Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29751
Title: ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทำสวนยางพารา
Other Titles: Cost and return on investment of rubber production
Authors: อรสา ทองบรรเทา
Advisors: อุดม พูลเกษ
ดนุชา คุณพนิชกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการทำสวนยางพาราสำหรับเนื้อที่เพาะปลูกไม่เกิน 12 ไร่ ประจำปีการเพาะปลูก 2529/30 ข้อมูลที่ใช้นอกเหนือจากข้อมูลทุติยภูมิแล้วเป็นข้อมูลปฐมภูมิ ที่ได้จากการสำรวจโดยการออกแบบสอบถามจากเกษตรกรจำนวน 180 คน ในท้องที่จังหวัดที่เลือกเป็นตัวอย่าง คือ สงขลา นครศรีธรรมราช ระยอง และจันทบุรี ทั้งนี้ได้แยกการศึกษาวิเคราะห์เป็น 2 กรณี คือ การทำสวนยางพาราปลูกแทน และการทำสวนยางพาราปลูกใหม่ ผลจากการศึกษาพบว่า การทำสวนยางพาราปลูกแทน มีต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่ต่อปีนับจากเริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่ 989.64 ถึง 2,146.96 บาท มีรายได้เฉลี่ยต่อไร่ต่อปีตั้งแต่ 1,236.20 ถึง 5,262.68 บาท และจะมีกำไรสะสมทั้งสิ้นเฉลี่ยไร่ละ 39,535.42บาท คิดเป็นร้อยละ 50.97 ของรายได้ ส่วนการทำสวนยางพาราปลูกใหม่มีต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่ต่อปีตั้งแต่ 1,446.48 ถึง 2,041.19 บาท มีรายได้ เฉลี่ยต่อไรต่อปีตั้งแต่ 1,059.60 ถึง 4,415 บาท และจะมีกำไรสะสมทั้งสิ้นเฉลี่ยไร่ละ 20,259.59 บาท คิดเป็นร้อยละ 40.25 ของรายได้ การวิเคราะห์ผลตอบแทนสรุปได้ว่าการทำสวนยางพาราปลูกแทนต้องใช้เวลาคืนทุนประมาณ 10 ปี ส่วนการทำสวนยางพาราปลูกใหม่ใช้เวลาคืนทุนประมาณ 11ปี นอกจากนี้การทำสวนยางพาราปลูกแทนมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงกว่าและได้รับอัตราผลตอบแทนในโครงการมากกว่าการทำสวนยางพาราปลูกใหม่ด้วย ปัญหาสำคัญของการทำสวนยางพารา คือ เกษตรกรโดยเฉพาะเจ้าของสวนยางพาราปลูกใหม่ ส่วนมากขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การบำรุงรักษา การกรีดยาง และการทำยางแผ่น นอกจากนี้ยังมีปัญหา เกี่ยวกับการใช้วัสดุปลูกที่เหมาะสมและปัญหาเงินทุน ข้อเสนอและบางประการเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา คือ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีการอบรมแนะนำให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการทำสวนยางพารา และจัดให้มีมาตรการควบคุมควบคุมความถูกต้องในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำสวนยางพารา นอกจากนี้รัฐควรจัดหาแหล่งเงินทุนระยะยาวให้แก่เกษตรกร และควรส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบ ตลอดจนหาลู่ทางขยายตลาด การค้ายางต่างประเทศให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: This thesis aims to study the cost and return on investment of rubber production which is not larger than 12 rai for the production year 1987/88. Except the secondary data, the primary data used are obtained from the survey by sending questionnaires to 180 planters in 4 selected provinces, i.e., Songkla, Nakorn Sri Thamrat, Rayong and Chantaburi. The study is categorized into 2 cases: replaced planting and new planting. The result of the analysis found that the replaced planting has average annual cost per rai ranging from 989.64-2,146.96 Baht, average annual revenue per rai ranging from 1,236.20-5,262.68 Baht and total retained earnings per rai approximately 39,535.42 Baht or 50.97 percent revenue. Meanwhile, the new planting has average annual cost per rai ranging from 1,446.48-2,041.19 Baht, average annual revenue per rai ranging from 1,059.60-4,415.00 Baht and total retained earnings per rai about 20,259.59 Baht or 40.25 percent of revenue. Therefore the replaced planting will have the payback period approximately 10 years which is one year less than that of the new planting. It yields the net present value and return on investment higher than those of the new planting as well. The crucial problem of rubber production is that the owners, especially the new planting farmers, lack the knowledge in various fields, i.e., maintenance, tapping, and rubber sheet making. Furthermore, there are also some other problems involving the proper selection of planting material and the financial support. Some suggestion to alleviate the problems is that the concerned government organizations should educate and advise the rubber planters to understand the right method of planting and should also control the standard of rubber production. Moreover, they should provide the long-term sources of fund to planters, promote the industry that use rubber as the raw material and expand the market internationally.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29751
ISBN: 9745691909
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orasa_th_front.pdf4.83 MBAdobe PDFView/Open
Orasa_th_ch1.pdf3.61 MBAdobe PDFView/Open
Orasa_th_ch2.pdf9.08 MBAdobe PDFView/Open
Orasa_th_ch3.pdf15.51 MBAdobe PDFView/Open
Orasa_th_ch4.pdf12.92 MBAdobe PDFView/Open
Orasa_th_ch5.pdf20.4 MBAdobe PDFView/Open
Orasa_th_ch6.pdf6.8 MBAdobe PDFView/Open
Orasa_th_back.pdf9.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.