Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29743
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุวดี ชนะประสิทธิ์พัฒนา | |
dc.contributor.author | สุวิมล รุ่งเจริญ | |
dc.contributor.author | ชัยอนันต์ สมุทวณิช | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2013-03-13T09:03:44Z | |
dc.date.available | 2013-03-13T09:03:44Z | |
dc.date.issued | 2526 | |
dc.identifier.isbn | 9745617881 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29743 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 | en |
dc.description.abstract | หนังสือพิมพ์เป็นสถาบันหนึ่งที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่นักหนังสือพิมพ์จะทำหน้าที่ได้มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อการควบคุมหนังสือพิมพ์ และความเข้าใจของนักหนังสือพิมพ์ที่มีต่อความสำคัญและบทบาทของตนเองในการเมือง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาบทบาทของนักหนังสือพิมพ์ในการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2490-2501 นักหนังสือพิมพ์ไทยในช่วงนี้เป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทอย่างสูงในการเป็นผู้นำสังคมที่สนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย และกระตุ้นความสำนึกทางการเมืองของประชาชนด้วยการทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่นการเป็นคอลัมนิสต์ นักเขียนนวนิยาย ปัญญาชนผู้นำทางความคิดของสังคม และที่สำคัญก็คือการเป็นผู้มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อต่อต้านนโยบายบางประการของรัฐบาล รวมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลปรับปรุงแก้ไขการบริหารประเทศให้เป็นไปตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง การรวมกลุ่มเพื่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักหนังสือพิมพ์ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ นับเป็นครั้งแรกของนักหนังสือพิมพ์ไทย แม้ว่าจะเคยมีการรวมกลุ่มกันมาก่อนและก่อตั้งสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย อันเป็นที่รวมของผู้มีอาชีพนักหนังสือพิมพ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2484 แล้วก็ตาม การรับลิทธิมาร์กซิสม์น่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นแนวความคิดของนักหนังสือพิมพ์ให้ทำการเคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม แต่เนื่องจากรัฐบาลไทยในขณะนั้นมีแนวโน้มที่จะปกครอบแบบรวมอำนาจ ประกอบกับสถานการณ์การเมืองของโลกที่กำลังตกอยู่ในสภาวะสงครามเย็น ทำให้รัฐบาลไม่ต้องการให้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยเฉพาะการคัดค้านนโยบายของรัฐบาล ดังนั้น รัฐบาลจึงปราบปรามนักหนังสือพิมพ์เหล่านี้ด้วยการจับกุมครั้งใหญ่ในข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ใน พ.ศ. 2495 และ 2501 ซึ่งมีผลทำให้นักหนังสือพิมพ์ต้องยุติบทบาทของตนแม้แต่ในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบการบริหารราชการของรัฐบาล หลังจากนั้น นักหนังสือพิมพ์ก็ต้องปรับตัวให้อยู่รอดในระบบการปกครองแบบ “พ่อขุน” ของรัฐบาล และไม่มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยตรงเช่นที่เป็นมาในช่วงนี้อีกเลย | |
dc.description.abstractalternative | The press is an institution which can promote democracy in governing the nation. But how far the journalists can do their duties is depended on the policy of controlling the press of the government and the realization of the journalists in their roles in politics. This thesis is a study of the roles of journalists in Thai Politics during 1947-1958 A.D. In this period, Thai journalists, who were also columnists and novelists, played a very important role in increasing political consciousness of the people. Besides, they were political activists, their most important roles, protesting some policies of the government and moreover demanding for the improvement of the administration. Although the Thai Journalism Association of Thailand was founded in 1941, they became a potent political group much later. The influence of Marxism on Thai journalists was a factor that aroused their political activities. The authoritarian tendency of the government together with the Cold War situations had intensified the government’s control of the press during that period. As their roles were still active, the government arrested them on communist charges twice in 1942 and 1958. Since then, they had to cease their political activites. After that Thai journalists had to adjust themselves to the politics of “Paternalism” of the government and could not be active in politics as before. | |
dc.format.extent | 2846057 bytes | |
dc.format.extent | 1566946 bytes | |
dc.format.extent | 11888338 bytes | |
dc.format.extent | 10333607 bytes | |
dc.format.extent | 36761139 bytes | |
dc.format.extent | 34406131 bytes | |
dc.format.extent | 4615168 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | บทบาทของนักหนังสือพิมพ์ในการเมืองไทย ระหว่าง พ.ศ.2490-2501 | en |
dc.title.alternative | Roles of journalists in Thai politics during 1947-1958 | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ประวัติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suvimol_ro_front.pdf | 2.78 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvimol_ro_ch0.pdf | 1.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvimol_ro_ch1.pdf | 11.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvimol_ro_ch2.pdf | 10.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvimol_ro_ch3.pdf | 35.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvimol_ro_ch4.pdf | 33.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvimol_ro_back.pdf | 4.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.