Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29298
Title: การรับรู้และการยอมรับบทบาทของอาสาสมัครสาขาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ของประชาชนในชนบท
Other Titles: Role perception and acceptance of village health volunteers (VHV.) by the Rural resident
Authors: ภาวินี เพ็งศาสตร์
Advisors: พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์
พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ
Other author: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของ อสม. ที่ปฏิบัติจริงและที่เห็นได้ในสายตาของประชาชน โดยเปรียบเทียบกับบทบาทของ อสม. ที่กำหนดไว้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน และยังเป็นการศึกษาปัจจัยทางประชากร สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของ อสม. และประชาชนที่มีผลต่อการรับรู้และการยอมรับของประชาชนที่มีผลต่อบทบาทของ อสม. โดยมีสมมติฐานว่า อายุ ตำแหน่ง ฐานะทางการเงิน ความรู้และภูมิหลังเกี่ยวกับเรื่องสาธารณสุขและสุขภาพอนามัย ประสบการณ์การรักษาพยาบาลของ อสม. มีผลทำให้การปฏิบัติงานของ อสม. และการยอมรับบทบาทของ อสม. ของประชาชนแตกต่างกัน ขณะเดียวกัน เพศ อายุ ตำแหน่ง ฐานะทางการเงิน ความเชื่อในการรักษาพยาบาลแผนปัจจุบัน ความสนิทสนมคุ้นเคยกับ อสม. ระยะทางและความสะดวกในการเดินทางไปสถานีอนามัยของประชาชนก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ การยอมรับบทบาทของ อสม. ของประชาชนแตกต่างกันด้วย การวิจัยครั้งนี้เป็นการสำรวจโดยการสุ่มตัวอย่างจากประชาชนและ อสม. ที่อยู่ในเขตชนบทของ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยกำหนดขนาดตัวอย่างประชาชนจำนวน 260 คน และ อสม. จำนวน 52 คน (อสม. 1 คน ต่อประชาชน 5 คน) สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ใช้แบบสอบถามเพื่อเป็นแนวทางในการสัมภาษณ์ประชาชนและ อสม. ที่ตกเป็นตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนที่ตกเป็นตัวอย่างทั้งหมดรับรู้ว่ามี อสม. อยู่ในหมู่บ้านของตน และต้องการให้ อสม. ทำหน้าที่จำหน่ายยา รองลงไปคือต้องการให้ อสม. ให้คำปรึกษาเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย และช่วยรักษาพยาบาล ด้านการปฏิบัติงานของ อสม. พบว่า อสม. ส่วนมากปฏิบัติงานตามบทบาทของ อสม. ที่กำหนดไว้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน งานที่ อสม.ปฏิบัติกันทุกคนได้แก่ การให้สุขศึกษา สำหรับปัจจัยที่มีผลทำให้การปฏิบัติงานของ อสม. แตกต่างกันโดยใช้ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) มาวิเคราะห์พบว่า อสม. ที่มีความรู้และภูมิหลังเกี่ยวกับเรื่องสาธารณสุขและสุขภาพอนามัย การดำรงตำแหน่งในหมู่บ้านและ อสม. ที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานในช่วง 1-3 ปี จะมีผลการปฏิบัติงานมากกว่า อสม. ที่ไม่มีสิ่งเหล่านี้ ทางด้านการยอมรับบทบาทของ อสม. ของประชาชนพบว่า ร้อยละ 86.5 ของประชาชนที่ตกเป็นตัวอย่างให้การยอมรับ อสม. โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการยอมรับบทบาทของ อสม. ของประชาชนเมื่อใช้ Chi-Square มาวิเคราะห์ ปรากฏว่าประชาชนที่บ้านอยู่ใกล้สถานีอนามัยจะให้การยอมรับ อสม. มากกว่าประชาชนที่บ้านอยู่ไกลสถานีอนามัย ประชาชนที่สนิทสนมคุ้นเคยกับ อสม. จะให้การยอมรับ อสม. มากกว่าประชาชนที่ไม่สนิทสนมคุ้นเคยกับ อสม. นอกจากนี้เรายังพบว่าการยอมรับบทบาทของ อสม. ของประชาชนมีผลต่อพฤติกรรมของประชาชน โดยประชาชนที่ยอมรับ อสม. ส่วนมากมักจะปฏิบัติตามคำแนะนำของ อสม. และมีความพอใจในการรักษาพยาบาลของ อสม. ส่วนประชาชนที่ไม่ยอมรับ อสม. จะไม่พยายามไปเกี่ยวข้องกับ อสม. ในการวิจัยนี้พบปัญหาและอุปสรรคการทำงานของ อสม. ได้แก่ ปัญหาเรื่องการขาดแคลนยา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งยาให้ไม่ทันตามความต้องการ รองลงมาได้แก่การเสียเวลาทำมาหากิน และประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ จากผลการวิจัยที่เราค้นพบทั้งหมดสรุปได้ว่า การรับรู้และการยอมรับบทบาทของ อสม. ของประชาชนนั้นเป็นเรื่องที่ประสบความสำเร็จในด้านการเผยแพร่ออกสู่ประชาชน แต่สิ่งที่เป็นห่วงในขณะนี้คือความเข้าใจของประชาชนและ อสม. ที่มีต่องานสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรจะสร้างความเข้าใจในหลักการของงานสาธารณสุขมูลฐานให้ อสม. มีความเข้าใจที่ถูกต้องและมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เพื่อที่จะถ่ายทอดและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนได้เพื่อความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของงานสาธารณสุขมูลฐานที่ตั้งไว้
Other Abstract: The primary objective of this research is to compare the actual roles of the Village Health Volunteers (VHV.) with the expected roles prescribed by the Office of the Primary Health Cares. The secondary objective is to investigate factors associated with perception and acceptance of the VHVs. It was hypothesized that age, social position, economic status, background knowledge of health, experiences in giving medical cares of the VHVs were related to and had significantly different impact on both actual roles and acceptance of VHVs by the villagers. It was also hypothesized that, likewise, sex, age, social position, economic status, belief in modern medical cares, acquaintance with VHVs, distance to and convenience of health center were related to the acceptance of VHVs by the villagers. How villagers accepted and perceived the VHVs, was thought to depend very much on these factors. This study employed a sample of 260 villagers and 52 VHVs in Muang District of Khon Kaen Province. Respondents were interviewed and several interesting findings were revealed. It was found that all villagers were awared of the existing of VHV in their own village. They recommended that all VHVs should be able to prescribe drugs and be able to provide consultant and medicare services to them when they were sick. Most VHVs were able to observed the expected roles prescribed by the Office of Primary Health Cares. In addition, all VHVs were able to provide a complete coverage in the job of giving health education. With regard to factors associated with the performance it was found that those VHVs who had knowledge and strong background in health, were holding a social position, and had provide service between 1 to 3 years performed better on average than those who possessed none of these qualifications. In terms of acceptance, about 86.5 percent of villagers in the sample viewed the VHVs quite positively. In addition, through chi-square test, certain factors, namely distance of a health center from resident, extent of personal acquaintance with VHVs were related to acceptance of VHVs. Those villagers who lived close to Tambol Health Center, with the distance of not more than 2 kilometers, were more likely to accept the VHVs than those who lived more than 2 kilometers away from the health center. Further, villagers who had personal contact with the VHVs would be more likely to accept the VHVs than those who were not acquainted with the VHVs. It was also found that the acceptance of VHVs influenced the behavior of the villagers. Most villagers who accepted and positively viewed the VHVs would follow the advice regarding health practices closely and were satisfied with the services of the VHVs. Some obstacles for the operation of Primary Health Cares were found. The insufficiency of drug supply made the work of the VHVs ineffective. In addition, these volunteers felt they had a great lost in terms of opportunity cost. They had to spend a lot of their working time which otherwise they could have used for income earning. The psychological impact of this opportunity cost was greater than actual when the volunteers, in several occasions, encountered the lack of cooperation from many parties, including some villagers who would in fact be the beneficiaries of the Primary Health Care Program. With the above mentioned findings, it can be concluded that the perception and acceptance of the role of the VHVs were quite favorable. This reflects the success in the campaigning and public relation on the work of Primary Health Cares. The only problem which existed at the time of this study had to do with the lack of clear understanding about the concept of Primary Health Cares. The crux of the work was on preventive not curative. Many villagers hoped that the VHVs should be able to provide all curative services. This should have not been the case. The Ministry of Public Health, therefore, had to correct the perception and understanding of the villagers as well as some of the VHVs themselves on this matter.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29298
ISBN: 9745670375
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pavinee_pe_front.pdf6.13 MBAdobe PDFView/Open
Pavinee_pe_ch1.pdf10.68 MBAdobe PDFView/Open
Pavinee_pe_ch2.pdf8.53 MBAdobe PDFView/Open
Pavinee_pe_ch3.pdf14.2 MBAdobe PDFView/Open
Pavinee_pe_ch4.pdf8.18 MBAdobe PDFView/Open
Pavinee_pe_ch5.pdf5.79 MBAdobe PDFView/Open
Pavinee_pe_back.pdf6.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.