Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29808
Title: | แนวทางการกำหนดมาตรการควบคุมเกี่ยวกับที่จอดรถยนต์สำหรับอาคาร ในพื้นที่ที่มีบริการของระบบขนส่งมวลชน : กรณีศึกษา ย่านศูนย์กลางธุรกิจ ถนนสีลม |
Other Titles: | Guidelines for issuing control measures of building's car park in areas service by mass transit system : a case study of central business district, Silom Road |
Authors: | ปรีชญา มหัทธนทวี |
Advisors: | นพนันท์ ตาปนานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | การขนส่งมวลชน -- ไทย ที่จอดรถ -- ไทย |
Issue Date: | 2538 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและการใช้ประโยชน์ของที่จอดรถยนต์สำหรับอาคาร ที่จัดให้มีขึ้นตามมาตรการควบคุมที่จอดรถยนต์สำหรับอาคาร รูปแบบและการให้บริการของระบบขนส่งมวลชน บทบาทของระบบขนส่งมวลชนที่จะมีในด้านการทดแทนการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อเป็นแนวทางการกำหนดมาตรการควบคุมที่จอดรถยนต์สำหรับอาคารในพื้นที่ที่มีการบริการของระบบขนส่งมวลชน ในพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ ถนนสีลม จากการศึกษาพบว่าในพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ ถนนสีลม จากสภาพการพัฒนาในลักษณะอาคารสูงที่มีจำนวนชั้นและพื้นที่อาคารมาก ส่งผลให้มีการจัดสร้างที่จอดรถยนต์จำนวนมากตามมาตรการที่ควบคุมอยู่ โดยจำนวนที่จอดรถยนต์ต่ออาคารในพื้นที่ศึกษามีแนวโน้มที่สูงเพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาประเภทการใช้สอยอาคารที่มีจำนวนมากและมีลักษณะเด่นในพื้นที่ศึกษาซึ่งมีด้วยกันสามประเภทคือ อาคารสำนักงาน ห้างสรรถสินค้า และโรงแรม การใช้ประโยชน์ของอาคารจอดรถยนต์จะมีความแตกต่างกันในแต่ละประเภทอาคารดังกล่าว ในด้านปริมาณรถยนต์ที่เข้ามาจอด ช่วงเวลาการใช้งาน ระยะเวลาในการจอดรถ และการกำหนดอัตราค่าจอดรถ การจัดสร้างที่จอดรถนั้นนอกจากจะมีผลต่อราคาค่าก่อสร้างแล้ว ยังมีผลต่อสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน และปริมาณการจราจรที่จะเข้ามายังพื้นที่ จากผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้รถยนต์ต่อการหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชน เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงบทบาทของระบบขนส่งมวลชนที่จะทดแทนการเดินทางด้วยรถยนต์ โดยวิเคราะห์จากปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเดินทาง อันได้แก่ ความสะดวกในการเดินทางไปใช้บริการ ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง อันได้แก่ ความสะดวกในการเดินทางไปใช้บริการ ระยะเวลาในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง บทบาทของระบบขนส่งมวลชนที่จะทดแทนการเดินทางจะแตกต่างกันในสามประเภทอาคาร โดยสามารถทดแทนได้มากที่สุดคือ อาคารสำนักงาน รองลงมาคือ ห้างสรรพสินค้า และโรงแรม ทั้งนี้เนื่องจากผู้ใช้รถยนต์ในแต่ละประเภทอาคารนั้นมีลักษณะจุดตั้งต้นการเดินทาง จำนวนผู้โดยสาร การเสียค่าจอดรถยนต์ และวัตถุประสงค์ของการเดินทางที่มีผลต่อความจำเป็นในการใช้รถยนต์ในการเดินทางที่แตกต่างกัน การกำหนดมาตรการควบคุมที่จอดรถยนต์สำหรับอาคาร ในพื้นที่ที่มีการบริการของระบบขนส่งมวลชนจึงปรับเปลี่ยนให้มีความสัมพันธ์กับปริมาณการทดแทนการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน โดยพิจารณาประกอบกับสภาพการใช้งานในปัจจุบัน ซึ่งมีความแตกต่างกันในสามประเภทอาคาร โดยปรับให้มีสัดส่วนพื้นที่อาคารต่อจำนวนที่จอดรถหนึ่งคันสูงขึ้นตามสัดส่วนของการทดแทน ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะต้องมีระยะเวลาที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการให้บริการของระบบขนส่งมวลชน ตลอดจนมีความสอดคล้องกับสภาพการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ |
Other Abstract: | The objectives of the study are to identify the characteristics and the use of building’s car park provided under the control measures, the characteristics and the services of mass transit system, the roles of the mass transit system in taking place the use of private cars in order to propose guidelines for issuing control measures of building’s car park in areas serviced by mass transit system in the central business district (CBD), Silom Road. The study found that, in the CBD, Silom Road, the development of high rise buildings which have many stories and floor areas, creates a large amount of parking areas by the control measures, together with the increasing trends. From the study of the major types of buildings in the area consisting office buildings, departmentstores and hotels, the use of parking area can be differentiated among each type of the buildings in terms of the number of cars, using period, parking period and the charge of parking. The provision of parking area creates impacts not only to the construction cost but also to the land use and the traffic volume into the area. From the openion survey of the car users for analyzing the roles of the mass transit system in taking place the car transport by using the factors of decision making in choosing the transport mode, i.e. the convenience to the service, the time consuming, and the travelling expenditure. The roles of the mass transit system in changing the transport mode are found differently in these three building types, with the maximum in the office building, and lower in the departmentstores and the hotels respectively, due to the different starting points of travelling, number of passengers, parking charges, and the objectives of travelling. The specification of the parking control for the buildings in the servicing areas of the mass transit system should be adjusted in relation to the change of the transport modes with the considerations of the existing use in different three building types by increasing the number of floor area per parking unit according to the change of transport mode. However, the transformation should be in relation to the capability of the mass transit service and be suited to the development conditions of the areas. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางแผนภาคและเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29808 |
ISBN: | 9746327798 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prechaya_ma_front.pdf | 6.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prechaya_ma_ch1.pdf | 4.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prechaya_ma_ch2.pdf | 7.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prechaya_ma_ch3.pdf | 24.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prechaya_ma_ch4.pdf | 27.92 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prechaya_ma_ch5.pdf | 27.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prechaya_ma_ch6.pdf | 7.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prechaya_ma_back.pdf | 11.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.