Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29492
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจารุวรรณ ลิมปเสนีย์
dc.contributor.authorภักดี ใจห้าว
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-03-09T10:56:30Z
dc.date.available2013-03-09T10:56:30Z
dc.date.issued2536
dc.identifier.isbn9745830518
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29492
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทราบปัจจัยต่างๆและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม-ประชากร ตลอดจนปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการใช้ที่ดินและกิจกรรมต่างๆ ของเทศบาลเมืองเชียงรายเพื่อทราบถึงศักยภาพการใช้ที่ดินของเทศบาลเมืองเชียงราย เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ Potential Surface Analysis (PSA) ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมในปีพ.ศ. 2533 มีการใช้ที่ดินประมาณ 738.33 ไร่ หรือเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2526 คิดเป็นร้อยละ 30.94 ต่อปี บริเวณย่านการค้าของเมือง ได้แก่ บริเวณถนนสิงหไคล ถนนอุตรกิจ ถนนธนาลัย ถนนบรรพปราการและถนนพหลโยธินช่วงบรรจบกับถนนบรรพปราการ การใช้ที่ดินเพื่อพักอาศัยในปี พ.ศ. 2533 มีการใช้ที่ดินประมาณ 3,108.89 ไร่หรือเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2526 คิดเป็นร้อยละ 3.03 ต่อปี การใช้ที่ดินเพื่อพักอาศัยจะอยู่โดยรอบบริเวณของย่านการค้า 2) ศักยภาพของการใช้ที่ดินสำหรับพาณิชยกรรมและที่พักอาศัยในการวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ทั้งกิจกรรม พบว่าอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันมาก โดยบริเวณที่มีศักยภาพสูงมากถึงสูงจะอยู่บริเวณใจกลางเมือง ซึ่งเป็นย่านการค้าและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ได้แก่ บริเวณถนนสิงหไคล ถนนอุตรกิจ ถนนธนาลัย ถนนบรรพปราการ ถนนพหลโยธิน ถนนสนามบิน ถนนราชโยธิน ถนนประสพสุข และถนนพหลโยธิน (ตอนเลี่ยงเมือง) จนถึงแม่น้ำกก สำหรับแนวโน้มการขยายของเมืองจะไปทางทิศตะวันออกตามแนวเหนือใต้ ของถนนพหลโยธิน(ถนนเลี่ยงเมือง) มากที่สุด 3) บทบาทหน้าที่ของเมืองเชียงรายในอนาคต 3.1 การคมนาคมขนส่ง จะเป็นศูนย์กลางเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในจังหวัดและระหว่างภาคโดยเฉพาะการคมนาคมกับกรุงเทพมหานคร โดยมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 หรือถนนพหลโยธินเป็นเส้นทางหลัก มีสนามบินพาณิชย์ในประเทศซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียง เหนือของเมือง มีเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ-เชียงราย และเชียงใหม่-เชียงราย ในอนาคตจะมีสนามบินนานาชาติเปิดบริการ3.2. ด้านการท่องเที่ยว เทศบาลเมืองเชียงรายจะเป็นจุดแวะพักแรมของนักท่องเที่ยวเนื่องจากมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นศูนย์กลางบริการแก่นักท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆภายในจังหวัดหรือภาคเหนือ 3.3 ด้านการพาณิชยกรรม จะเป็นศูนย์กลางของการค้าและบริการของภาคเหนือตอนบน 3.4 บทบาทตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5-7 ที่กำหนดให้เป็นเมืองรองของภาค ศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคและเป็นศูนย์กลางการค้าและบริการชายแดน 4) ข้อเสนอผังการใช้ที่ดินเมืองเชียงรายปี พ.ศ. 2544 เสนอแนวทางเลือกการใช้ที่ดิน 2 ทางเลือก โดยนำเอาทฤษฏีรูปแบบของเมืองมาประกอบพิจารณา จากนั้นเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย พบว่ารูปแบบของเมืองเป็น Mono-Centric เมื่อเปรียบเทียบกับผังเมืองรวมเมืองเชียงราย (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) พบว่า มีความสอดคล้องกัน ได้เสนอประเภทการใช้ที่ดิน 8ประเภท รวมทั้งมาตรการต่างๆที่ส่งเสริมแผนพัฒนาการใช้ที่ดินเมืองเชียงรายในอนาคต
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the research is to study various factors, and physical socioeconomic and population changes and problems which affect the changes of land use, urban activities of Chiang Rai Municipality. To study the role and land use potential the technique for analysis is the potential surface analysis (PSA) The conclusion from the study reveals that: 1)In 1990 the commercial area was 738.33 rai by the increase of 1983 30.94% per year commercial zones of the city are located on sing Cunlai Rd., In 1990 the residential area was 3,108 rai by the increase of 1983 3.03% per year. The residential zone is around the commercial zone. 2) The potential of commercial and residential land use are close together. The high to highest potential zone is located in the city centre where is the high densed of comerce and housing, such as singha Cunlai Rd., Bunpha Prakarn Rd., Phahon Yothin Rd., Airport Rd., p.rasop Suk Rd., Prahon Yothin (by pass) Rd., where it is closed to Kok River. The high potential growth of built-up area is in the east of the city along Phahon Yothin (by pass) Rd., 3) In future, The role of Chiang Rai Municipality are as follows: 3.1 Chiang Rai Municipality will be the provincial and the north regional communication center especially the linkage communication from Bangkok. The National High way Route no 1 or Phthin Re. is located in the north east of the city, serving passengers from Bangkok to chiang Rai and Cheiang Mai to Chiang Rai. In future, it will be an international airport. 3.2 Chiang Rai Municipality will be a provincial and upper north regional tourism Centre. 3.3 Chiang Rai Municipality will be a provincial and north : regional trade and service center. 3.4 By the 5-7 National Economic and Social Development Plan, Chiang Rai Municipality will be the suburban center, regional growth center and the border trade center. 4) In the research, 2 alternative land use guidelines are proposed for Chaing Rai Municipality land use plan 2001. 2001. Based on the land use structure theory, it is found that Chiang Rai Municipality land use pattern in 2001 will also be mono-centric. When Compared with the Chiang Rai comprehensive plan 2010 (1 St. Revised plan) , it is form that the result of the research is similar to the plan. 8 types of land use and various measures are proposed to promote land use development plan of Chiang Rai Municipality.
dc.format.extent7290890 bytes
dc.format.extent1808571 bytes
dc.format.extent14693050 bytes
dc.format.extent25255042 bytes
dc.format.extent29914093 bytes
dc.format.extent16083771 bytes
dc.format.extent25152940 bytes
dc.format.extent17929942 bytes
dc.format.extent14345485 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาเพื่อเสนอแนวทางการใช้ที่ดินเมืองเชียงรายen
dc.title.alternativeA study for land use guidelines of Chiang Rai municipalityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pakdee_ja_front.pdf7.12 MBAdobe PDFView/Open
Pakdee_ja_ch1.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Pakdee_ja_ch2.pdf14.35 MBAdobe PDFView/Open
Pakdee_ja_ch3.pdf24.66 MBAdobe PDFView/Open
Pakdee_ja_ch4.pdf29.21 MBAdobe PDFView/Open
Pakdee_ja_ch5.pdf15.71 MBAdobe PDFView/Open
Pakdee_ja_ch6.pdf24.56 MBAdobe PDFView/Open
Pakdee_ja_ch7.pdf17.51 MBAdobe PDFView/Open
Pakdee_ja_back.pdf14.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.