Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29242
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุภาพรรณ ณ บางช้าง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-03-04T09:45:50Z-
dc.date.available2013-03-04T09:45:50Z-
dc.date.issued2531-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29242-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีเป้าหมาย ที่จะศึกษาวิวัฒนาการงานเขียนภาษาบาลีที่แต่งในประเทศไทย ซึ่งมีเนื้อหาวิวัฒน์ในสายพระสุตตันตปิฏก ผลการศึกษาพบว่ามีผลงานบาลี 35 เรื่อง จำแนกตามลักษณะเนื้อหาและรูปแบบการเสนอเนื้อหาได้เป็น 5 ประเภทคือ ชาดก พุทธประวัติ ธรรมประวัติ สารธรรม และอัตถวัฒฒนา ผลงานเหล่านี้มีวิวัฒนาการตามลักษณะร่วมของวรรณคดีบาลีแต่ละสมัย คือ ผลงานที่แต่งในล้านนาช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 มีลักษณะเลียนแบบเนื้อหาและวิธีการเสนอเนื้อหาจากคัมภีร์บาลีของลังกา สาระกระชับสั้น เน้นการสื่อธรรมระดับศีลธรรม โดยอาศัยศรัทธาเป็นตัวนำ และแฝงคติเรื่องกรรม - ผลงานที่แต่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 ทางล้านนาเป็นงานขยายเนื้อหาของผลงานในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ให้มีรายละเอียดขึ้น มีโครงเรื่องซับซ้อนขึ้น คติความเชื่อที่ปรากฏเด่น คือ เรื่องพระเมตไตรยพุทธเจ้าในอนาคต ทางฝ่ายอยุธยา ผลงานเน้นการอธิบายความหมายทางธรรมในเรื่องที่เป็นคติความเชื่อของประชาชน มีลักษณะเป็นงานสร้างสรรค์ที่มีความเป็นตัวของตัวเองพอสมควร ผลงานที่แต่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-22 ทางล้านนาเป็นช่วงยุคทองของวรรณคดีบาลี ผลงานประเภทสารธรรมและอัตถวัณณนา มีความเด่นในด้านความรู้ภาษาบาลีและคัมภีร์บาลีของผู้แต่ง ผลงานมีลักษณะเป็นวิชาการ ส่วนผลงานประเภทพุทธประวัติมีความเด่นด้านวรรณคดี ทางอยุธยา ผลงานมีลักษณะเป็นงานวิชาการ แต่ไม่เด่นและมีคุณค่าไม่เท่าผลงานของล้านนา ผลงานที่แต่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 29 ผลงานส่วนใหญ่แต่งในอยุธยา มีลักษณะเปลี่ยนไปเน้นสาระที่เป็นคติความเชื่อและเรื่องสนุกสนานนอกหลักธรรม ที่เป็นงานวิชาการก็ไม่แสดงความรอบรู้ของผู้แต่งมาก แสดงความเสื่อมของการสร้างสรรค์งานวรรณคดีบาลี อย่างไรก็ตาม ได้มีผู้พยายามแต่งผลงานที่ประสานสารธรรมเข้ากับรูปแบบการนำเสนอที่เป็นความนิยมของประชาชน - ผลงานที่แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3-4 ผลงานส่วนใหญ่มีลักษณะเด่นในด้านเนื้อหาที่เน้นความเข้าใจธรรมด้วยปัญญา ทั้งลักษณะการสื่อธรรมที่ผ่านกระบวนการศรัทธาตามแบบผลงานบาลีที่ผ่านมาออกไป อีกทั้งมีปฏิกิริยาตอบโต้วิธีการสื่อธรรมแบบสัทธรรมปฏิรูปด้วย ลักษณะคำประพันธ์ ขึ้นอยู่กับประเภทของผลงาน กล่าวคือ ผลงานชาดกและพุทธประวัติแต่งเป็นร้อยแก้ว มีคาถาร้อยกรองแทรก ผลงานธรรมประวัติแต่งเป็นร้อยกรองทั้งหมด ผลงานอัตถวัณณาแต่งเป็นร้อยแก้วทั้งหมด ยกเว้นผลงานสารธรรมแต่งเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรองตามความสอดคล้องระหว่างคำประพันธ์กับเนื้อหา และตามความถนัดและความพอใจของผู้แต่ง ลักษณะภาษา ผลงานที่แต่งในล้านนาและอยุธยามีลักษณะภาษาบาลี-ไทยแฝงอยู่ส่วนผลงานในสมัยรัตนโกสินทร์รักษารูปแบบภาษาตามแบบภาษาบาลีมาตรฐาน ผลงานภาษาบาลีเหล่านี้สะท้อนให้เห็นลักษณะของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-23 เริ่มตั้งแต่การวางรากฐานพระศาสนาด้วยกระบวนการศรัทธาที่มีปัญญารองรับ มีการรับสารธรรมทั้งจากพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทและมหายานในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 มีความเสื่อม เพราะเน้นคติความเชื่อนอกแก่นพุทธธรรมมากละเลยส่วนปัญญาออกไป ในสมัยรัชกาลที่ 3-4 มีความพยายามจะวางรากฐานความเข้าใจธรรมที่อาศัยปัญญานำ การศึกษาในงานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาแบบสำรวจ เพื่อให้เห็นภาพรวมของวรรณคดีบาลีในสายพระสุตตันตปิฏกที่แต่งในประเทศไทยตลอดสาย เป็นงานศึกษาที่มีลักษณะกว้าง ควรจะได้มีการศึกษาวรรณคดีแต่ละเรื่องให้ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมทั้งควรศึกษาผลงานบาลีที่แต่งในประเทศไทยประเภทอื่นเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยกันอนุรักษ์และเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรมด้านวรรณคดีบาลีของบรรพชนไทยให้ยั่งยืนเป็นที่รู้จักและเกิดการนำประโยชน์มาใช้ให้สมค่าสืบไปen
dc.description.sponsorshipเงินทุนอุดหนุนงบประมาณแผ่นดิน พ.ศ.2529en
dc.format.extent47458059 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสุตตันตปิฎก -- ประวัติและวิจารณ์en
dc.subjectวรรณคดีบาลี -- ประวัติและวิจารณ์en
dc.subjectธรรมะen
dc.subjectพระไตรปิฎกen
dc.subjectพระสูตรen
dc.titleวิวัฒนาการงานเขียนที่เป็นภาษาบาลีในประเทศไทย : ประเภทวิเคราะห์ธรรมในพระสุตตันตปิฎกen
dc.typeTechnical Reportes
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supapan_na.pdf46.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.