Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29423
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอำไพ ตีรณสาร-
dc.contributor.authorชนิดา ปัณณะสฤษฎ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-03-08T07:02:30Z-
dc.date.available2013-03-08T07:02:30Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29423-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวทางการจัดห้องเรียนศิลปะในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ในด้านลักษณะทางกายภาพและทางด้านสังคม 2. ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอนวิชาศิลปศึกษา และผู้เชี่ยวชาญในการจัดห้องเรียนศิลปะในโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนวิชาศิลปศึกษาสำหรับตอบแบบสอบถาม 208 คน ผู้บริหาร 5 คน ครูผู้สอนวิชาศิลปศึกษาสำหรับการสัมภาษณ์ 15 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร ครูผู้สอนวิชาศิลปศึกษาและผู้เชี่ยวชาญ และแบบสังเกต ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าครูผู้สอนมีความคิดเห็นตามความต้องการสูงสุดในการจัดห้องเรียนศิลปะทางด้านกายภาพ ซึ่งประกอบด้วย ประเด็นลักษณะและขนาดของห้องเรียนคือ แสงสว่างในห้องเรียนมีเพียงพอ (X̅ = 4.54) ประเด็นการจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนคือ ภายในห้องมีวัสดุอุปกรณ์สำหรับวิชาศิลปศึกษา (X̅ = 4.46) ประเด็นสื่อการสอนคือ มีสื่อการสอนเหมาะสมกับเนื้อหา(X̅ = 4.47) ประเด็นการใช้และการดูแลห้องเรียนคือ จัดห้องเรียนโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน (X̅ = 4.66) และทางด้านสังคม ซึ่งประกอบด้วย ประเด็นกิจกรรมการเรียนการสอนศิลปศึกษาคือ ครูให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยการวาดภาพระบายสี (X̅ = 4.59) ประเด็นรูปแบบวิธีการสอนคือ ครูสอนโดยการแสดงให้ดูเป็นขั้นตอน/แบบสาธิต (X̅ = 4.40) ประเด็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนคือ ครูชื่นชมและให้กำลังใจนักเรียนเมื่อนักเรียนทำผลงานสำเร็จ (X̅ = 4.80) ประเด็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับนักเรียนคือ ยอมให้นักเรียนเคลื่อนไหวหรือมีปฏิสัมพันธ์เกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ (X̅ =4.59) ประเด็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับสิ่งแวดล้อมคือ นักเรียนใช้ เก็บรักษา ดูแลและทำความสะอาดอุปกรณ์ในการเรียนของตนเองและส่วนรวม (X̅ = 4.60)ผลจากการสังเกตการใช้พื้นที่ในห้องเรียนศิลปะของครูผู้สอนพบว่า ครูมีอัตราการใช้พื้นที่หน้าห้องเรียนมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 54.73 รองลงมาได้แก่ ตำแหน่งกลางห้องเรียน คิดเป็นร้อยละ 30.53 ส่วนพื้นที่ที่ครูใช้น้อยที่สุดคือหลังห้องเรียนคิดเป็นร้อยละ 14.74แนวทางการจัดห้องเรียนศิลปะในโรงเรียนประถมศึกษานั้น ห้องเรียนควรเป็นห้องที่โล่งโปร่ง มีการระบายอากาศได้ดี แสงสว่างเพียงพอ มีการจัดพื้นที่ใช้สอยให้มีมุมสำหรับเก็บวัสดุอุปกรณ์และมีพื้นที่ปฏิบัติงานแยกส่วนไว้ชัดเจน พร้อมมีโต๊ะนักเรียนสำหรับปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่มที่สามารถเคลื่อนย้ายหรือปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามแต่ละกิจกรรม ทั้งนี้ควรมีอ่างล้างมือในห้องเรียนศิลปะเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติกิจกรรมและการชำระล้างen
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to 1) study the guidelines for art classroom on the physical and social aspects in elementary schools under Bangkok Metropolitan Administration and 2) study the opinion of administrators, instructors and experts. The sample consisted of 5 administrators, 208 instructors, 15 instructors and 5 experts. Questionnaire, in-depth interview and observation forms were used for data collection. The data were analyzed by using frequencies, means and standard deviation.Research findings were as follow: the aspect of instructors’ opinions on physical aspect, included the points 1) Feature and size of classroom was to have sufficient light (X̅= 4.54), 2) Classroom environment was to equip with art education subject (X̅ = 4.46), 3) Instructional media was to hold appropriate medias of contents (X̅ = 4.47), 4) Usage and classroom maintenance was to concern with students’ safety (X̅ = 4.66). The social aspect, included the points as follow: 1) Activities was drawing and painting (X̅ = 4.59), 2) The teaching methodology was a step by step processes and demonstration (X̅ = 4.40), 3) The interaction between instructor and students was to express appreciation and mental support on students’ effort and achievement (X̅ = 4.80), 4) The interaction between students and students was to allow natural and individual interaction (X̅ = 4.59), and 5) The interaction between students and environment was to encourage personal and group responsibilities on organizing and maintaining the learning space (X̅ = 4.60).It was found from class observation that the art teachers used classroom space mostly in the front (54.73%) next was in the middle of the room (30.53%) and lastly at the back of the room (14.74%). The guidelines for the art classroom in elementary schools should consist of good air circulation and appropriate lighting with the section for equipments storage and the section for learning activities. Moreover, the classroom should have enough tables and working space for variety of art activities, and should have sinks for washing.en
dc.format.extent4392021 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1018-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectศิลปะ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)en
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษาen
dc.subjectการจัดการชั้นเรียนen
dc.subjectสภาพแวดล้อมห้องเรียนen
dc.titleการนำเสนอแนวทางการจัดห้องเรียนศิลปะในโรงเรียนประถมศึกษาen
dc.title.alternativeProposed guidelines for art classroom organization in elementary schoolsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineศิลปศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAmpai.Ti@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1018-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chanida_pa.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.