Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29588
Title: การเตรียมวัสดุดูดซับน้ำโดยการกราฟต์ฟางข้าวด้วยกรดอะคริลิกโดยการฉายรังสีแกมมา
Other Titles: Preparation of water absorbing material from grafting of acrylic acid onto rice straw by gamma irradiation
Authors: อนุรัตน์ โพธิ์หล้า
Advisors: ดุลยพงศ์ วงศ์แสวง
ปรารถนา คิ้วสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: doonyapo@berkeley.edu
prartanakewsuwan@gmail.com
Subjects: การดูดซึม
น้ำ -- การดูดซึมและการดูดซับ
โพลิเมอร์
โพลิเมอไรเซชัน
กราฟต์โคโพลิเมอร์
รังสีแกมมา
วัสดุปลูกพืช
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้ทำการเตรียมวัสดุดูดซับน้ำ โดยการกราฟต์ฟางข้าวด้วยกรดอะคริลิก โดยการฉายรังสีแกมมา ตัวแปรหลักที่ทำการศึกษาได้แก่ ความเข้มข้นของมอนอเมอร์ ปริมาณฟางข้าว และปริมาณรังสี สภาวะที่เหมาะสมที่สุดต่อการเกิดปฏิกิริยากราฟต์โคพอลิเมอรไรเซชันกรดอะคริลิกกับฟางข้าว คือ สารละลายกรดะคริลิก 10 เปอร์เซ็นต์กับฟางข้าว 10 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ที่ปริมาณรังสี 10 กิโลเกรย์ สภาวะดังกล่าวให้ค่าการดูดซับน้ำเท่ากับ 8069 เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นการกราฟต์เท่ากับ 43.46 เปอร์เซ็นต์ และเวลาในการดูดซับน้ำเต็มที่เท่ากับ 540 นาที ได้ทำการวิเคราะห์สมบัติของโคพอลิเมอร์ด้วยเทคนิค Fourier transform infrared (FTIR) spectroscopy การศึกษาการโหลดปุ๋ย และการปลดปล่อยปุ๋ย จากการโหลดปุ๋ยยูเรียของวัสดุดูดซับน้ำ ทำการทดสอบโดยแช่วัสดุดูดซับน้ำในสารละลายยูเรีย 10 เปอร์เซ็นต์ พบว่าวัสดุดูดซับน้ำจะดูดซับปุ๋ยยูเรียได้ดีมากคือ 796 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการปลดปลดปล่อยยูเรียหาได้จากการแช่วัสดุดูดซับน้ำในน้ำกลั่นพร้อมกับการกวนอย่างช้าๆ แล้วดูดสารละลายออกมาเป็นช่วงๆ และวัดความเข้มข้นของยูเรียโดยเครื่องวัดการดูดกลืนแสงเพื่อพิสูจน์ ที่ 440 นาโนเมตร พบว่าปริมาณการปลดปล่อยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปจนถึงระยะเวลาหนึ่งปริมาณการปลดปล่อยจะสูงสุดและจะเริ่มคงที่ ปริมาณการปลดปล่อยของยูเรียคือร้อยละ 89.00 ที่เวลา 12 ชั่วโมง การศึกษาการเสื่อมสลายของวัสดุดูดซับน้ำในดิน ศึกษาที่เวลาต่างๆ พบว่าวัสดุดูดซับน้ำสามารถอยู่ได้นานโดยที่ยังไม่เสื่อมสลายหมด จากการทดลองใช้เวลาในการเสื่อมสลายมากกว่า 2 เดือน
Other Abstract: Water absorbing material from grafting of acrylic acid onto rice straw (rice straw-g-acrylic) was prepared by gamma irradiation. Major parameters studied were monomer concentration, rice straw content and total dose. The optimum condition for graft copolymerization reaction of acrylic acid onto rice straw was 10 % acrylic acid solution with 10 % rice straw (w/w) and 10 kGy of radiation. Under this condition, the swelling of rice straw-g-acrylic was 8069 %, the degree of grafting of rice straw-g-acrylic was 43.46 %, and the equilibrium water absorbency was 540 minutes. Properties of graft copolymer were analyzed using Fourier transform infrared (FTIR) spectroscopy technique. Fertilizer loading and release characteristics were studied. An experiment was done to allow the water absorbing material to absorb urea fertilizer by dipping the material in 10 % aqueous urea solution. The material exhibited outstanding urea loading of 796 %. The release of urea was determined by immersing samples in distilled water with slow agitation, and then pipetting out at desired intervals. The concentration of urea was determined by UV-Vis spectrophotometer at 440 nm. It was found that the release amount increased with time until it reached a maximum value and became constant. The 89.00 % release of urea was found at 12 hours. The degradation of water absorbing material in soil was studied. The material exhibited exceptional durability with more than 2 months without complete degradation.
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29588
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1044
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1044
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
anurat_po.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.