Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29545
Title: ประโยคเงื่อนไขเพื่อยืนยันในภาษาไทย
Other Titles: Concessive sentences in Thai
Authors: พัชรินทร์ ดวงศรี
Advisors: เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติและจำแนกประโยคเงื่อนไข เพื่อยืนยันในภาษาไทย ตามเกณฑ์วากยสัมพันธ์ และเกณฑ์อรรถศาสตร์ ผลการศึกษาสรุปได้ว่าประโยคเงื่อนไขเพื่อยืนยันในภาษาไทยประกอบด้วย วิเศษณานุประโยค และมุขยประโยค จึงจัดเป็น เป็น สังกรประโยค อย่างไรก็ดี การปรากฏของ แต่ และ ก็ ในประโยคที่วิเศษณานุประโยคนำมุขยประโยค ทำให้ ประโยคเหล่านี้มีลักษณะของอเนกรรถประโยคอยู่ด้วย ประโยคเงื่อนไขเพื่อยืนยันในภาษาไทย สามารถ จำแนกด้วยเกณฑ์ทางวากยสัมพันธ์ได้เป็น 2 ประเภทตามตำแหน่งการปรากฏของวิเศษณานุประโยค คือประเภทที่ 1 ประโยคเงื่อนไขเพื่อยืนยันที่วิเศษณานุประโยคนำหน้า มุขยประโยค และประเภทที่ 2 ประโยคเงื่อนไขเพื่อยืนยันที่วิเศษณานุประโยคตามหลังมุขยประโยค คำเชื่อมในประโยคเงื่อนไขเพื่อยืนยัน สามารถแบ่งได้เป็น คำเชื่อมที่เชื่อม วิเศษณานุประโยคเข้ากับมุขยประโยค และคำเชื่อมนำวิเศษณานุประโยค ประโยคเงื่อนไขเพื่อยืนยันประเภทแรก อาจมีคำเชื่อมระหว่างมุขยประโยคกับ วิเศษณานุประโยคหรือไม่ก็ได้ ส่วนประเภทที่สองนั้น คำเชื่อมระหว่างมุขประโยคและวิเศษณานุประโยคจะไม่ปรากฏ คำเชื่อมนำวิเศษณานุประโยคของทั้งสองประเภทจะปรากฏอยู่เสมอ นอกจากนี้ พบว่าตำแหน่งของ วิเศษณานุประโยค ไม่ทำให้คุณสมบัติทางอรรถศาสตร์ของประโยคเงื่อนไข เพื่อยืนยันเปลี่ยนแปลง ในทางอรรถศาสตร์ องค์ประกอบของประโยคเงื่อนไข เพื่อยืนยันในภาษาไทยมี 2 ส่วนคือ ส่วนแสดงเงื่อนไข และส่วนแสดงการยืนยัน ส่วนแสดงเงื่อนไข จะแสดงโดยวิเศษณานุประโยค มีข้อความแสดงการยอมอ่อนข้อ เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ในส่วนแสดงการยืนยันเกิด ส่วนแสดงการยืนยัน จะแสดงโดย มุขยประโยค มีข้อความค้านความคาดหมายตามเงื่อนไข เงื่อนไขที่แสดงในประโยคเงื่อนไข เพื่อยืนยันจำแนกเป็น 3 แบบ คือเงื่อนไขที่เกิดจริง เงื่อนไขที่ไม่เกิดจริง และเงื่อนไขที่อาจเกิดจริง โดยใช้เกณฑ์ ความหมายของคำเชื่อมนำวิเศษณานุประโยค และความหมายของอนุประโยคในส่วนที่เป็นเงื่อนไข ประโยคเงื่อนไขเพื่อยืนยันในภาษาไทยยังสามารถจำแนกด้วยเกณฑ์อรรถศาสตร์ของคำเชื่อมได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประโยคเงื่อนไขเพื่อยืนยันที่แสดงการยอมให้ด้วยการเจาะจงเงื่อนไขชัดเจน ประโยคเงื่อนไขเพื่อยืนยันที่แสดงการยอมให้โดยมีหลายเงื่อนไขให้เลือก และประโยคเงื่อนไข เพื่อยืนยันที่แสดง การยอมให้โดยบอกเงื่อนไขกว้างๆ
Other Abstract: The objective of tills study is ail analysis of the syntactic and semantic properties of concessive sentences in Thai. A concessive sentence in Thai is composed of an adverbial clause and a main clause. It is classified as a complex sentence, however, the presence of lԑέ and kͻ gives the sentence an added feature of a compound sentence. The two compound connectives only occur when the subordinate clause precedes the main clause. Concessive sentences can be divided syntactically into two types, based on the positioning of the adverbial clause: Type 1 with an adverbial clause preceding the main clause and Type 2 with an adverbial clause following the main clause. Connectives in concessive sentences can be divided into those linking the main clause and the adverbial clause, and those preceding the adverbial clause. In Type 1 concessive sentences, the linking connective is optional but in Type concessive sentences, the linking connective is absent. The position of the adverbial clause does not change the semantic content of the sentence. Semantically, concessive sentences in Thai consist of two parts: the condition and the insistence. The first part, represented in the adverbial clause, supplies the concessional condition offered by the speaker. The second part is represented in the main clause. It supplies the state or the event which counters the natural expectation of the concession. The condition found in concessive sentences can be one of these three types: Israelis condition, realist condition, and potential condition. The classification i ร cased on the semantic content of the connective and the adverbial clause itself. Concessive sentences in Thai can also be divided on semantic basis into three types: definite concessive sentences, disjunctive concessive sentences, and indefinite concessive sentences.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29545
ISBN: 9745839795
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharin_do_front.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open
Patcharin_do_ch1.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
Patcharin_do_ch2.pdf12.02 MBAdobe PDFView/Open
Patcharin_do_ch3.pdf6.31 MBAdobe PDFView/Open
Patcharin_do_ch4.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open
Patcharin_do_ch5.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open
Patcharin_do_back.pdf16.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.