Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29529
Title: การขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึด
Other Titles: A request for the release of the propeerty seized
Authors: ยิ่งลักษณ์ เศรษฐสุวรรณ
Advisors: อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ
พิพัฒน์ จักรางกูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการบังคับคดีเพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ในบางครั้งอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งถูกยึดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อขายทอดตลาดนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น กฎหมายวิธีพิจารณาความจึงเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่ถูกยึดสามารถมาอ้างสิทธิของตนที่มีในทรัพย์สินนั้นร้องขอต่อศาลให้ปล่อยทรัพย์สินดังกล่าวได้ สำหรับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จากการที่ผู้เขียนได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ถึงแนวความคิดและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องการขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดในประเทศไทยพบว่า ในปัจจุบันบทบัญญัติของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องนี้ยังมีข้อบกพร่องและไม่รัดกุมเพียงพอจึงก่อให้เกิดปัญหาขึ้นหลายประการและในปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้ได้มีการรับรู้และการพยายามปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องดังกล่าวให้มีความรัดกุมและสามารถนำไปบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนพบว่ายังมีประเด็นปัญหาบางประการที่สำคัญและยังมิได้มีการพิจารณา เพื่อแก้ไขปรับปรุงอยู่อีกทั้งในปัญหาที่ได้มีการแก้ไขแล้ว ผู้เขียนยังพบว่าอาจก่อให้เกิดปัญหา เมื่อนำมาบังคับใช้ทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ในตอนท้ายของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนได้สรุปการวิเคราะห์ปัญหาในเรื่องการขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดและเสนอแนะแนวทางตลอดจนวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขปัญหาข้างต้น
Other Abstract: Execution of judgements or orders may affect third person’s rights. Especially, in the case that seized property in order to sale by auction by excuting officer does not belong to judgement debtor. Thus the laws of civil procedure provides opportunity for interested third person to file a request with the court in order to release the seized property. In this thesis, the author studies and analizes concepts and criterior related to the request for release of the property seized in Thailand. The study finds that the code’s provisions and their enforcement are defective and so imprecise that they generate many problems. These problems were realized and the attempted for improvement took place. However, this thesis finds that there are some serious problems and recent improvement did not solve those problems, both in theoretical level and in practical enforcement. In the final part of this, thesis the author concludes and proposes the suitable methods and means to solve these problems.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29529
ISBN: 9745799653
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yingluck_se_front.pdf4.64 MBAdobe PDFView/Open
Yingluck_se_ch1.pdf4.35 MBAdobe PDFView/Open
Yingluck_se_ch2.pdf14.61 MBAdobe PDFView/Open
Yingluck_se_ch3.pdf10.87 MBAdobe PDFView/Open
Yingluck_se_ch4.pdf16.1 MBAdobe PDFView/Open
Yingluck_se_ch5.pdf10.11 MBAdobe PDFView/Open
Yingluck_se_back.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.