Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29798
Title: การเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายบางด้านภายหลังการฝึกแอโรบิคดานซ์ ในช่วงระยะเวลาที่ต่างกันของผู้ที่เคยผ่านการฝึกแอโรบิคดานซ์
Other Titles: A comparison of selected physical fitness after different duration in aerobic dance training of trained Aerobic Dancers
Authors: ปริศนา อุนสกุล
Advisors: เทพวาณี หอมสนิท
เฉลิม ชัยวัชราภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การออกกำลังกาย
สมรรถภาพทางกาย
การเต้นแอโรบิก
แอโรบิก (กายบริหาร)
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายบางด้านภายหลังการฝึกแอโรบิคแดนซ์ในช่วงระยะเวลาที่ต่างกันของผู้ที่เคยผ่านการฝึกแอโรบิคดานซ์ ตัวแปรทางด้านสมรรถภาพทางกายประกอบด้วย น้ำหนักของร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัว เปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกายและสมรรถภาพการจับออกซิเจนในระดับ 70 เปอร์เซ็นต์ ผู้เข้ารับการทดลองเป็นหญิงที่เคยผ่านการฝึกแอโรบิคดานซ์มาแล้ว 8 สัปดาห์ ซึ่งมีอายุระหว่าง 30-45 ปี จำนวน 18 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน โดยใช้สมรรถภาพการจับออกซิเจนในระดับ 70 เปอร์เซ็นต์เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่ม ทั้ง 3 กลุ่ม ทำการฝึกแอโรบิคดานซ์ 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน โดยให้กลุ่มแรกฝึก 15 นาที กลุ่มที่สองฝึก 30 นาที และกลุ่มที่สามฝึก 45 นาที เมื่อฝึกแอโรบิคดานซ์ครบ 8 สัปดาห์ ทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายอีกครั้ง นำผลที่ได้จากการทดลองมาวิเคราะห์ค่าทางสถิติดังนี้ คือ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และความแตกต่างรายคู่ตามวิธีของนิวแมนคูลส์ ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบการทดสอบสมรรถภาพทางกายก่อนฝึกและหลังฝึกของกลุ่ม 15 นาที 30 นาที และ 45 นาที พบว่าน้ำหนักของร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัว ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แต่พบว่า เปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกายก่อนฝึกและหลังฝึกของกลุ่ม 15 นาที มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และของกลุ่ม 30 นาที และกลุ่ม 45 นาที มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และเมื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพการจับออกซิเจนในระดับ 70 เปอร์เซ็นต์ ก่อนฝึกและหลังฝึกของกลุ่ม 15 นาที และกลุ่ม 30 นาที พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และของกลุ่ม 45 นาที มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 การเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายระหว่างกลุ่ม 15 นาที กลุ่ม 30 นาที และกลุ่ม 45 นาที พบว่าน้ำหนักของร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความพันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัว และสมรรถภาพการจับออกซิเจนในระดับ 70 เปอร์เซ็นต์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แต่พบว่าเปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกายของกลุ่ม 15 นาที แตกต่างจากกลุ่ม 30 นาที และกลุ่ม 45 นาที อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to compare the results of the females physical fitness change due to the 15 minutes, 30 minutes and 45 minutes on eight weeks of the Aerobic Dance training. These subjects had been participated for eight weeks of the Aerobic Dance training program. The physiological variable which used to compare were the body weight, the resting heart rate, the resting systolic and diastolic blood pressure, the percent of body fat and the submaximum oxygen uptake at 70 percents. The subjects were 18 females whose ages were 30-45 years old. The subjects were devided into three groups (match groups by using the submaximum oxygen uptake at 70 percents). Those groups were trained for Aerobic Dance for eight weeks, three days a week. The first group, the second group and the third group were trained for 15 minutes, 30 minutes and 45 minutes, respectively. The physical fitness was retaken after the eight weeks training program. Results of the research The comparison of the physical fitness between the pre-test and the post-test of the groups which were trained for 15 minutes, 30 minutes and 45 minutes was found that the body weight, the resting heart rate, the resting systolic and diastolic blood pressure were not significant difference at the .05 level. There was a significant difference of the percent of body fat between the pre-test and the post-test of the groups which were trained for 15 minutes (P < .05), 30 minutes (P < .01) and 45 minutes (P < .01). There was a significant difference of the submaximum oxygen uptake at 70 percent between the pre-test and the post-test of the groups which were trained for 15 minutes (P < .05), 30 minutes (P < .05) and 45 minutes (P < .01). The comparison of the physical fitness among the groups which were trained for 15 minutes, 30 minutes and 45 minutes was found that the body weight, the resting heart rate, the resting systolic and diastolic blood pressure and the submaximum oxygen uptake at 70 percent were not significant difference at the level of .05. There was a significant difference at the level of .05 on the percent of body fat between the group which was trained for 15 minutes and the groups which were trained for 30 minutes and 45 minutes.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29798
ISBN: 9745637157
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prisana_au_front.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open
Prisana_au_ch1.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open
Prisana_au_ch2.pdf8.75 MBAdobe PDFView/Open
Prisana_au_ch3.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open
Prisana_au_ch4.pdf6.78 MBAdobe PDFView/Open
Prisana_au_ch5.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open
Prisana_au_back.pdf17.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.