Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29735
Title: ต้นทุนและอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนผลิตถั่วเขียวในเขตภาคกลาง ของประเทศไทย
Other Titles: Cost and rate of return on investment of mung bean production in the central region of Thailand
Authors: อร กาญจนัษฐิติ
Advisors: กัญญา นวลแข
ณรงค์ศักดิ์ เสนาณรงค์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาถึงต้นทุน และอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนผลิตถั่วเขียวในเขตภาคกลางของประเทศไทย โดยศึกษาจากเกษตรกรผู้ผลิตถั่วเขียวประจำปีการเพาะปลูก 2528/29 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ได้จากการสำรวจ และออกแบบสอบถามจากเกษตรกรผู้ผลิตถั่วเขียวที่อำเภอเมือง อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และที่อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท โดยทำการวิเคราะห์แยกตามฤดูกาลเพาะปลูก คือ การเพาะปลูกในต้นฤดูฝน ประมาณเดือนเมษายน (รุ่นที่ 1) และการเพาะปลูกในฤดูแล้ง หรือหลังเก็บเกี่ยวพืชหลักแล้ว ประมาณเดือนธันวาคม (รุ่นที่ 2) ผลจากการศึกษาพบว่า ในปีการเพาะปลูก 2528/29 ต้นทุนในการผลิตถั่วเขียวรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 มีต้นทุนเฉลี่ยไร่ละ 598.75 บาท และ 663.10 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าการผลิตถั่วเขียวในรุ่นที่ 2 มีต้นทุนสูงกว่าการผลิตถั่วเขียวในรุ่นที่ 1 64.35 บาท ผลแตกต่างของต้นทุนส่วนใหญ่มาจากค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยวของการผลิตในรุ่นที่ 2 สูงกว่าการผลิตถั่วเขียวในรุ่นที่ 1 จากการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากการผลิตถั่วเขียวในแต่ละรุ่นพบว่าการผลิตถั่วเขียวในรุ่นที่ 2 ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการผลิตถั่วเขียวในรุ่นที่ 1 ซึ่งพิจารณาได้จากกำไรสุทธิต่อรายได้รวม คือการผลิตถั่วเขียวในรุ่นที่ 2 มีอัตรา 0.05 ในขณะที่การผลิตถั่วเขียวในรุ่นที่ 1 เป็น 0.03 เท่านั้น อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนการผลิตถั่วเขียวในรุ่นที่ 2 ร้อยละ 4.84 ส่วนอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนการผลิตถั่วเขียวในรุ่นที่ 1 ต่ำกว่าเกือบครึ่งคือร้อยละ 2.71 อัตรากำไรส่วนเกิดต่อต้นทุนการผลิตในรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 เป็นร้อยละ 22.33, และร้อยละ 22.86 ตามลำดับ กำไรเงินสดต่อไร่ของการลงทุนผลิตถั่วเขียวในรุ่นที่ 1 311.16 บาท และในการผลิตถั่วเขียวรุ่นที่ 2 383.16 บาท อัตรากำไรเงินสดต่อค่าใช้จ่ายที่จ่ายเป็นเงินสดในการผลิตถั่วเขียวรุ่นที่ 1 ร้อยละ 102.41 และร้อยละ 122.79 สำหรับการผลิตถั่วเขียวในรุ่นที่ 2 ปริมาณการผลิต ณ จุดคุ้มทุนของการผลิตถั่วเขียวในรุ่นที่ 1 ณ ราคาจำหน่ายกิโลกรัมละ 7.50 บาท เท่ากับ 72.06 กิโลกรัมต่อไร่ และรุ่นที่ 2 ณ ราคาจำหน่ายกิโลกรัมละ 7.90 บาท เท่ากับ 69.36 กิโลกรัมต่อไร่ จะเห็นได้ว่าการผลิตถั่วเขียวในรุ่นที่ 2 ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการผลิตถั่วเขียวในรุ่นที่ 1 ทั้งสิ้น ดังนั้นเกษตรกรในเขตภาคกลางควรลงทุนผลิตถั่วเขียวในรุ่นที่ 2 มากกว่ารุ่นที่ 1 และเนื่องจากเมล็ดถั่วเขียวในรุ่นที่ 2 มีคุณภาพที่ดีกว่าเมล็ดถั่วเขียวในรุ่นที่ 1 กล่าวคือ ในการผลิตถั่วเขียวในรุ่นที่ 2 เกษตรกรไม่ได้เร่งเก็บผลผลิตเพื่อใช้พื้นที่เพาะปลูกพืชหลักหลังจากเก็บเกี่ยวถั่วเขียว จึงทำให้เมล็ดถั่วเขียวที่ทยอยเก็บมีอายุที่เหมาะสม เมื่อผลผลิตในการผลิตถั่วเขียวรุ่นที่ 2 มีคุณภาพที่ดีกว่า จึงเป็นผลให้ราคาที่เกษตรกรได้รับอยู่ในระดับที่ดีกว่าผลผลิตที่ผลิตในรุ่นที่ 1 ด้วย จากการศึกษาทางด้านการตลาด พบว่า เกษตรกรขาดอำนาจในการต่อรองกับพ่อค้าที่มารับซื้อผลผลิต จึงควรให้มีการรวมตัวของเกษตรกรผู้ค้าถั่วเขียวเป็นกลุ่ม เพื่อที่จะได้มีอำนาจต่อรองเพิ่มมากขึ้น สำหรับตลาดถั่วเขียวเพื่อการส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย คือสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เริ่มส่งผลผลิตของตนเองออกจำหน่าย และอาจเป็นคู่แข่งของประเทศไทยในอนาคต สำหรับฮ่องกงและสิงคโปร์ซึ่งเคยเป็นประเทศรับซื้อผลผลิตถั่วเขียวจากประเทศไทย ได้เปลี่ยนไปซื้อถั่วเขียวจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และส่งออกไปยังประเทศอินเดีย และไต้หวันด้วย ทั้งสองประเทศนี้เป็นประเทศที่รับซื้อผลผลิตถั่วเขียวจากประเทศไทยมากเป็นอันดับ 2 และ 3 รองจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ดังนั้นประเทศไทยควรที่จะหาตลาดรับซื้อผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยการรักษาคุณภาพของเมล็ดถั่วเขียวให้ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ และควรสนับสนุนให้มีการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้นด้วย ข้อสำคัญทางด้านการผลิต เกษตรกรที่ทำการผลิตถั่วเขียวควรจะได้ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดีมีความต้านทานโรคสูง เช่น พันธุ์อู่ทอง 1 กำแพงแสน 1 และกำแพงแสน 2 นอกจากนี้เกษตรกรควรรู้จักวิธีใช้สารเคมีกำจัดโรคและศัตรูพืช เพื่อที่จะไม่ให้มีสารเคมีตกค้างในเมล็ดถั่วเขียว และเพื่อให้เกษตรกรได้รับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น อันจะเป็นผลให้มีต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมลดลงอีกด้วย
Other Abstract: This thesis studies the cost and the rate of return on investment of Mung bean production in the central region of Thailand. Primary data for this study were taken from farmers who produced and harvested Mung bean in 1985/1986. Specifically, data from Mung bean were collected from Muang and Chai-Badarn Districts, Lopburi Province and Han-Ka District, Chai Nat Province. The data were analyzed according to the costs and productivity by cultivating seasons, that is-at the beginning of the rainy season and in summer. Approximately the first crop is around April and the second crop is around December. The results of this study revealed that the costs of production per rai of the first crop at the beginning of the rainy season and the second crop in summer were 598.75 and 663.10 baht, respectively. The second crop showed the higher cost of production of 64.35 baht when compared with the first on in summer. The difference in Mung bean planting cost was related to the labour wage in harvesting as the labour wage for the second crop was higher than that of the first one. Mung bean planting of the second crop showed the higher return on investment than Mung bean planting of the first crop. The Profit Margin on Sales of Mung bean planting of the first crop was only 0.03, while that of the second crop was 0.05. The Profit Margin on Costs of the second crop was 4.84 percent while that of the first crop was 2.71 percent, which is about 50 percent lower. Contribution Profit Margin on Costs of the first and second crops were 22.33 and 22.86 percent respectively. Cash Profit of the first crop was 311.16 baht while that of the second was 383.16 baht per rai. Rate of Cash Profit to Cash Farm Expenses of the first and second crops were 102.41 and 122.79 percent respectively. Break-Even Point of the first crop at the selling price of 7.50 baht per kilogram was 72.06 kilograms per rai while that of the second crop at the selling price of 7.90 baht per kilogram was 69.36 kilograms per rai. It is concluded that the second crop ielded more satisfactory result than the first crop in all respects. From this study the farmers in central region should invest on Mung bean planting after harvesting the main crop. On the quality of Mung bean, the second crop was better because the farmers did not have to rush in harvesting in order to clear the cultivating land for the main crop. So the bean seeds harvested are fully ripened. As the second crop products are better in quality, the farmers’ selling price is usually higher. From the study in Marketing it is found that farmers lack power to set up the selling price when dealing with the wholesalers, So there should be a Bean-Farmer Co-operative organization so that their bargaining power would be higher. On exporting side, China has been the most important customer of Thailand for bean export but now she begins to export her own bean products so in the future she may compete with Thailand. Hong Kong and Singapore used to be our customers too, right now they turn to buy bean products from China and export them to India and Taiwan, our second and third customers. It is suggested that Thailand should earnestly look for new markets while at the same time try to achieve the bean-seed quality as required in the market. Moreover, consumption in the country should be promoted. Last but not least, farmers should use high-quality seeds for production such as U-thong 1, Kampangsan 1 and 2 as these kinds of seeds withstand plant diseases and an unfavourable environment, Insecticides should be used properly in order that the chemicals won’t be left on seeds and the products per rai will be higher which will also reduce the cost per kilogram.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29735
ISBN: 9745673943
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orn_kh_front.pdf5.65 MBAdobe PDFView/Open
Orn_kh_ch1.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Orn_kh_ch2.pdf12.04 MBAdobe PDFView/Open
Orn_kh_ch3.pdf18.57 MBAdobe PDFView/Open
Orn_kh_ch4.pdf11.33 MBAdobe PDFView/Open
Orn_kh_ch5.pdf5.33 MBAdobe PDFView/Open
Orn_kh_back.pdf11.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.