Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29548
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอนันต์ สาระยา
dc.contributor.advisorกัญญา นวลแข
dc.contributor.authorยุพา ผลวิจิตร
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-03-10T08:54:51Z
dc.date.available2013-03-10T08:54:51Z
dc.date.issued2530
dc.identifier.isbn9745675091
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29548
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en
dc.description.abstractหอยนางรมจัดเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ประกอบด้วยสารอาหารและแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย เช่นโปรตีน คาร์โบไฮเดรท แคลเซียม ฟอสฟอรัส เป็นต้น มีรสชาติดี การเลี้ยงทำได้ง่ายทนต่อสภาพแวดล้อมสูง กรมประมงพิจารณาว่าเป็นสัตว์น้ำที่เหมาะสมแก่การสนับสนุนและส่งเสริมให้ราษฎรทำการเลี้ยง เพื่อเป็นการเพิ่มพูนรายได้แก่ราษฎรนอกจากนั้นยังเป็นการหาแหล่งอาหารทดแทนสัตว์น้ำชนิดอื่น การเลี้ยงหอยนางรมมีหลายวิธี เช่นการเลี้ยงแบบแท่งปูน แบบแขวน แบบร้าน แบบใช้ไม้ปักและแบบหว่านบนพื้น เป็นต้น วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเกี่ยวกับต้นทุนและรายได้จากการเลี้ยงหอยนางรมพันธุ์เล็กด้วยวิธีการเลี้ยงแบบแท่งปูน แบบร้านและแบบแขวนซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้เลี้ยงกันในปัจจุบัน การศึกษาเริ่มตั้งแต่การลงทุนเริ่มแรกเลี้ยงจนหอยนางรมโตได้ขนาดที่นำออกมาขายคือมีความยาวประมาณ 6 – 8 เซนติเมตร เขตที่ทำการวิจัยได้แก่บริเวณชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย ประกอบด้วยจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรีและตราด เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีพันธุ์ลูกหอยนางรมเกิดอยู่ตามธรรมชาติประกอบกับราษฎรส่วนมากทำการเลี้ยงในบริเวณนี้ การรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์จากเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยโดยตรง พร้อมแบบสอบถามที่จัดเตรียมไว้ รวมทั้งศึกษาจากเอกสาร บทความและหนังสือเพื่อนำมาสรุปวิเคราะห์สภาพเงินลงทุนเริ่มแรก ต้นทุน รายได้และผลตอบแทนจากการเลี้ยงหอยนางรม รวมทั้งการเปรียบเทียบต้นทุนรายได้ วิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุนของการเลี้ยงหอยนางรมทั้ง 3 วิธี นอกจากนั้นได้ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ของการประกอบอาชีพเลี้ยงหอยนางรม ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดข้อสมมติฐานเพื่อเป็นแนวทางในการวิจัยไว้ 3 ข้อ คือ 1. การเลี้ยงหอยนางรมแบบแท่งปูน แบบร้านและแบบแขวน ประกอบด้วยปัจจัยต้นทุนที่สำคัญที่สุดคือ ค่าวัสดุที่ใช้ในการเลี้ยง 2. ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนด้วยวิธีการเลี้ยงตามที่กล่าวไว้ในข้อ 1 ทุกวิธีไม่มีความแตกต่างกันในนัยที่สำคัญ 3. ปัญหาของการเลี้ยงหอยนางรมคือการขาดความรู้ทางด้านวิชาการในการเลี้ยงหอยที่ถูกวิธี ซึ่งมีผลกระทบต่อปริมาณการผลิต ผลการศึกษาการเลี้ยงหอยนางรมด้วยวิธีการเลี้ยงแบบแท่งปูน แบบร้านและแบบแขวนพบว่าต้นทุนต่อบริเวณเลี้ยง 1 ไร่เท่ากับ 128,856.70 บาทม 225,980 บาท และ 5,197.50 บาทเรียงตามลำดับ รายได้จากการขายหอยนางรมต่อบริเวณเลี้ยง 1 ไร่ เท่ากับ 168,000 บาท, 360,000 บาท และ 8,000 บาทตามลำดับ ระยะเวลาในการเลี้ยงเฉลี่ย 2 ปี สำหรับการเลี้ยงแบบแท่งปูนและแบบร้าน การเลี้ยงแบบแขวนใช้เวลาในการเลี้ยง 8 – 10 เดือน จากการวิเคราะห์หาปริมาณการผลิต ณ จุดคุ้มทุน (จุดเสมอตัว) เท่ากับ 856.64 ปี๊บ (1 ปี๊บมีความจุได้น้ำหนัก 16 -17 กิโลกรัม) ยอดขาย ณ จุดคุ้มทุนเท่ากับ 119,929.60 บาท สำหรับวิธีการเลี้ยงแบบแท่งปูน การเลี้ยงแบบร้านปริมาณการผลิต ณ จุดคุ้มทุนเท่ากับ 1,764.90 กิโลกรัม ยอดขาย ณ จุดคุ้มทุนเท่ากับ 141,192 บาท และปริมาณการผลิต ณ จุดคุ้มทุนสำหรับการเลี้ยงแบบแขวนเท่ากับ 45.05 กิโลกรัม มียอดขาย ณ จุดคุ้มทุนเท่ากับ 3,604 บาท นอกจากนี้การเลี้ยงหอยนางรมยังแสดงอัตราผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากการลงทุน คือ 40.38 เปอร์เซ็นต์, 66.36 เปอร์เซ็นต์ และ 89.57 เปอร์เซ็นต์ เรียงตามลำดับด้วยวิธีการเลี้ยงแบบแท่งปูน แบบร้านและแบบแขวน แต่อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงหอยนางรมจะมีประสิทธิผลสูงสุดถ้าเกษตรกรเลี้ยงหอยนางรมอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่นการวางหลักเลี้ยงหอยนางรมที่หนาแน่นเกินไป มีผลทำให้หอยนางรมได้รับอาหารไม่ทั่วถึง หอยโตได้ขนาดที่นำออกขายล่าช้า เป็นต้น ปัญหาที่พบในการเลี้ยงหอยนางรม คือปัญหาเรื่องพันธุ์หอย ปัญหาเงินลงทุน ตลอดจนปัญหาด้านการตลาดและการขาดแคลนวัสดุบางอย่างที่ใช้ประกอบในการเลี้ยง ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา กล่าวคือ รัฐบาลควรสนับสนุนการเลี้ยงหอยนางรมในด้านความรู้ทางวิชาการ และการจัดตั้งกลุ่มทำฟาร์มเลี้ยงหอยนางรม เพื่อช่วยเหลือเกษตรในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านจัดหาพันธุ์หอย ด้านสินเชื่อ ด้านจัดซื้อวัสดุที่ใช้ในการเลี้ยงและด้านวิชาการ ตลอดจนควบคุมปริมาณการผลิตที่ไม่เกินความต้องการของตลาด นอกจากนี้ควรมีการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ เอกชนและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างรอบคอบและเด็ดขาดในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ผลที่ได้จากการวิจัยดังกล่าวข้างต้น อาจจะเป็นแนวทางนำไปสู่การเลี้ยงหอยนางรมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต เพื่อเกษตรกรจะได้สามารถประกอบเป็นอาชีพหลักต่อไป
dc.description.abstractalternativeOyster (Crassostrea Commercialis) is the nutritive food. One of the nutritive food is oyster which is composed of the necessary for the body such as protein, Carbohydrate, Calcium and phosphorus etc. Besides its taste, culturing oyster is easy as oyster can improve to the environment and resistance. The Department of Fisheries have discussed it and agreed that supporting the farmers in culturing oyster should be done. The objective of supporting is to increase farmer’s revenues and to create food for other marine lifes. There are several methods in culturing these oyster, for example, stake culture, raft culture, rack culture, stick culture and bottom culture etc. The objective of the study is to estimate the cost and revenue of culturing oyster with the stake culture, raft culture and rack culture. These three methods are the preferred methods of culturing oyster at present. The study started from the initial stage until the oyster grew to the marketable size between 6-8 centimetre. The Eastern coast of Thailand, i.e. Chonburi, Rayong, Chantaburi and Trat was selected as the study area because the seed oyster was naturally borned here and most of the farmers culturing oyster in this area. The data were collected by interview oyster’s farmers directly by using questionnaires and compiled from the researchers also studied: journals and textbooks to analyze the initial investment, operating cost, revenue and the benefits derived from each method. Investment, revenues, and benefits and break-even point of the three culturing oyster methods were compared. Problems in these culturing methods were also studied. The hypotheses of the thesis are as follow: - 1. The most important factor of the cost of culturing oyster was the cost of supplies. 2. Costs and benefits of the three methods in the culturing oyster are not materially different. 3. Problems encountered in culturing oyster inadequate which technological knowledge affects quantity of production. From the study it was found that the cost of oyster culturing in an area of 1600 square metres for stake culture, raft culture and rack culture were 128,856.70 Baht, 225,980 Baht and 5,197.50 Baht respeltively, while revenues for three methods were 168,000 Baht, 360,000 Baht and 8,000 Baht respectively the culture period for the stake culture and raft culture was two years while that for the rack culture was between 8-10 months. At the selling price of 140 Baht per unit (one unit contains 16-17 Kilograms) the break-even point for stake culture was 856.64 units; at the selling price of 80 Baht per kilogramme the break-even point for the raft culture was 1,764.90 kilogrammes, and at the selling price of 80 Baht per kilogramme the break-even point for the rack culture was 45.05 kilogrammes The rates of return on investment of the three methods of culturing oyster were 40.38 percent, 66.36 percent and 89.57 percent respectively. This meant that culturing oyster would be more successful if oyster farmers had a good technical knowledge of culturing oyster. The difficulties encountered by oyster’s farmers in this study were the problems of seed oyster, the problem of investment capital, the marketing problem and the lack of essential supplies in the culturing oyster. Recommendations in solving the problems are: - government’s supporting in technical knowledge, organizing oyster farmers’ group in order to ensure seed oyster supply, to obtain facility in credit growing, buying supplies and controlling the quanlity of oyster’s production to suit the market. Furthermore, there should be a good co-operation among government, private concerns and all related person in combating against pollution problems. The such joint efforts should lead to more efficiency in culturing oyster so that it can become main occupation for oyster farmers in the future.
dc.format.extent14863385 bytes
dc.format.extent12432221 bytes
dc.format.extent18354731 bytes
dc.format.extent19303559 bytes
dc.format.extent52142896 bytes
dc.format.extent13562948 bytes
dc.format.extent29585686 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการเลี้ยงหอยนางรมพันธุ์เล็ก ตามชายฝั่งทางภาคตะวันออกของประเทศไทยen
dc.title.alternativeA comparative study on cost and return on investment of crassostrea commercialis culture along the eastern coast of Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบัญชีes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yubha_ph_front.pdf14.52 MBAdobe PDFView/Open
Yubha_ph_ch1.pdf12.14 MBAdobe PDFView/Open
Yubha_ph_ch2.pdf17.92 MBAdobe PDFView/Open
Yubha_ph_ch3.pdf18.85 MBAdobe PDFView/Open
Yubha_ph_ch4.pdf50.92 MBAdobe PDFView/Open
Yubha_ph_ch5.pdf13.25 MBAdobe PDFView/Open
Yubha_ph_back.pdf28.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.