Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29579
Title: | โครงสร้างป่าชายเลนบริเวณอำเภอเมืองและอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง |
Other Titles: | Structyues of the mangrove forests at Amphoe Mung and Ampohe Kapoe Changwat Ranong |
Authors: | พัชรี เอี่ยมผา |
Advisors: | สนิท อักษรแก้ว อมร อุบลชลเขตต์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาลักษณะโครงสร้างป่าชายเลนบริเวณที่มีการทำเหมืองแร่และบริเวณป่าชายเลนธรรมชาติที่ไม่มีการทำเหมืองแร่ ได้ดำเนินการวิจัยที่อำเภอเมืองและอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ตามลำดับ โดยจุดประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบโครงสร้างในลักษณะต่างๆของป่าชายเลนในบริเวณทั้งสองโดยเน้นลักษณะเกี่ยวกับชนิดของพันธุ์ไม้ แนวเขตของพันธุ์ไม้ ความหนาแน่นของพันธุ์ไม้ ปริมาตรของไม้ สภาพการสืบพันธุ์และความหลากชนิดพันธุ์ไม้ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาปัจจัยแวดล้อมโดยเฉพาะสมบัติของดินและน้ำบางประการอีกด้วย จากการศึกษาพบว่า ชนิดของพันธุ์ไม้ของป่าชายเลนบริเวณที่ทำเหมืองแร่มีน้อยกว่าบริเวณป่าชายเลนธรรมชาติ และความหนาแน่นของพันธุ์ไม้และปริมาตรของไม้พบว่าในป่าชายเลนธรรมชาติมีมากกว่าบริเวณป่าชายเลนที่มีการทำเหมืองแร่ ในด้านการสืบพันธุ์ ในบริเวณที่มีการทำเหมืองแร่มีการสืบพันธุ์ดีกว่าในป่าชายเลนธรรมชาติ ความหลากของพันธุ์ไม้ในพื้นที่ป่าชายเลนที่มีเหมืองแร่มีค่าสูงกว่าในพื้นที่ป่าชายเลนธรรมชาติ สำหรับลักษณะโครงสร้างของป่าชายเลนในบริเวณใกล้กับพื้นที่มีการทำเหมืองแร่และห่างไกลออกไปจะพบว่าปริมาตรไม้มีมากในบริเวณป่าชายเลนที่อยู่ไกลจากที่ทำเหมืองแร่ แต่ชนิดของพันธุ์ไม้การสืบพันธุ์และความหลากของชนิดพันธุ์ไม้มีมากในพื้นที่ใกล้กับบริเวณทำเหมืองแร่ ส่วนป่าชายเลนในบริเวณใกล้แผ่นดินใหญ่และห่างออกไปจนใกล้ทะเลลักษณะโครงสร้างของป่าใกล้เคียงกัน ความแตกต่างในเรื่องของลักษณะประจำของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดและปัจจัยสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสมบัติของดิน น้ำทะเล ระดับน้ำขึ้นน้ำลง กำลังแรงของลมและคลื่นของน้ำทะเล |
Other Abstract: | The structural characteristics of the mangrove forest in the vicinity of mining areas and the natural mangrove forest were studied at Amphoe Muang and Amphoe Kaphoe, Changwat Ranong respectively. The study aims at the comparison on the mangrove structure of both area particularly in terms of floristic composition species zonation, species density, stand volume, regeneration and species diversity. The environmental factors especially soil and water properties are recorded. The results indicate that the floristic composition in the vicinity of mining areas is less abundant than in the natural mangrove formation. The species density and species diversity as well as stand volume of the disturbed mangrove forest are higher than natural mangrove formation. However, the rate of regeneration in the vicinity of mining area is higher than most of in the natural mangrove forest. The differentiation in the structural characteristics of the mangroves in some areas as resulted in the various floristic compositions and 20nation are determined by the environmental factors such, as frequency of tidal flooding, soil type, salinity of the soil, salinity of water, nature of wind and wave as well as the biotic pressures of human activities. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พฤกษศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29579 |
ISBN: | 9745620866 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Patcharee_ia_front.pdf | 2.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharee_ia_ch1.pdf | 6.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharee_ia_ch2.pdf | 3.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharee_ia_ch3.pdf | 7.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharee_ia_ch4.pdf | 11.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharee_ia_ch5.pdf | 2.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharee_ia_back.pdf | 2.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.