Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/292
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมหวัง พิธิยานุวัฒน์-
dc.contributor.authorกรวิกา ชูพลสัตว์, 2519--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-08T08:05:33Z-
dc.date.available2006-06-08T08:05:33Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741733631-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/292-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการพัฒนานักวิจัยจากการเป็นผู้ช่วยวิจัย ใน 4 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ (2) เปรียบเทียบกระบวนการพัฒนานักวิจัยจากการเป็นผู้ช่วยวิจัย ระหว่าง 4 สาขาวิชา ดำเนินการวิจัยโดยใช้การสัมภาษณ์อาจารย์และผู้ช่วยวิจัยสาขาวิชาละ 2 คน และศึกษากระบวนการพัฒนานักวิจัยจากการเป็นผู้ช่วยวิจัย มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ อาจารย์ที่ได้รับทุนวิจัยจากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช ปีการศึกษา 2540-2544 และผู้ช่วยวิจัย ซึ่งได้มาจากคัดเลือก จำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนานักวิจัยจากการเป็นผู้ช่วยวิจัย และแนวคำถามในการสัมภาษณ์อาจารย์และผู้ช่วยวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และสังคมศาสตร์คัดเลือกผู้ช่วยวิจัยโดยเป็นนิสิตในความดูแล ร้อยละ 67.7 งานที่ผู้ช่วยวิจัยที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คือ การทำการทดลองในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ คือ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย รวมทั้งการอ่านและแปลความหมายผลการวิเคราะห์จากคอมพิวเตอร์ สาขามนุษยศาสตร์ คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย ด้านวิธีพัฒนาผู้ช่วยวิจัย อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และมนุษยศาสตร์บอกจุดบกพร่องของผู้ช่วยวิจัย พร้อมทั้งแนะนำวิธีแก้ไข ปรับปรุง อาจารย์สังคมศาสตร์และผู้ช่วยวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และมนุษยศาสตร์มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าเป็นการสนับสนุนให้ผู้ช่วยวิจัยศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นหลัก ส่วนผู้ช่วยวิจัยสาขาสังคมศาสตร์เห็นว่าเป็นการร่วมกันคิดหาวิธีในการพัฒนางานวิจัยและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้สามารถสรุปเป็นวิธีพัฒนาผู้ช่วยวิจัยทั้ง 4 สาขาวิชา ได้แก่ การสอนงาน การเรียนรู้จากการปฏิบัติ การพัฒนาตนเอง และการมอบหมายงานจากอาจารย์นักวิจัย ด้านความรู้ความสามารถทางการวิจัยที่เพิ่มขึ้นของผู้ช่วยวิจัย อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและมนุษยศาสตร์มีความคิดเห็นว่าผู้ช่วยวิจัยมีพื้นความรู้ในเรื่องที่ทำการวิจัยเพิ่มขึ้นมากที่สุด ส่วนอาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพมีความคิดเห็นว่าเป็นการมีความรู้และทักษะในการใช้แบบวิจัยและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ในขณะที่อาจารย์สาขาสังคมศาสตร์เห็นว่าเป็นความสามารถในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล 2) จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนในความคิดเห็นของอาจารย์และผู้ช่วยวิจัย จำแนกตามสาขาวิชา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสถานภาพต่างกัน ไม่ว่าเป็นอาจารย์หรือผู้ช่วยวิจัยมีการปฏิบัติงานตามการมอบหมายของอาจารย์ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในกรณีของกลุ่มสาขาวิชา พบว่า มีความแตกต่างกันในระหว่างกลุ่มสาขาวิชาในด้านการปฏิบัติในวิธีพัฒนาผู้ช่วยวิจัย การมอบหมายงานของอาจารย์ให้แก่ผู้ช่วยวิจัย และความรู้ความสามารถทางการวิจัยของผู้ช่วยวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพของกลุ่มตัวอย่างและสาขาวิชาต่อความรู้ความสามารถของผู้ช่วยวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to (1) study the researcher grooming process to be the research assistants in 4 field ; Physical Science, Biological Science, Sociology and Humanities. (2) compare the researcher grooming process to be the research assistants between 4 field. The methodology for the research is descriptive research by interviewing 2 instructors and 2 research assistants for each field and study the researcher grooming process. The samples are 62 persons which are selected from instructors who received Rachadapisek Sompoch Fund in 1997-2001 and their research assistants. The research instruments were questionnaires and interview guide. The research findings were as follows: 1) Physical Science, Biological Science and Sociology's instructors, 67.7% of their research assistants were selected from their advisee. The responsibilities of research assistants for Physical Science and Biological Science instructors were to experiment in scientific laboratory. In Sociology field studies , the research assistants typically used application software to analyze and summarize data and information and in Humanities field studies, they were responsible for gathering research data. In term of the development method of research assistants, Physical Science, Biological Science and Humanities instructors indicated the weaknesses of research assistants and suggest them how to improve. However, Sociology instructors and research assistants in Physical Science and Humanities as well as Humanities field had consensus opinion that encouraging research assistants to study by themselves about how to develop research assistants. In addition, the research assistants in Humanities field replied that they were developed by brainstorming in research process and solving existing problems. The conclusion of the development method of research assistants are coaching, action learning, self development and assignment. In additional more knowledge and ability of research assistants . The opinion of the instructors in Physical Science and Humanities field about their research assistants who had more background in that research. The instructors in Biological Science field thought that their research assistants had more knowledge, research skills and scientific method and the instructors in Sociology field thought that their researcd assistants had the ability to use applicaion software to analyze data and information. 2) From two-way ANOVA analysis, the opinion of teachers and research assistants that distribute by field studies. There were the different of field studies in the performance of development method, the research assistants's responsibility, the ability in research of research assistants significantly the statistic at .05. In additional, there was the interaction between the status of samples and the field studies to the ability in research significantly the statistic at .05.en
dc.format.extent1116557 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.628-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectนักวิจัยen
dc.subjectกองทุนรัชดาภิเษกสมโภชen
dc.subjectผู้ช่วยวิจัยen
dc.titleการวิเคราะห์กระบวนการพัฒนานักวิจัย : กรณีศึกษาผู้ช่วยวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.title.alternativeAn analysis of the researcher grooming process : a case study of Chulalongkorn University research assistantsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSomwung.P@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.628-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kornwika.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.