Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29551
Title: ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย พ.ศ.2475-พ.ศ.2516
Other Titles: Thai historiography 1932-1973
Authors: ยุพา ชุมจันทร์
Advisors: ธิดา สาระยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในกระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์นิพนธ์เป็นแกนกลางสำคัญอันหนึ่งควบคู่ไปกับปรัชญาประวัติศาสตร์ ในขณะที่ปรัชญาประวัติศาสตร์มีบทบาทในฐานะแนวคิดอุดมการณ์ ประวัติศาสตร์นิพนธ์ได้มีบทบาทสำคัญในการแปรแนวคิด อุดมการณ์นั้นออกมาเป็นปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานทางประวัติศาสตร์ พร้อมกันนั้นประวัติศาสตร์นิพนธ์ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นระบบ อันจะส่งผลต่อเนื่องถึงพัฒนาการของการศึกษาประวัติศาสตร์ด้วย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ในช่วง พ.ศ. 2475 – 2516 เพื่อวิเคราะห์หาแนวการเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ ทั้งกระแสหลักและกระแสรองอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นโดยการศึกษาจากงานเขียนประวัติศาสตร์ไทยที่เขียนขึ้น พิมพ์เผยแพร่ และมีบทบาทอยู่ในช่วงเวลาที่ศึกษา เนื่องจากประวัติศาสตร์นิพนธ์เป็นรูปการแสดงออกทางภูมิปัญญารูปการหนึ่งของสังคม ซึ่งเกิดขึ้นอย่างมีปฏิสัมพันธ์กับเงื่อนไขปัจจัยแวดล้อม การศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยจึงจำเป็นต้องศึกษาเงื่อนไขทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาควบคู่กันไปด้วย ผลของการศึกษาพบว่า ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกระแสหลักคือ ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยที่เน้นความเป็นศูนย์กลางที่รัฐชาติ-กษัตริย์-ชาตินิยม ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างสืบเนื่องมาจากประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยแบบพงศาวดาร ในเวลาเดียวกัน ก็เกิด ประวัติศาสตร์นิพนธ์กระแสรองคือ ประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่ใช้แนวการวิเคราะห์แบบสังคมนิยมพัฒนาการของประวัติศาสตร์นิพนธ์ทั้งสองกระแสได้นำไปสู่การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยภายหลังปี พ.ศ. 2516 ยังคงมีแนวการเขียนประวัติศาสตร์ทั้งสองกระแสนี้ดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน
Other Abstract: Historiography, along with the philosophy of history, is the essential core of historical study. While the latter acts as the ideological foundation, the former helps to realize that ideology into concrete historical writings. Besides, historiography is also the important means of the well-organized and systematic historical study which enhances the development of the subject as a whole. The thesis describes Thai historiography during 1932-1973. Collecting data from various Thai historical writings published and playing an important role during that period, the author analyses the method, characteristics and style of the mainstream and other schools of Thai historiography. Moreover, since historiography is but one form of social intellect which interacts relatively with other social conditions, the economic, political as well as other cultural backgrounds are also closely scrutinized. The author finds out that the mainstream of Thai historiography is the one that was centralized on nation-state, kingship and/or nationalism which nevertheless has continuously developed from the former chronicle tradition. At the same time, there emerged the other school of historiography which has adopted socialist methodology. Development of both schools of historiography has led to the characteristics and style of Thai Historiography after 1973, although both the former lines of approach are still prominent at the present period.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29551
ISBN: 9745678686
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yupa_ch_front.pdf9.6 MBAdobe PDFView/Open
Yupa_ch_ch1.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open
Yupa_ch_ch2.pdf7.76 MBAdobe PDFView/Open
Yupa_ch_ch3.pdf49.73 MBAdobe PDFView/Open
Yupa_ch_ch4.pdf78.6 MBAdobe PDFView/Open
Yupa_ch_ch5.pdf37.43 MBAdobe PDFView/Open
Yupa_ch_ch6.pdf4.62 MBAdobe PDFView/Open
Yupa_ch_back.pdf14.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.