Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29839
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล-
dc.contributor.advisorจินตนา ศิริสันธนะ-
dc.contributor.authorปรีชา นาทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-03-15T12:39:31Z-
dc.date.available2013-03-15T12:39:31Z-
dc.date.issued2535-
dc.identifier.isbn9745819883-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29839-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535en
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงเทคนิคการสร้างและวิธีทดสอบสมรรถนะมาตรฐานของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบ คอยล์-ลูป เทอร์โมไซฟอน ตลอดจนศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการตั้งโรงงานผลิตเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบนี้ในระดับอุตสาหกรรม รวมทั้งการวางผังกระบวนการผลิตในโรงงานตลอดจนการหาเงินลงทุนและวิเคราะห์ผลตอบแทนของการลงทุน เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนที่สร้างประกอบด้วยคอยล์ระเหยและคอยล์ควบแน่นที่มีขนาด 60x40 ตร.ซม. แต่ละคอยล์ประกอบด้วยท่อทองแดงขนาด 3/8 นิ้ว จำนวน 4 แถว การวางเรียงท่อเป็นแบบเหลื่อมกัน ติดครีบอลูมิเนียม 13 ครีบต่อนิ้ว ของไหลใช้งานคือฟรีออน-22 กรรมวิธีการสร้างใช้วิธีดูดสุญญากาศแล้วเติมของไหลใช้งานในสภาวะของของเหลว จากการทดสอบสมรรถนะแบบมาตรฐานพบว่าเครื่องมีประสิทธิผลสูงสุด ร้อยละ 57 อัตราการถ่ายเทความร้อนสูงสุด 3,200 วัตต์ สัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนรวม (คิดจากพื้นที่ผิวภายในท่อ) 174 วัตต์ ต่อ ตร.ม. ต่อ องศาเซลเซียส และมีประสิทธิภาพในการเก็บกลับพลังงานในระบบทำความเย็นขนาด 36,000 บีทียู ต่อ ชม. เท่ากับร้อยละ 30 จากการศึกษาด้านการตั้งโรงงานผลิตและด้านการเงิน ได้ข้อสรุปดังนี้วัตถุดิบหลักคือท่อทองแดงกำลังการผลิตปกติ 3,000 เครื่องต่อปี ใช้กำลังคนทั้งโรงงาน 63 คน ให้ทำเลที่ตั้งของโรงงานอยู่ภายในการนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก โดยใช้เนื้อที่ทั้งหมด 5,600 ตร.ม. อายุโครงการ 20 ปี การลงทุนดังกล่าวใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 50,000,000 บาท โดยเป็นเงินลงทุนของผู้ถือหุ้น 25,000,000 บาท และเงินกู้ระยะยาว 25,000,000 บาท จากการวิเคราะห์ด้านการเงินโดยคิดจากกระแสเงินสดของโครงการหลังหักภาษีโครงการให้ผลตอบแทนดังนี้ อัตราผลตอบแทนของโครงการ ร้อยละ 33.1 อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น ร้อยละ 45.7 มูลค่าปัจจุบันสุทธิ 60,005,819 บาท ระยะเวลาคืนทุน 7 ปี 6 เดือน อนึ่งโครงการสามารถดำเนินการได้โดยที่ไม่ขาดทุน ถ้ามูลค่าการขายลดลงไม่เกิน ร้อยละ 11.5 หรือถ้าต้นทุนดำเนินการเพิ่มขึ้นไม่เกิน ร้อยละ 14.5 สรุปแล้วโครงการมีความเป็นไปได้ทั้งด้านเทคนิคการผลิตและด้านการเงิน
dc.description.abstractalternativeThe present research investigated the fabrication technique, proposed a standard performance test method of the coil-loop thermosiphon heat exchanger, and made a feasibility study on the setup of a manufacturing factory, including the layout of the factory, the securing of investment capital and the analysis of return on investment. The constructed heat exchanger consisted of an evaporator coil and a condenser coil. Each coil had cross-sectional area of 60x40 sq.cm., used 3/8 inch copper tubes in 4 separate loops. The vacuum pump method was used to fill in liquid working fluid. From the standard performance test, it was found that the maximum effectiveness was 57%, the highest heat transfer rate 3,200 watt, the overall heat transfer coefficient (based on the inside surface) was 174.4 W/m²-℃, and the efficiency of heat recovery in a 36,000 Btu/hr cooling system was 30%. From a study on the setup of a manufacturing factory and its financial analysis, the following points were obtained. The major raw material was the copper tube. Production capacity was 3,000 units/year. The required manpower was estimated to be 63 persons. A proposed factory location was the eastern industrial estate with a total area of 5,600 sq.m.. The operation life of the project was 20 years. The total investment required was 50,000,000 Baht with owners’ equities amounting to 25,000,000 Baht and 25,000,000 Baht as long-term loan. Conclusions obtained from a financial analysis based on the net cash-flow after taxed were as follows : internal rate of return 33.1%, rate of return on investor 45.7%, net present value 60,005,819 Baht., payback period 7 years and 6 months. The project would break even, if there was an 11.5% decrease in the sale revenue or a 14.5% increase in the operating cost. In conclusion, the project was technically and financially feasible.
dc.format.extent6158401 bytes-
dc.format.extent9936454 bytes-
dc.format.extent14015786 bytes-
dc.format.extent16588204 bytes-
dc.format.extent11081406 bytes-
dc.format.extent15967483 bytes-
dc.format.extent2363429 bytes-
dc.format.extent23073269 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางเศรษฐศาสตร์ของโรงงานผลิตเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบ คอยล์-ลูป เทอร์โมไซฟอนen
dc.title.alternativeTechnical and economic feasibility study of a factory manufacturing coil-loop thermosiphon heat exchangersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเคมีes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preecha_na_front.pdf6.01 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_na_ch1.pdf9.7 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_na_ch2.pdf13.69 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_na_ch3.pdf16.2 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_na_ch4.pdf10.82 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_na_ch5.pdf15.59 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_na_ch6.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_na_back.pdf22.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.