Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29845
Title: ระบบออฟไลน์สำหรับการรู้จำตัวพิมพ์อักขระไทยหลายรูปแบบ
Other Titles: An off-line system for recognition of multiple-font frinted Thai characters
Authors: มนลดา บุญสุวรรณ
Advisors: พิพัฒน์ หิรัณย์วณิชชากร
วีระ ริ้วพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบออฟไลน์สำหรับการรู้จำตัวพิมพ์อักขระไทยหลายรูปแบบที่ได้กล่าวถึงในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นระบบการรู้จำอักขระที่มีจุดประสงค์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรู้จำตัวพิมพ์อักขระไทยได้มากกว่า 1 รูปแบบของอักขระ และเนื่องจากอักขระไทยเป็นอักขระซึ่งมีลักษณะทางโครงสร้างที่ซับซ้อนและ ประกอบด้วยเส้นโค้งเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเทคนิคที่ได้นำมาใช้ในการวิจัยนี้จึงได้แก่เทคนิคของการวิเคราะห์ เส้นแสดงขอบของอักขระ โดยจะนำรหัสทิศทางแบบลูกโซ่ของฟรีแมน กับความแตกต่างของทิศทางของเส้นแสดงขอบของอักขระมาใช้ในการตัดแบ่งเส้นแสดงขอบของอักขระออกเป็นส่วนโค้งเว้าและส่วนโค้งนูน จากนั้นลักษณะสำคัญได้แก่ ความยาวระหว่างจุดบ่งความนูนหรือจุดบ่งความเว้าที่อยู่ติดกัน 2 จุด ภายใน ส่วนโค้งหนึ่ง ๆ ก็จะถูกนำมาใช้ในขั้นตอนของการเปรียบเทียบแบบไดนามิกโปรแกรมมิง เพื่อหาค่าความแตกต่างระหว่างแต่ละคู่ส่วนโค้งของอักขระที่ต้องการรู้จำกับอักขระต้นแบบ จากนั้นคู่ส่วนโค้งที่มีความคล้ายกันมากที่สุดระหว่างอักขระทั้งสองก็จะถูกตรวจพบได้ และนำมาใช้เป็นคู่ส่วนโค้งเริ่มต้นสำหรับการเปรียบเทียบของคู่ส่วนโค้งอื่น ๆ ที่อยู่ถัดไป จากการที่ได้นำวิธีการเปรียบเทียบแบบไดนามิกโปรแกรมมิงมาประยุกต์ใช้นี้ ทำให้สามารถหาค่าความแตกต่างระหว่างแต่ละส่วนของอักขระ และความแตกต่างระหว่างอักขระ สำหรับนำมาใช้ในการแยกประเภทของอักขระได้ ผลจากการวิจัยโดยใช้รูปแบบของตัวพิมพ์อักขระไทยจำนวน 3 รูปแบบ (จำนวนอักขระทั้งหมด 1,030 ตัว) มีความถูกต้อง 94.7 เปอร์เซ็นต์
Other Abstract: In this thesis, an off-line system for recognition of multiple-font printed Thai characters is described. The aim of the character recognition system is to recognize more than one font of printed Thai characters. Because of complicated structures and many similar curves of Thai characters, the method based on the structural analysis of their contours is proposed. In the thesis, Freeman chain code and directional differences of contour tracing are utilized to extract concavities and convexities of the contours of characters. Simple features of arc, such as length between adjacent +/- vertices are utilized to calculate the distance between each arc pair of an input character and a model in the Dynamic Programming matching process. Then, the most similar arc pair is detected and utilized as standard for determining the matching of the next arc pairs. By applying DP matching, the distance between character portions and the distance between characters are calculated for the classification. The recognition method is applied to 3 fonts of printed Thai characters (1,030 character data), and a recognition rate of 94.7% has been obtained.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29845
ISBN: 9745814849
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Monlada_bo_front.pdf6.41 MBAdobe PDFView/Open
Monlada_bo_ch1.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
Monlada_bo_ch2.pdf17.91 MBAdobe PDFView/Open
Monlada_bo_ch3.pdf28.58 MBAdobe PDFView/Open
Monlada_bo_ch4.pdf3.95 MBAdobe PDFView/Open
Monlada_bo_ch5.pdf5.52 MBAdobe PDFView/Open
Monlada_bo_back.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.