครงการที่ 1 และพบปัญหาเพิ่มเติมในเรื่องของลักษณะทางกายภาพของอาคารไม่เหมาะสมกับแบบปรับปรุงอาคารสำนักงานฯ ที่ได้ทำการออกแบบไว้ ช่วงการดำเนินโครงการที่ 3 คือ ช่วงที่มีการเปลี่ยนนโยบายในการปรับปรุงอาคารสำนักงานฯใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การดำเนินโครงการ โดยมีการลดระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ, การลดงบประมาณ รวมถึงการลดขอบเขตการทำงานลง เพื่อลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น การวางนโยบายที่เหมาะสมกับการทำงานและสถานการณ์ในการแต่ละช่วงเวลา เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การทำงานประสบความสำเร็จ ส่วนการมีทีมงานที่มีประสบการณ์ในการทำงาน ทำให้สามารถคาดการณ์ปัญหาหรือผลกระทบที่จะเกิดล่วงหน้าได้ ซึ่งจะทำให้สามารถวางแผนเพื่อรองรับกับปัญหาเหล่านั้นและทำให้เกิดความราบรื่นในการทำงาน เนื่องจากโครงการปรับปรุงอาคารสำนักงาน ในระหว่างมีการเปิดใช้งานอาคารเป็นโครงการที่มีความซับซ้อนในการทำงานมากกว่าโครงการก่อสร้างอาคารทั่วไป เพราะการดำเนินธุรกิจขององค์กรที่ไม่สามารถให้หยุดชงักได้และมีการใช้งานอาคารของผู้ใช้อาคารเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย สำหรับโครงการปรับปรุงอาคารสำนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) นี้ เป็นการทำงานโดยการเรียนรู้จากประสบการณ์จากปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการ แล้วนำประสบการณ์ที่ได้มาปรับปรุงการทำงาน ให้สอดคล้องกับแต่ละสถานการณ์ของโครงการen
dc.description.abstractalternativeThe Siam Commercial Bank Public Company Limited had a policy to renovate its office building to modernize the organization’s image, to suit its business operations, and to support the organization’s expansion. The company also wanted the building to meet the needs for the use of space inside the building such as by making adjustments or modifications to the working areas so they are interconnected, leading to increased efficiency. Pertaining to this, the renovation work could not impact the bank’s business operations and the work of building’s users.The renovation of the office building while it is in active use had to rely on various principles and theories in three major areas: facility management, project management, and construction management. The study revealed that the project operations had been adjusted and modified according to the bank’s policy and can be separated into three stages. In the first or beginning stage of the project, project operations were managed according to the policy established before the start of the project both with regard to the scope of work and teamwork structure. After a while, problems during the renovation began to emerge and become acknowledged. These included the impact on the building’s users and problems caused by contractors. The problems apparently caused delays in project operations. The second stage was the period during which operations faced the continued impact of the problems that occurred during the first stage. Additional problems also surfaced during this stage, which related to the physical features of the building being incongruent with the renovations that had been designed. The third stage was when modifications were made to the policy to be in line with the situation of project operations. These included a reduction in the project’s operational time period, budget, and scope of work. All these were aimed at reducing the problems that had occurred.Laying down a policy fitting the work and the situation during each period of renovation partly contributes to the success of a project. A team of experienced people is also important as they can anticipate the problems or potential impact in advance. In this way, they can devise a plan to deal with such possibilities and ensure smooth operations. This is because a project for renovating an office building while in active use is more complicated in nature than other building construction projects in general. The organization’s business operations cannot be put on hold and other users of the building must also be taken into consideration. In the case of the renovation project of the Siam Commercial Bank Public Company Limited, those involved with the renovations learned from experiencing problems with the project and making adjustments to the work to fit the situationen
dc.format.extent14967614 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1001-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)en
dc.subjectอาคาร -- การบูรณะและการสร้างใหม่en
dc.subjectอาคารสำนักงานen
dc.subjectการตกแต่งภายในen
dc.titleการปรับปรุงตกแต่งภายในอาคารสำนักงานธนาคาร ในระหว่างมีการเปิดใช้งาน :กรณีศึกษา อาคารสำนักงาน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)en
dc.title.alternativeThe renovation building during a bank between activation : a case study of Siam Commercial Bank Public Company Limiteden
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorvtraiwat@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1001-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chissanucha_kh.pdf14.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.