Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29308
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูกับความคิดสร้างสรรค์ ของเด็กในชุมชนแออัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Relationships between child rearing practices and creative thinking of Slum children in Bangkok metropolis
Authors: ภิญโญ จันทรวงศ์
Advisors: สำลี ทองธิว
Other author: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูกับความคิดสร้างสรรค์ของเด็กในชุมชนแออัด กรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กในชุมชนแออัด กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยแบบประชาธิปไตย และแบบคุ้มครองมากเกินไป ผลการวิจัยแสดงว่า 1) การอบรมเลี้ยงดูบุตรของครอบครัวในชุมชนแออัด กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็นแบบประชาธิปไตย 2) เนื่องจากผลการวิจัยเป็นดังกล่าวในข้อ 1 จึงไม่สามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยและแบบคุ้มครองมากเกินไปกับความคิดสร้างสรรค์ได้ ฉะนั้นจึงได้หาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยกับความคิดสร้างสรรค์ และความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูของกลุ่มที่ไม่สามารถระบุรูปแบบที่แน่นอนได้กับความคิดสร้างสรรค์ พบว่าการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย และการอบรมเลี้ยงดูที่ไม่สามารถระบุรูปแบบที่แน่นอนได้ กับความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 3 มีความสัมพันธ์กันในทางบวกระดับต่ำ 3) นักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยกับนักเรียนกลุ่มที่ไม่สามารถระบุรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่แน่นอนได้ มีความคิดสร้างสรรค์ด้านความคล่องในการคิด ความยืดหยุ่นในการคิด และความคิดริเริ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, .05 และ .01 ตามลำดับ
Other Abstract: The purposes of the research were 1) to study the relationship between child rearing practices and creative thinking of slum children in Bangkok Metropolis, and 2) to compare creative thinking of children given rejecting child rearing practice, democratic child rearing practice and over-protecting child rearing practice. The finding were 1) the child rearing practice of most slum families in Bangkok Metropolis was democratic, 2) according to the finding in 1), it was not possible to find the relationship between rejecting child rearing practice and over-protecting child rearing practice, and creative thinking; therefore, the researcher did find the relationship between democratic child rearing practice and creative thinking, and the relationship between the child rearing practice of the group with no definite models and creative thinking instead, and found that democratic child rearing practice and the child rearing practice of the group with no definite models, and creative thinking had positive relationship at the low level, 3) students given democratic child rearing practice and students of the group with no definite models of child rearing practice had significant differences in creative thinking concerning fluency, flexibility and initiatively at the level. 05, .05 and .01 respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2532
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29308
ISBN: 9745760064
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pinyo_chu_front.pdf6.85 MBAdobe PDFView/Open
Pinyo_chu_ch1.pdf11.22 MBAdobe PDFView/Open
Pinyo_chu_ch2.pdf31 MBAdobe PDFView/Open
Pinyo_chu_ch3.pdf9.88 MBAdobe PDFView/Open
Pinyo_chu_ch4.pdf6.91 MBAdobe PDFView/Open
Pinyo_chu_ch5.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open
Pinyo_chu_back.pdf28.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.