Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29421
Title: การอบรมเลี้ยงดูกับพฤติกรรมการช่วยเหลือตนเองของเด็กวัย 2-3 ปี
Other Titles: Child rearing practice and selp-help skilis of taddlers
Authors: เสาวนีย์ พัฒนอมร
Advisors: อุมาพร ตรังคสมบัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัย เชิงบรรยายนมวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการช่วยเหลือ ตนเองของเด็กกับปัจจัยบางประการของเด็กและบิดามารดา วิธีการอบรม เลี้ยงดู ความสอดคล้อง ในการอบรม เลี้ยงดู ตลอดจนสัมพันธ์ภาพของบิดามารดา กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กอายุระหว่าง 2 ปี 6 เดือน ถึง 3 ปี 6 เดือน ที่ เข้าเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของศูนย์สุขวิทยาจิต และโรงพยาบาลราชวิถี จำนาน 77 คน เด็กเหล่านี้เป็นเด็กปกติ มีความสามารถช่วยเหลือตนเอง ตามเกณฑ์ประเมินพัฒนาการของ แบบคัดกรองพัฒนาการเด็กไทย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม บิดาและมารดาเกี่ยวกับ พฤติกรรมการช่วยเหลือตนเองของเด็ก วิธีการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดา และสัมพันธ์ภาพระหว่างบิดามารดา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคะแนนการช่วยเหลือ ตนเองส่งกว่าเกณฑ์เฉลี่ยใน 2 ด้าน คือ ด้านการขับถ่าย และด้านการทำความสะอาดร่างกายและแต่งตัว แต่มีคะแนนต่ำกว่าหรือ เท่ากับเกณฑ์เฉลี่ยในด้านการรับประทานอาหาร บิดามารดาส่วนใหญ่ เลือกใช้การอบรม เลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย โดยที่มารดาจะเป็นผู้ดูแลและดัดสินใจ เรื่องการอบรม เลี้ยงดูในกิจกรรมดังกล่าวของเด็กด้วยตนเองมากที่สุด และพบว่าปัจจัยด้านมารดาบางประการเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับคะแนนการช่วย เหลือตน เองของเด็กกล่าวคือ ระดับการศึกษาของมารดาและ เวลาที่มารดาทำงานนอกบ้านใช้ดูแลลูก มีความสัมพันธ์กับคะแนนด้านการขับถ่าย (p<.01, p<.05) รายได้ของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับคะแนนด้านการรับประทานอาหาร (p< .01) ในขณะที่ปัจจัยด้าน บิดาทุกประการไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับคะแนนการช่วยเหลือตนเองของเด็กในทุกด้าน
Other Abstract: The objective of this descriptive study was to find the relations between self-help skills of the children and demographic characteristics of children and parents, child rearing practices, parental agreement on child rearing and parental relationship. Subjects were seventy-seven nomal children aged 2.5-3.5 years who attended the Day-Care programs of the Child Mental Health Center and Ratchavitee Hospital. These subjects were screened by the Thai Developmental Screening Test. The parents answered the questionnaire on self-help behavior, child rearing practices and parental relationship. The results showed that most subjects scored above average in two aspects of self-help skills: toileting and self-cleaning and dressing but scored below average in self-feeding. Child rearing practices in most parents were democratic. In most subjects, the mothers were the main caretakers. Some maternal factors were found to be related to the self-help skills of the children. Toileting scores were related to the educational level of the mothers and the time the working mothers spent on taking care of their children. Self-feeding scores were related to the family income. No paternal factors were found to be significantly related to self-help skills of the children.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29421
ISBN: 9745798495
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saowanee_pa_front.pdf3.92 MBAdobe PDFView/Open
Saowanee_pa_ch1.pdf4.68 MBAdobe PDFView/Open
Saowanee_pa_ch2.pdf26.79 MBAdobe PDFView/Open
Saowanee_pa_ch3.pdf4.47 MBAdobe PDFView/Open
Saowanee_pa_ch4.pdf13.73 MBAdobe PDFView/Open
Saowanee_pa_ch5.pdf13.14 MBAdobe PDFView/Open
Saowanee_pa_back.pdf14.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.