Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29259
Title: การศึกษาต้นทุนการผลิตแอลกอฮอล์จากพืชผลทางการเกษตร เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง
Other Titles: A study on the cost of production of alcohol as fuel from agricultural produce
Authors: มัญชรี ฉันทศาสตร์โกศล
Advisors: กัญญา นวลแข
เอกไทย วงศ์สวัสดิ์กูล
Other author: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเทศไทยต้องขาดดุลการชำระเงินตราต่างประเทศปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะในด้านการนำเข้าเชื้อเพลิงเหลวประเภทน้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่สั่งซื้อจากต่างประเทศในแต่ละปีประมาณร้อยละ 30-40 ของงบประมาณแผ่นดิน และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามราคาของน้ำมันดิบระหว่างชาติ ซึ่งเป็นที่น่าวิตกกังวลอย่างยิ่งสำหรับรัฐบาล จึงจำเป็นต้องมีการสำรวจและศึกษาเพื่อหาแหล่งพลังงานอย่างอื่นมาทดแทน พลังงานจากแอลกอฮอล์นับได้ว่ามีความเป็นไปได้สูงสุดในการแก้ไขวิกฤตการณ์เชื้อเพลิงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะศึกษาถึงต้นทุนการผลิตแอลกอฮอล์จากพืชผลทางการเกษตรเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมัน โดยแบ่งแยกศึกษาเป็น 4 กรณี ตามประเภทวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอันได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง กากน้ำตาล และกรณีศึกษาที่ 4 เป็นกรณีที่ใช้วัตถุดิบหลายชนิดรวมกัน ตลอดจนศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการที่จะประกอบการผลิตแอลกอฮอล์เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง จากการศึกษาพบว่าต้นทุนการผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อยราคาลิตรละ 9.88 บาท จากมันสำปะหลังราคาลิตรละ 7.03 บาท จากกากน้ำตาลราคาลิตรละ 6.23 บาท และจากการใช้วัตถุดิบหลายชนิดรวมกันราคาลิตรละ 7.38 บาท ต้นทุนการผลิตแอลกอฮอล์ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยต้นทุนของวัตถุดิบ และแม้นว่าพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ของประเทศจะมีความเหมาะสมในการปลูกอ้อยและมันสำปะหลังก็ตาม ก็ยังมีปัญหาในเรื่องราคาของวัตถุดิบ ทั้งนี้เนื่องจากราคาของอ้อยและมันสำปะหลังของประเทศไทยผูกพันอยู่กับราคาของตลาดโลก ราคาจึงเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามความต้องการของตลาดโลก ซึ่งมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตแอลกอฮอล์จากวัตถุดิบเหล่านี้ค่อนข้างสูง เพื่อแก้ปัญหาความไม่แน่นอนของราคาวัตถุดิบนี้ รัฐบาลควรจะกำหนดมาตรการที่เหมาะสมในการควบคุมราคาของพืชผลเกษตรเหล่านี้ไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก โดยจะต้องระวังมิให้เกิดผลผลิตส่วนเกินในประเทศซึ่งจะมีผลทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้และเกิดการว่างงานในอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากการผลิตอ้อยและมันสำปะหลังด้วย ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือปัญหาด้านการตลาด เนื่องจากการจำหน่ายแอลกอฮอล์ในขณะนี้ดำเนินการโดยองค์การของรัฐบาล ผู้ที่จะประกอบการผลิตจึงไม่แน่ใจว่าจะนำแอลกอฮอล์ที่ผลิตได้ไปจำหน่ายให้กับผู้ใด ประกอบกับมาตรการส่งเสริมต่าง ๆ จากภาครัฐบาลในเรื่องภาษีสรรพสามิต และวิธีการผสมแอลกอฮอล์กับน้ำมันเบนซินก็ยังไม่เด่นชัด จึงทำให้ไม่มีผู้ใดลงทุนสร้างโรงงานเพื่อดำเนินการผลิตอย่างจริงจัง ดังนั้น เพื่อจูงใจให้ผู้ลงทุนเกิดความมั่นใจและเต็มใจที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ รัฐบาลจึงควรกำหนดวิธีการ มาตรการในด้านการส่งเสริมให้มีการผลิตแอลกอฮอล์เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงอย่างชัดเจน เช่น กำหนดภาษีสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงแอลกอฮอล์ให้ต่ำที่สุดเท่าที่รัฐจะทำได้เพื่อตรึงราคาแอลกอฮอล์ต่อลิตรให้ต่ำ กำหนดภาษีสำหรับเครื่องยนต์ที่ใช้เบนซินให้สูงกว่าเครื่องยนต์ที่ใช้แอลกอฮอล์ นอกจากนี้รัฐบาลจะต้องเตรียมเร่งพัฒนาเทคโนโลยีและกำลังคนไว้ให้พร้อมเพื่อการใช้ในโรงงานผลิตแอลกอฮอล์ในอนาคต
Other Abstract: Each year Thailand has a great deficit on foreign exchange especially in importing crude oil for domestic consumption which costs annually about 30-40% of Budget Revenue. The sharp rise on world price becomes an immediate problem for the Government and prompts it to search for other resources of energy for future substitution. Fortunately, a study reveals that using energy deriving from alcohol to remedy the future oil crisis is quite possible. This thesis is a study on the cost of production of alcohol as fuel from agricultural produce. This includes 4 study cases depending on the types of material used e.g. sugarcanes, cassavas, molasses and mixed raw materials. Problems facing the production of alcohol as fuel from such raw materials are also studied. The result of the study reveals that the cost of producing alcohol from sugarcane is 9.80 Baht per litre, while the cost per litre of production from cassavas, molasses and mixed raw materials is 7.03, 6.23 and 7.38 Bahts respectively. The study also reveals that the high cost of production is due to high cost of raw material even though most of Thai plantation areas are good for planting sugarcanes and cassavas. This is due to the fact that the price of our agricultural produces is based on world price. When the price of such agricultural produces is high, the cost of production of alcohol from such agricultural produces is affected. To solve this problem, the Government should set up a definite policy to control price of both sugarcanes and cassavas by means of controlling excessive fluctuation in production in the country since it leads to wastage and unemployment in the related industry. Alcohol is presently sold by Government enterprise so alcohol producers face problems in marketing. Investors in alcohol producing are also not certain about customers consumption, excise tax rates, promotion privileges, nor the Government policy as regards the rate of mixture between alcohol and benzene There are the main obstacles to investment. To solve these problems Government’s clear policy as regards law concerning the production and sales of alcohol is needed, while better accommodation on excise tax rate of alcohol production and higher tax rate on Benzine engines will give encouragement to alcohol producers. At the same time the Government should develop both technology trained personnel for future requirements in alcohol production.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29259
ISBN: 9745646393
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Muncharee_ch_front.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open
Muncharee_ch_ch1.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open
Muncharee_ch_ch2.pdf15.41 MBAdobe PDFView/Open
Muncharee_ch_ch3.pdf28.22 MBAdobe PDFView/Open
Muncharee_ch_ch4.pdf16.12 MBAdobe PDFView/Open
Muncharee_ch_ch5.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open
Muncharee_ch_back.pdf15.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.