Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29723
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เมธินี วณิกกุล | - |
dc.contributor.author | อมรา กุลวรเศรษฐ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2013-03-13T05:37:49Z | - |
dc.date.available | 2013-03-13T05:37:49Z | - |
dc.date.issued | 2527 | - |
dc.identifier.isbn | 9745635073 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29723 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 | en |
dc.description.abstract | อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าที่สำคัญอุตสาหกรรมหนึ่ง ซึ่งผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ ปัจจุบันมีผู้ประกอบการผลิตภายในประเทศรวม 4 ราย โดยมีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 15,000,000.- บาท ถึง 40,000,000.- บาท อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เงินทุนสูงและต้องใช้เทคนิคในการผลิตสูงด้วย ดังนั้นการลงทุนส่วนใหญ่จึงต้องเป็นการร่วมลงทุนกับชาวต่างประเทศ ด้านการตลาดของอุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์นั้นมีการแข่งขันกันในระหว่างผู้ผลิตภายในประเทศด้วยกันเอง เนื่องจากรัฐบาลได้ประกาศห้ามนำเข้าเครื่องสุขภัณฑ์จากต่างประเทศ ยกเว้นอ่างอาบน้ำ เพราะรัฐบาลเห็นว่าปริมาณการผลิตภายในประเทศมีปริมาณเพียงพอที่จะสนองความต้องการภายในประเทศแล้ว ส่วนการส่งออกของเครื่องสุขภัณฑ์ที่ผลิตจากภายในประเทศนี้ยังนับว่ามีการส่งออกน้อย แต่ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นตามลำดับ ในด้านต้นทุนการผลิต ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อต้นทุนการผลิตมากที่สุดคือค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและไฟฟ้า ดังนั้นในการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันและกระแสไฟฟ้าแต่ละครั้งจะมีผลกระทบกระเทือนต่อต้นทุนการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์เป็นอย่างมาก การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินของบริษัทต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์ภายในประเทศปรากฏว่าบริษัท เครื่องสุขภัณฑ์อเมริกันสแตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด มีสมรรถภาพในการหากำไรและมีสมรรถภาพในการดำเนินงานดีที่สุด แต่บริษัทไทยอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาจำกัด กลับมีสภาพคล่องดีที่สุดในขณะที่สภาพเสี่ยงของบริษัทก็อยู่ในระดับต่ำที่สุดด้วย ส่วนบริษัทผลิตภัณฑ์กระเบื้องดินเผา จำกัด นั้นมีสภาพคล่อง สมรรถภาพในการหากำไร และสมรรถภาพในการดำเนินงานต่ำที่สุด ในขณะเดียวกันสภาพเลี่ยงของบริษัทก็อยู่ในระดับสูงที่สุดด้วย และจากการวิเคราะห์ถึงฐานะทางการเงินของกิจการที่มีชาวต่างชาติร่วมลงทุนเปรียบเทียบกับกิจการที่ลงทุนโดยคนไทยทั้งหมด ปรากฏว่ากิจการที่มีชาวต่างชาติร่วมลงทุนมีฐานะทางการเงินดีกว่ากิจการที่ลงทุนโดยคนไทยทั้งหมด เนื่องจากกิจการที่มีชาวต่างชาติร่วมลงทุนมีสภาพคล่องสมรรถภาพในการหากำไร และสมรรถภาพในการดำเนินงาน ดีกว่ากิจการที่ลงทุนโดยคนไทยทั้งหมด ในขณะที่สภาพเลี่ยงของกิจการที่มีชาวต่างชาติร่วมลงทุนก็อยู่ในระดับต่ำกว่าสภาพเลี่ยงของกิจการที่ลงทุนโดยคนไทยทั้งหมดด้วย และเมื่อพิจารณาโดยส่วนรวมแล้ว อาจกล่าวได้ว่าฐานะทางการเงินของอุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์อยู่ในเกณฑ์ที่ดี เนื่องจากมีสภาพคล่องสูง ให้ผลตอบแทนค่อนข้างดี ในขณะที่สภาพเลี่ยงไม่สูงมากนัก และยังมีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้นอีกด้วย การวิเคราะห์โครงสร้างทางการเงินและงบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุน ปรากฏว่าโครงสร้างทางการเงินของบริษัท เครื่องสุขภัณฑ์อเมริกันสแตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด ในช่วงปี 2519-2522 ประกอบด้วยทุนที่มาจากหนี้สินระยะสั้นเป็นส่วนใหญ่ แต่ปี 2524 กลับปรากฏว่าเงินทุนส่วนใหญ่มาจากกำไรสะสมของบริษัท ส่วนบริษัท อาร์มิเทจแชงค์ส (กรุงเทพฯ) จำกัด นั้นในช่วงปี 2519-2521 จัดหาเงินทุนส่วนใหญ่มาจากหุ้นสามัญ แต่ปี 2522-2524 ทางบริษัทกลับจัดหาเงินทุนส่วนใหญ่มาจากการกู้ยืมระยะสั้น สำหรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัท ไทยอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา จำกัด ในช่วงปี 2519-2524 ปรากฏว่ามากกว่าร้อยละ 70 ของเงินทุนทั้งหมดได้มาจากหุ้นสามัญและโครงสร้างทางการเงินของบริษัทผลิตภัณฑ์กระเบื้องดินเผา จำกัด ในช่วงปี 2519-2522 นั้น ประกอบด้วยเงินทุนที่มาจากการกู้ยืมระยะยาวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของเงินทุนทั้งหมด แต่ปี 2523-2524 บริษัท ผลิตภัณฑ์กระเบื้องดินเผา จำกัด กลับจัดหาเงินทุนมาจากหนี้สินระยะสั้นเป็นส่วนมาก เมื่อพิจารณาโครงสร้างทางการเงินโดยเฉลี่ยในช่วงปี 2519-2524 ของกิจการที่มีชาวต่างชาติร่วมลงทุน และของกิจการที่ลงทุนโดยคนไทยทั้งหมดปรากฏว่า กิจการที่มีชาวต่างชาติร่วมลงทุนมีเงินทุนส่วนใหญ่มาจากหุ้นสามัญ ในขณะที่กิจการที่ลงทุนโดยคนไทยทั้งหมดมีเงินทุนส่วนใหญ่มาจากหนี้สินระยะยาว เมื่อพิจารณาโดยส่วนรวมปรากฏว่าในช่วงปี 2519-2524 โครงสร้างทางการเงินของอุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์โดยเฉลี่ยประกอบด้วยทุนที่มาจากหนี้สินระยะสั้นเป็นส่วนมาก และจากการวิเคราะห์งบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุน ปรากฏว่าช่วงปี 2519-2521 อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์ได้มีการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะยาวไปใช้ลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน ส่วนช่วงปี 2521-2522 กลับนำเงินทุนจากแหล่งระยะสั้นไปใช้ลงทุนในสินทรัพย์ถาวร จากผลการศึกษาอาจสรุปได้ว่า ปัญหาของอุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์ คือ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นทุกขณะ ซึ่งการแก้ปัญหาเรื่องการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตนี้ทำได้ยาก เนื่องจากมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งได้แก่การขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ไฟฟ้า ค่าวัตถุดิบ และค่าแรงงาน เป็นต้น ผู้ผลิตจึงควรปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งก็อาจจะช่วยผ่อนคลายปัญหาการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตได้ ส่วนปัญหาทางการเงินของอุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์ก็คือนโยบายการจัดหาเงินทุนของอุตสาหกรรมนี้ไม่สอดคล้องกับอายุการใช้งานของสินทรัพย์ โดยบางปีได้นำเงินทุนจากแหล่งระยะยาวไปใช้ลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน และบางปีก็ได้นำเงินทุนจากแหล่งระยะสั้นไปใช้ลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ดังนั้นจึงควรแก้ไขปัญหาทางการเงินนี้โดยควรปรับปรุงนโยบายการจัดหาเงินทุนให้สอดคล้องกับอายุการใช้งานของสินทรัพย์ โดยการนำเงินทุนจากแหล่งระยะสั้นไปลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนและนำเงินทุนจากแหล่งระยะยาวไปลงทุนในสินทรัพย์ถาวร | - |
dc.description.abstractalternative | The sanitary were industry in Thailand is an interesting industry since imported sanitary were is prohibited and domestic demand can only be met with products from the industry, Presently, there are altogether 4 companies in the industry with registered capital ranging from 15 million Baht to 40 million Baht. Large capital investment as well as technical know-how are normally required for firms operating in the sanitary ware industry. Therefore most of the investments are in the form joint venture with foreigners. Owing to the fact that the government has prohibited the import of sanitary wares except, bath-tub, the competition in the market is among local producers. On the export side, there is a trend that the demand for our products will be increased gradually. Major factors affecting production cost of sanitary wares are the ever=increasing price of fuel and electricity. The financial analysis of the four companies in the sanitary ware industry shows that the American Standard Sanitary Ware (Thailand) Ltd. Is the most efficient regarding profitability and activity, however, the Thai Ceramic Industry Co., Ltd. Is the company that operates with highest liquidity and lowest risk. As for the Ceramic Tile Product Co., Ltd. The liquidity, profitability and activity ratios of the company are lowest while the risk shown by the leverage ratios of the company is highest. Comparing the financial positions of the firms under joint venture with foreign investors and of the firm entirely owned by Thai investors, it appears that former is better in every aspect because of the liquidity, profitability and activity ratios of the firms under joint venture are higher than the firm entirely owned by Thai investors while the risk shown by the leverage ratios of the firms under joint venture is lower. Viewing the industry as a whole, it can be said that the financial position of the sanitary ware industry is satisfactory. From the analysis of the financial structure and the sources and uses of funds statement the American Standard Sanitary Ware (Thailand) Ltd. Obtained most of its funds from short term liabilities during the year 1976-1979. But in 1981, most of the funds employed were drained from retained earnings. With regard to the Armitage Shanks (Bangkok) Ltd., during 1976-1978, most of the funds came from the ordinary shares, but during 1979-1981, the company acquired most of the funds from short term loans. For Thai Ceramic Industry Co., Ltd., the financial structure of the company during 1976-1981 shows that more than 70% of the total fund came from the ordinary shares while not less than 50% of the financial structure of the Ceramic Tile Product Co., Ltd., during 1976-1979, was long-term loans. However, during 1980-1981, the Ceramic Tile Product Co., Ltd. Obtained most of its fund from short term liabilities. When considering the average financial structure during 1976-1981 of firms under foreign joint venture and the firm entirely owned by Thai investors, it appears that the former acquired most of its funds through the ordinary shares while the latter had long-term liabilities as its major source of funds. As for the industry as a whole, it appears that during 1976-1981, the industry acquired most of its funds from short term liabilities. From the analysis of the sources and uses of funds statement, during 1976-1979, the principle of suitably was not applied in this particular industry since the industry relied on long-term funds for short-term needs and long-term needs were financed with short-term funds. From the study, it can be summed up that the major problem facing the sanitary ware industry is the ever-increasing cost of production. This problem can hardly be solved since it is subject to external factors which cannot be controlled such as the increasing price of fuel, electricity, raw material and wages. The producers should therefore focus on the improvement of overall operation. With regard to the problem of financing, the industry does not follow the principle of suitability. It is suggested that the industry should finance its short-term or long-term needs with funds obtained from short-term of long-term sources accordingly. | - |
dc.format.extent | 5795302 bytes | - |
dc.format.extent | 2627034 bytes | - |
dc.format.extent | 13304604 bytes | - |
dc.format.extent | 29188620 bytes | - |
dc.format.extent | 13958626 bytes | - |
dc.format.extent | 2855896 bytes | - |
dc.format.extent | 8679272 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์ -- ไทย | - |
dc.subject | อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์ -- การเงิน | - |
dc.title | การวิเคราะห์ทางการเงินของอุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์ในประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | A financial analysis of sanitary ware industry in Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | บัญชีมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การเงินและการธนาคาร | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Amara_ku_front.pdf | 5.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amara_ku_ch1.pdf | 2.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amara_ku_ch2.pdf | 12.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amara_ku_ch3.pdf | 28.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amara_ku_ch4.pdf | 13.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amara_ku_ch5.pdf | 2.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amara_ku_back.pdf | 8.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.