Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29819
Title: การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ของโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์หินอ่อนเทียม ในประเทศไทย
Other Titles: Productivity inprovement of a synthetic marble sanitary ware plant in Thailand
Authors: มนตรี พิพัฒน์ไพบูลย์
Advisors: วิจิตร ตัณฑสุทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์หินอ่อนเทียม โดยปรับปรุงด้านการผลิต การจัดองค์กร การวางผังโรงงาน และการจัดการวัสดุคงคลัง ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุที่ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ เกิดจากการจัดองค์กรที่ไม่เด่นชัด การสื่อสารระหว่างสำนักงานกับฝ่ายผลิต การวางผังโรงงาน การจัดพัสดุคงคลัง ขนาดและจำนวนของโมลด์ที่ใช้ในการผลิตยังไม่เหมาะสม จากการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตทำให้อัตราการผลิตเฉลี่ยต่อเดือนของผลิตภัณฑ์หินอ่อน เทียม และผลิตภัณฑ์หินหยกเพิ่มขึ้นจาก 3,497 กิโลกรัม/เดือน และ 112 กิโลกรัม/เดือน เป็น 6,583 กิโลกรัม/เดือน และ 197 กิโลกรัม/เดือน ตามลำดับ โดยมีอัตราการผลิตต่อค่าแรงทางตรงเฉลี่ยต่อเดือนของหินอ่อนเทียมเพิ่มขึ้นจาก 0 .228 กิโลกรัม/ชั่วโมงแรงงานทางตรง เป็น 0.430 กิโลกรัม/ชั่วโมงแรงงานทางตรง และอัตราการผลิตต่อค่าแรงทางตรงเฉลี่ยต่อเดือนของหินหยกเพิ่มขึ้นจาก 0.007 กิโล กรัม/ชั่วโมงแรงงานทางตรง เป็น 0.012 กิโลกรัม/ชั่วโมงแรงงานทางตรง
Other Abstract: The Thesis is aimed to study the proper method for the productivity improvement of a synthetic marble sanitary ware plant. The procedures to improve the productivity include manufacturing improvement, organization, plant layout and inventory management. The result of this study shows the causes of poor productivity ะ improper organization, poor communication between stations, as well as in-appropriate plant layout, inventory management and amount and size of the mold. After this improvement, the average production rate per month of cultured marble and onyx is increased from 3,497 kilograms/month and 112 kilograms/month to 6,583 kilograms/month and 197 kilograms/month respectively. It also increases the production rate per man-hour for cultured marble from 0.228 kilograms/man-hour to 0.430 kilograms/man-hour and onyx from 0.007 kilograms/ man-hour to 0.012 kilograms/man-hour.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29819
ISBN: 9745811823
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Montree_pi_front.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open
Montree_pi_ch1.pdf5.96 MBAdobe PDFView/Open
Montree_pi_ch2.pdf13.66 MBAdobe PDFView/Open
Montree_pi_ch3.pdf12.3 MBAdobe PDFView/Open
Montree_pi_ch4.pdf8.66 MBAdobe PDFView/Open
Montree_pi_ch5.pdf21.64 MBAdobe PDFView/Open
Montree_pi_ch6.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open
Montree_pi_ch7.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Montree_pi_back.pdf30.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.