Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29580
Title: ครูและหลักธรรมของครูตามแนวพุทธปรัชญา
Other Titles: Teachers and dhamma for teachers in buddhist philosophy
Authors: พัชรี แสงนิล
Advisors: รัตนา ตุงคสวัสดิ์
พระราชธรรมนิเทศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับครูและหลักธรรมสำหรับครูตามแนวพุทธปรัชญา โดยใช้การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์พระไตรปิฎก และข้อ เขียนต่างๆ ของผู้ทรงคุณวุฒิทางพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดของพุทธปรัชญาตั้งอยู่บนพื้นฐานของสัจธรรม มีจุดสนใจอยู่ที่การพัฒนาคนและการรู้เท่าทันธรรมชาติอันแท้จริงของมนุษย์จึงมีแนวคิดและวิธีการที่สอดคล้องกับความ เป็นจริงในชีวิตของบุคคลและสังคม สามารถนำหลักการมาประยุกต์ใช้กับครูซึ่งมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการพัฒนาบุคคลและสังคมได้อย่างเหมาะสมผู้วิจัยพยายามชี้ให้เห็นว่า ครูในทัศนะพุทธปรัชญาควรเป็นผู้ที่รู้จักฝึกอบรมตนเองให้ถึงพร้อมด้วย วิชชาและจรณะ คือเป็นผู้มีคุณธรรม มีความรู้ดี ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้และความดี ในด้านการสอนตามแนวพุทธปรัชญานั้น ศึกษาจากวิธีการสอนของพระพุทธองค์เป็นหลัก พบว่าทรงใช้วิธีสอนแบบบรรยาย แบบตอบปัญหา แบบอุปมาอุปมัย (เปรียบเทียบ) แบบการสนทนา (ปุจฉาวิสัชนา) สอนด้วยหลักการแก้ปัญหา สอนให้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและทำตัวอย่างให้ดู เป็นส่วนใหญ่ กล่าวโดยสรุปแล้ววิธีสอนตามแนวพุทธปรัชญาไม่ยึดมั่นอยู่กับรูปแบบการสอนใดๆ โดย เฉพาะแต่มุ่งเน้นผลการสอนที่นำผู้ เรียนไปสู่สัมมาทิฐิได้ สำหรับหลักธรรมในการพัฒนาตนของครู เป็นหลักธรรมที่ส่ง เสริมคุณภาพของครูในด้านคุณธรรม ความรู้ และวิชาการให้สามารถทำหน้าที่ครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ สัปปุริสธรรม 7 อารยวัฒิ 5 อิทธิบาท 4 ขันติโสรัจจะ สัมมาทิฐิ และพรหมวิหาร 4 ส่วนหลักธรรมในการดำเนินชีวิตของครูเป็น หลักธรรมที่ส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ สังคหวัตถุ 4 ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ และหลักสันโดษ แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับครูในทรรศนะของพุทธปรัชญา มีความ เป็นสากลสามารถนำมาประ ยุกต์ใช้กับผู้ทำหน้าที่ครูได้ทุกประ เภท
Other Abstract: The main purposes of this study were to investigate and analyze the concepts about teachers and Dhamma for teachers in Buddhist Philosophy, using Phra Tripitaka and various articles of Buddhist literate men as sources of information. This study found that Buddhist Philosophy is based on the truth about human development and understanding of the nature of life. The concepts and methods were accorded with the truth of human lives and society which could be suitably adapted to be used by teachers who have much influence upon the social development. The researcher tried to point out that teachers according to Buddhist Philosophy should be regularly conscientious in training themselves with Vijja and Carana. They should be virtuous, well-knowledgeable and able to transfer their knowledge and good conduct to their students. The Methods of teaching in Buddhist Philosophy were analyzed from the Lord Buddha's teaching and found that the Methods he used were Lecturing Method, Answer problems teaching, Analogy Method, Answer question Method, Problem-solving Method, Learning by direct experience teaching, and Expository teaching. Buddhist Philosophy did not concentrate to any methods but it accurately emphasized on the result of teaching which could lead the students to the Right view.The Dhamma for self-development was the Dhamma which promoted the quality of teachers in the matter of virtue and knowledge in order that teachers be efficient. They were such as Sappurisadhamma, Ariyavaddhi 5, Iddhipada 4, Khanti-Soracca, Sammaditthi and Brahmavihara 4 and the Dhamma for conducting the way of life which was the principle to support the economic and social stability were such as Sangahavatthu 4, Ditthadhammikatha and Santosa.These Buddhist Philosophy line of thought and principles about teachers are universal in nature. All of them can be applied to be used by teachers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สารัตถศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29580
ISBN: 9745877183
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharee_se_front.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_se_ch1.pdf6.15 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_se_ch2.pdf11.53 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_se_ch3.pdf28.32 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_se_ch4.pdf13.11 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_se_ch5.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_se_back.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.