Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29970
Title: การแต่งแร่เฟลด์สปาร์โดยเทคนิคการแยกแร่แม่เหล็กความเข้มสูง แบบเปียกและการลอยแร่
Other Titles: Processing of feldspar by wet high intensity magnetic separation and flotation techniques
Authors: ไพรัตน์ เตชะวิวัฒนาการ
Advisors: ภิญโญ มีชำนะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดหมายในการแต่งแร่เฟลด์สปาร์ สำหรับอุตสาหกรรมเซรามิก โดยทำการแยกแร่มลทินติดแม่เหล็กอย่างอ่อนออกไป ด้วยเครื่องแยกแร่แม่เหล็กความเข้มสูงแบบเปียก ชนิดถังคารูเซลแล้วจึงทำการลอยแร่เฟลด์สปาร์ออกจากแร่ควอรตซ์ ผลการวิจัยพบว่า แร่เฟลด์สปาร์ที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งเป็นแร่เฟลด์สปาร์เกรดต่ำ ชนิดแร่กะเทย (0.38 %CaO, 5.57 %Na2O, 4.60 %K2O, 0.260 %Fe2O3) มีแร่เฟลด์สปาร์ ร้อยละ 76.20, แร่มลทิน คือ แร่ควอรตซ์ ร้อยละ 21.98 และแร่มลทินลดแม่เหล็กอย่างอ่อน (เช่น การ์เนต, ทัวร์มาลีน, ไพไรต์, มัสโคไวต์) อยู่ร่วมกันน้อยละ 1.98 และมีขนาดแร่ที่เป็นอิสระที่เหมาะสมในการบดลดขนาดคือมีขนาดเล็กกว่า 60 เมช ณ ที่สภาวะการทำงานที่เหมาะสมในการแยกแร่ที่บดแล้ว ด้วยเครื่องแยกแร่แม่เหล็กความเข้มสูง แบบเปียก ชนิดถังคารูเซล ในการผ่าน 1 ครั้ง คือ เมื่อทำการป้อน% ของแข็งในแร่ป้อนผสมน้ำเท่ากับ 20 ที่อัตราการป้อนของผสม 10 ลิตร/นาที ณ อัตราเร็วถังคารูเซล 3.38 เมตร/ นาที ซึ่งให้ผลการเก็บแร่ได้ (% Yield) เท่ากับ 92.26, % การลดปริมาณ Fe2O3(% Reject of Fe2O3) เท่ากับ 75.17, ที่คุณภาพ (% Grade) 0.070 % Fe2O3 ในส่วนที่ไม่ติดแม่เหล็ก ซึ่งประกอบด้วยแร่เฟลด์สปาร์และแร่ ควอรตซ์โดยส่วนใหญ่ สำหรับการลอยแร่เฟลด์สปาร์ออกจากแร่ควอรตซ์ สภาวะการทำงานที่เหมาะสมคือ เมื่อทำการ ลอยแร่ ณ ค่า pH 2.50 โดยใช้กรดกัดแก้ว, ใช้ปริมาณสารเคลือบผิวประจุบวกประเภทเกลือของอะมีนชนิดโคเดซิลแอมโมเนียมอะซิเทต ( Dodecyl ammonium Acetate , DAA) เท่ากับ 300 กรัม/ตันแร่ป้อน, เวลาปรับสภาพ 5 นาที และเวลาการลอยแร่ 8 นาที ซึ่งให้ หัวแร่เฟลด์สปาร์มีคุณภาพ (% Grade) ร้อยละ 98.63 (0.44 %CaO, 7.17 %Na2O, 6.06 %K2O, 0.041 %Fe2O3), การเก็บแร่ได้ (% Recovery) ร้อยละ 98.41 และมีแร่ควอรตซ์ปะปนอยู่ด้วยซึ่งมีคุณภาพร้อยละ 1.25 ซึ่งสามารถนำไปใช้งานทางอุตสาหกรรมเซรามิกได้
Other Abstract: The content of this research is the processing of feldspar ore for ceramic industry. Wet High Intensity Magnetic Separator (WHIMS) of Carousel-type was used to reject paramagnetic gangues followed by froth flotation to separate feldspar from quartz. It has been found that the low grade feldspar (0.38 %CaO, 5.57 %Na2O, 4.60 %K2O, 0.260 %Fe2O3) contains 76.20 % feldspar minerals, 21.98 % quartz and 1.98 % paramagnetic gangues (such as garnet, tourmaline, pyrite, muscovite). Liberation size of the ore to be ground is about less than 60 mesh. The optimum condition to treat the ground ore through WHIMS of Carousel-type at one pass is to prepare the pulp feed 20 % solids at the flowrate of 10 litre per minute and carousel speed of 3.38 metre per minute to obtain 92.26 % yield at 75.17 % reject of Fe2O3 with non magnetite mixture of feldspar and quartz containing 0.070 % Fe2O3. To float feldspar from quartz, the optimum condition must be adjusted at pH 2.50 by hydrofluoric acid (HF) using Dodecylammonium Acetate (DAA) as collector at 300 gram per ton feed, conditioning time at about 5 minutes and flotation time of about 8 minutes. The feldspar concentrate contains 98.63 % feldspar minerals (0.44 %CaO, 7.17 %Na2O, 6.06 %K2 O, 0.041%Fe2O3) at the recovery of 98.41 with 1.25 % quartz in concentrate which is suitable to be used for ceramic industry.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเหมืองแร่
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29970
ISBN: 9745771546
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pairat_te_front.pdf10.26 MBAdobe PDFView/Open
Pairat_te_ch1.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open
Pairat_te_ch2.pdf9.2 MBAdobe PDFView/Open
Pairat_te_ch3.pdf15.39 MBAdobe PDFView/Open
Pairat_te_ch4.pdf35.18 MBAdobe PDFView/Open
Pairat_te_ch5.pdf24.69 MBAdobe PDFView/Open
Pairat_te_ch6.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Pairat_te_back.pdf29.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.