Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29594
Title: การเปลี่ยนแปลงการทำงานของหัวใจ และความหนาของผนังหลอดเลือดแดงในหนูแรท ที่เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานหลังการให้ซิลาซาพริลขนาดต่างๆ
Other Titles: Changes of cardiovascular functions and arterial wall thickness in induced diabetic rats after varying doses of cilazapril treatments
Authors: พัฒนา สุขวุ่น
Advisors: สุทธิลักษณ์ ปทุมราช
วสันต์ อุทัยเฉลิม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของชิลาซาพริลในปริมาณต่าง ๆ กันคือ 2, 5, 5, 10 และ 20 มก./กก. นน./วันต่อการเปลี่ยนแปลงการทำงานของหัวใจ และหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ ในหนูแรทที่ถูกทำให้เป็นเบาหวานด้วยสเตรปโตโซโตชิน (65 มก./กก.นน.) โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม (N=14), กลุ่มเบาหวาน (N=14) และหนูกลุ่มเบาหวานที่ได้รับยาชิลาซาพริลในขนาดต่าง ๆ ดังกล่าวจำนวน 4 กลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า หนูกลุ่มเบาหวานมีค่าความดันเลือดทั้งซิสโตลิค และไดแอสโตลิค, อัตราส่วนระหว่างน้ำหนักหัวใจต่อน้ำหนักตัวหนู และแรงการหดตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายแบบไอโซโทนิค ในช่วงระยะเวลา 8 และ 16 สัปดาห์ มีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วนอัตราการเต้นของหัวใจของหนูกลุ่มเบาหวานที่ 8 และ 16 สัปดาห์มีค่าลดลง แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มควบคุม ผลการศึกษาของการใช้ชิลาซาพริลครั้งนี้พบว่า สามารถลดหรือป้องกันความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ และหลอดเลือดในหนูเบาหวานดังกล่าวมาแล้วได้ นอกจากนั้นผลการศึกษาทางพยาธิสภาพโดยกล้องอิเลคตรอนไมโครสโคปของผนังหัวใจห้องล่างซ้าย, หลอดเลือดโคโรนารีย์ และเอออร์ตา สังเกตได้ว่าที่ 16 สัปดาห์หลังจากฉีดสเตรปโตโซโตซินมีความหนาของหัวใจห้องล่างซ้ายเพิ่มขึ้นและเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดเลือดโคโรนารีย์ของหนูกลุ่มเบาหวานมีขนาดเล็กกว่าหนูกลุ่มเบาหวานที่ให้ชิลาซาพริลทุกขนาดยาอย่างชัดเจน สำหรับผลทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุม และกลุ่มเบาหวานที่ได้รับชิลาซาพริลทั้ง 4 กลุ่ม พบว่า ค่าอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักหัวใจต่อน้ำหนักตัวหนู, อัตราการไหลเวียนของเลือดในเอออร์ตา และความดันชีสโตลิค และไดแอสโตลิคที่เพิ่มขึ้นในหนูเบาหวาน สามารถป้องกันได้ ถึงแม้ว่าจะใช้ขนาดยาที่ต่ำ คือ 2.5 มก./กก.นน./วัน ดังนั้นชี้ให้เห็นว่าน่าจะทดลองขนาดยาที่ต่ำกว่า 2.5 มก./กก.นน./วัน ในอนาคต ส่วนค่าอัตราการไหลเวียนของเลือดในโคโรนารีย์ และการหดตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายแบบไอโซโทนิค พบว่าขนาดของยาสูงสุดคือ 20 มก./กก.นน./วัน ยังไม่สามารถเพิ่มได้เท่ากับกลุ่มควบคุม ดังนั้นผลการวิจัยครั้งนี้โดยใช้ชิลาซาพริลในขนาดต่าง ๆ ชี้ให้เห็นว่า แองจิโอเทนซิลทูก่อให้เกิดความผิดปกติต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดโดยผ่านทางผลกระทบของความดันโลหิตสูงและโทรฟิคเอฟเฟค
Other Abstract: This study is to evaluate the effects of various doses of cilazaprill; 2.5, 5, 10 and 20 mg/kg.bw/day; on changes of cardiovascular functions and on structural changes of intramural coronary arteries using streptozotocin (STZ; 65 mg/kg.bw;ip) induced diabetic rats. Hearts were obtained from controls (N=14), STZ (N=14) and 4 groups of different doses of cilaapril-treated STZ rats (N=56). The results indicated that at 8 and 16 weeks after STZ injection: systolic and diastolic blood pressure, ratio of heart weight per body weight, aortic and coronary flow rate and left ventricular isotonic contraction assessed for STZ were significantly different from those of controls (p<0.05). Heart rate of STZ at 8 and 16 weeks were decreased but not significant from controls (P<0.05). The results of cilazapril-treated STZ indicated that cilazapril could attenuate and/or prevent those abnormalities of cardiovascular functions. Besides, the results of pathological studies using scanning electron microscope of left ventricular wall and intramural coronary arteries showed that at 16 weeks after STZ injections, thickness of left ventricular wall and diameter of coronary arterial lumen of STZ were less than those of cilazapril-treated STZ rats. The results of statistical analysis between controls and four cilazapril-treated STZ groups indicated that the increase of ratio of heart weight per body weight, aortic flow rate and systolic and diastolic blood pressure assessed from STZ could be prevented by the minimum does of 2.5 mg/kg.bw/day. Therefore, it is suggested that the does less than 2.5 mg/kg.bw/day might be used in the future. Whereas, the result of coronary flow rate and left ventricular isotonic contractions indicated that the highest dose of 20mg/kg.bw/day could not normalize to control condition. Therefore, the results of these study using the various doses implied that ANG-II might cause cardiovascular complications in diabetes through both effects of hypertension and trophic effect.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สรีรวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29594
ISBN: 9746323121
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattana_su_front.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open
Pattana_su_ch1.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open
Pattana_su_ch2.pdf3.32 MBAdobe PDFView/Open
Pattana_su_ch3.pdf16.19 MBAdobe PDFView/Open
Pattana_su_ch4.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open
Pattana_su_ch5.pdf515.17 kBAdobe PDFView/Open
Pattana_su_back.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.