Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29872
Title: | การคัดเลือกโครงการแหล่งน้ำขนาดเล็ก |
Other Titles: | The allocation process of small scale water resource projects |
Authors: | ปรีดา อัตวินิจตระการ |
Advisors: | วันชัย ริจิรวนิช อภิชาต อนุกูลอำไพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้จะมุ่งศึกษาถึงระบบการคัดเลือกโครงการแหล่งน้ำขนาดเล็กในปัจจุบัน วิเคราะห์หาข้อบกพร่องของระบบ นำข้อบกพร่องนั้นมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจัดทำระบบการคัดเลือกโครงการใหม่ที่จะเสนอแนะ เปรียบเทียบความแตกต่างของระบบทั้งสอง ทั้งในส่วนผลตอบแทนเชิงเศรษฐศาสตร์และด้านอื่นๆ โดยจะมีขอบเขตครอบคลุมเพียงหน่วยดำเนินการกรมชลประทาน ผลการศึกษาพบว่าโครงการแหล่งน้ำขนาดเล็กเป็นโครงการที่มีนโยบายเพื่อสนองความต้องการขั้นพื้นฐานสำหรับการดำรงชีพของประชาชนในชนบท มีราคาค่าก่อสร้างไม่เกิน 4 ล้านบาท โดยไม่รวมราคาที่ดิน ซึ่งที่ดินนั้นราษฎรต้องยินยอมยกให้ทางราชการ โครงการจะใช้เวลาก่อสร้างไม่เกิน 1 ปี และโครงการนั้นต้องริเริ่มมาจากความต้องการของราษฎรในท้องถิ่น ระบบการคัดเลือกโครงการในปัจจุบัน พิจารณาคัดเลือกไปตามลำดับของโครงการที่ทางจังหวัดเสนอมาจนครบงบประมาณที่ทางจังหวัดได้รับ หากโครงการใดเมื่อได้รับการคัดเลือกแล้วทำให้เกินงบประมาณก็จะไม่คัดเลือก แต่จะข้ามไปคัดเลือก โครงการลำดับถัดไป ซึ่งระบบการคัดเลือกโครงการในปัจจุบันนี้พิจารณาเพียงลำดับความสำคัญของโครงการที่ทางจังหวัดเสนอมาเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเพียงพอในเชิงวิชาการ ส่วนระบบการคัดเลือกโครงการที่เสนอแนะจะนำตัวแปรที่จะมีผลต่อการคัดเลือกโครงการ 18 อย่างมาจัดให้เป็นองค์ประกอบ ซึ่งมีความสำคัญต่างกันออกไปตามแต่ละเหตุการณ์ จากนั้นก็ประเมินระดับความสำคัญของโครงการสำหรับองค์ประกอบทั้ง 18 อย่าง แล้วคำนวณหาผลตอบแทนรวมจากองค์ประกอบทั้งหมดมาจัดให้เป็นผลตอบแทนของโครงการ แปลงระบบการคัดเลือกโครงการเป็นรูปแบบทางคณิตศาสตร์แล้วหาผลลัพธ์ด้วยเทคนิคการโปรแกรมศูนย์-หนึ่งเชิงเส้นตรง ซึ่งจะให้ผลตอบแทนจากระบบดีที่สุด จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบระบบการคัดเลือกโครงการทั้งสอง จะพบว่าระบบการคัดเลือกโครงการที่เสนอแนะนี้ให้ผลดีกว่าระบบการคัดเลือกโครงการที่ใช้ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะระบบที่เสนอแนะนำองค์ประกอบหลายๆ อย่างมาพิจารณาย่อมดีกว่าระบบที่พิจารณาจากลำดับความสำคัญของโครงการตามที่ทางจังหวัดเสนอเพียงอย่างเดียว และผลตอบแทนรวมจากทางเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์และสังคมก็ดีกว่าด้วยในเชิงวิชาการ หากมีการปรับปรุงนำระบบนี้ไปใช้ในระดับจังหวัดประกอบการจัดอันดับความสำคัญของโครงการก็น่าจะเป็นประโยชน์ |
Other Abstract: | This research aims at the study of the present selection system for the small scale water resource projects. The fallacy of the present selection system had been analysed and an improved system had been proposed. Comparison for both present and proposed systems had been conducted in economic and other aspacts. The study limits only to the work of the Department of Irrigation. The study revealed that the small scale water resource projects aim at satisfying the basic need for people in upcountries. The project budget is limited to four million baths excluding the cost of land which are dedicated by local citizen. The time of project construction is limited to one year and project must be initiated from the requirement of local citizen. At present, project selection was chosen from priority of province project proposal. If the budget was over at any selected project, that project must be shipped, and considers the next project. Project selection considered only the priority was not the appropriate one, it need further information for taking into consideration. The new proposed selection system will consider 18 important factors that effect the project selection, each factor should be weight, the total weight factors for alternative projects will be evaluated and set as the cost coefficient in the mathematical model using Integer Programming. The analysis for both system revealed that the proposed selection system is more superior in the sense that all factors other than priority are considered. The economical, political and social aspacts are included. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29872 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Preeda_at_front.pdf | 4.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeda_at_ch1.pdf | 13.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeda_at_ch2.pdf | 11.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeda_at_ch3.pdf | 9.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeda_at_ch4.pdf | 4.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeda_at_ch5.pdf | 3.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeda_at_ch6.pdf | 7.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeda_at_ch7.pdf | 6.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeda_at_back.pdf | 26.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.