Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29978
Title: สัมประสิทธิ์การอ้างอิงสรุปของแบบสอบความเรียง
Other Titles: Generalizability coefficients of an essay tyre test
Authors: ไพรัตน์ วงษ์นาม
Advisors: เยาวดี วิบูลย์ศรี
ชูศักดิ์ ขัมภลิขิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและ เปรียบเทียบผลของวิธีตรวจ การชี้แจง และการรู้ผล การเรียนของผู้ตอบ ที่มีต่อค่าสัมประสิทธิ์การอ้างอิงสรุปของแบบสอบความเรียง วัดความสามารถในการ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวและเหตุการณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พร้อมทั้งเลือกวิธีตรวจ จำนวนผู้ตรวจและจำนวนข้อสอบที่ให้ค่าสัมประสิทธิ์การอ้างอิงสรุป 0.50 เป็นอย่างต่ำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนจำนวน 30 คน ข้อสอบแบบความเรียงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 5 ข้อ และครู จำนวน 20 คน สุ่มแบ่งผู้ตรวจเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มหนึ่งตรวจวิธีประเมินรวม อีกกลุ่มหนึ่งตรวจวิธีวิเคราะห์ ในแต่ละวิธีทำการตรวจ 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ตรวจโดยใช้ประสบการณ์เดิมของผู้ตรวจ ครั้งที่ 2 ตรวจตามวิธีที่ได้รับการชี้แจงโดยไม่รู้ผลการเรียนของผู้ตอบ ครั้งที่ 3 ตรวจตามที่ได้รับการชี้แจงและผลการเรียนของ ผู้ตรวจ ผลการวิจัยพบว่า เมื่ออ้างอิงสรุปไปยังเอกภพของข้อสอบและผู้ตรวจพร้อมกัน (Ml) ค่า สัมประสิทธิ์การอ้างอิงสรุปของแบบสอบแบบความเรียงที่ตรวจโดยวิธีประเมินรวมมีค่าอยู่ระหว่าง 0.3328 - 0.4782 และตรวจด้วยวิธีวิเคราะห์มีค่าระหว่าง 0.3348 - 0.5895 เมื่ออ้างอิงสรุปไปยังเอกภพของผู้ ตรวจอย่างเดียว (M2) ค่าสัมประสิทธิ์การอ้างอิงสรุปของวิธีประเมินรวม มีค่าระหว่าง 0.4743 - 0.6865 สำหรับวิธีวิเคราะห์ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.5985 - 0.7761 วิธีตรวจ การชี้แจง และการผลการเรียนของผู้ตอบต่างกัน ไม่มีผลต่อความแตกต่างของค่าสัมประสิทธิ์การอ้างอิงสรุปสำหรับ Ml แต่ใน M2 พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์การอ้างอิงสรุปของการตรวจตามที่ได้รับการชี้แจงมีค่าสูงกว่าการตรวจโดยใช้ประสบการณ์เดิม เฉพาะกรณีที่ผู้ตรวจที่ได้รับการฝึกอบรมไม่รู้ผลการ เรียนของผู้ตอบเท่านั้น ถ้ารู้ผลการเรียนของผู้ตอบ ค่าสัมประสิทธิ์การอ้างอิงสรุปจะไม่แตกต่างกัน ค่าสัมประสิทธิ์การอ้างอิงสรุปของการตรวจที่ผู้ตรวจไม่รับรู้ประวัติการเรียนของผู้ตอบ มีค่าสูงกว่าการตรวจที่ผู้ตรวจรับประวัติการเรียนของผู้ตอบ วิธีตรวจจำนวนข้อสอบ และจำนวนผู้ตรวจที่ให้ค่าสัมประสิทธิ์การอ้างอิงสรุปไม่น้อยกว่า 0.50 คือวิธีตรวจวิเคราะห์ตามที่ได้รับการขี้แจงและผู้ตรวจไม่รู้ผลการเรียนของผู้ตอบ ใช้ข้อสอบ 6 ข้อ ผู้ตรวจอย่างน้อย 5 คน สำหรับ Ml และ ผู้ตรวจ 5 คน และข้อสอบ 5 ข้อ สำหรับ M2
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the effects of the scoring methods, directed explanation and halo effect of students' achievement background on generalizability coefficients of an essay type test. Thirty students' answer sheets of five items were scored independently by twenty raters sampled into two groups. The first group of raters scored by using holistic method while the second group used analytic method. Each method was scored under three situations, namely, the raters' own experience, the provision of directed explanation and the provision of directed explanation with students' achievement background. The findings showed that when the results of measurement were generalized over both item and rater universes (Ml), the generalizability coefficients of 5-item test with 10 raters for holistic method was between 0.3328- 0.4780 and 0.3348-0.5895 for analytic method. In generalizing over rater universe only (M2), the generalizability coefficients of 5-item test with 10 raters for holistic method was between 0.4743-0.6865 and 0.5985-0.7761 for analytic method. The differences of generalizability coefficients were not effected by the differences of scoring methods, directed explanation and students' achievement background for Ml. On the contrary, for M2, the generalizability coefficients of scoring under the provision of directed explanation no students' achievement background were higher than both scoring under raters' own experience and the provision of directed explanation with students' achievement background. The generalizability coefficients of scoring under two situations with no students' achievement background were higher than the situation with students' achievement background. The analytic method in the direted explanation with no students' achievement background situation by using 6 items and at least 5 raters made generalizability coefficients not less than 0.50 for Ml and 5 items and atleast 5 raters for M2.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29978
ISBN: 9745779881
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piratana_wo_front.pdf5.03 MBAdobe PDFView/Open
Piratana_wo_ch1.pdf8.47 MBAdobe PDFView/Open
Piratana_wo_ch2.pdf17.02 MBAdobe PDFView/Open
Piratana_wo_ch3.pdf13.12 MBAdobe PDFView/Open
Piratana_wo_ch4.pdf11.08 MBAdobe PDFView/Open
Piratana_wo_ch5.pdf8.8 MBAdobe PDFView/Open
Piratana_wo_back.pdf22.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.