Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29979
Title: การเปรียบเทียบค่านิยมและความคาดหวังของผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด ที่ได้รับการปรับปรุงและไม่ได้รับการปรับปรุง เขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A comparison of values and expectations of the slum swellers in uperaded and upgraded slums, Bangkok Metropolis
Authors: หทัยรัตน์ นอบน้อม
Advisors: ชนิตา รักษ์พลเมือง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบค่านิยมและความคาดหวังของผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดที่ได้รับการปรับปรุง และที่ไม่ได้รับการปรับปรุงชุมชนจากการเคหะแห่งชาติ เขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งศึกษาปัญหาที่มีผลกระทบต่อการมีค่านิยมและความคาดหวังและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหานั้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดที่ได้รับการปรับปรุงชุมชนจากโครงการของการเคหะแห่งชาติ 190 คน และผู้อยู่อาศัยในชุมชมแออัดที่ไม่ได้รับการปรับปรุงชุมชนจากการเคหะแห่งชาติ 190 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายชั้น (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และค่าไคสแควร์ 2 ผลการวิจัย 1. ค่านิยมและความคาดหวังของผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดที่ได้รับการปรับปรุงชุมชนและที่ไม่ได้รับการปรับปรุงชุมชนจากการเคหะแห่งชาติ พบว่า 1.1 ผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดที่ได้รับการปรับปรุง และที่ไม่ได้รับการปรับปรุงมีค่านิยมที่มีความเชื่อมากที่สุด คือ ด้านจริยธรรม 1.2 ผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดที่ได้รับการปรับปรุงชุมชนมีความหวังว่าค่านิยมที่ทำได้จริงมากที่สุดคือ ด้านจริยธรรม ส่วนผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดที่ไม่ได้รับการปรับปรุงชุมชนมีความคาดหวังว่าค่านิยมที่ทำได้จริงมากที่สุดคือด้านสาธารณสุข 2. การเปรียบเทียบค่านิยมและความคาดหวังภายในกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดที่ได้รับการปรับปรุงชุมชน และกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดที่ไม่ได้รับการปรับปรุงชุมชน พบว่า มีค่านิยมและความคาดหวังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. การเปรียบเทียบค่านิยมและความคาดหวังระหว่างกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดที่ได้รับการปรับปรุงชุมชนกับที่ไม่ได้รับการปรับปรุงชุมชน พบว่า 3.1 ผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดที่ได้รับการปรับปรุงชุมชน กับที่ไม่ได้รับการปรับปรุงมีค่านิยมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.2 ผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดที่ได้รับการปรับปรุงชุมชน กับที่ไม่ได้รับการปรับปรุงชุมชนมีความคาดหวัง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผลการเปรียบเทียบค่านิยมและความคาดหวัง ของผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดที่ได้รับการปรับปรุงชุมชน และที่ไม่ได้รับการปรับปรุงชุมชน จำแนกตาม เพศ อายุ ศาสนา การศึกษา รายได้ พบว่า 4.1 ผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดที่ได้รับการปรับปรุงชุมชนที่มีความแตกต่างกันในด้าน เพศ อายุ ศาสนา รายได้ มีค่านิยมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.2 ผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดที่ไม่ได้รับการปรับปรุงชุมชนที่มีความแตกต่างกันในด้าน เพศ รายได้ มีค่านิยมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.3 ผู้อยู่อาศัยในชุมชมแออัดที่ได้รับการปรับปรุงชุมชนที่มีความแตกต่างกันในด้านเพศ ศาสนา การศึกษา มีความคาดหวังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.4 ผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดที่ไม่ได้รับการปรับปรุงชุมชนที่มีความแตกต่างกันในด้าน เพศ อายุ ศาสนา การศึกษา รายได้ มีความคาดหวังไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. ผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดที่ได้รับการปรับปรุงชุมชน และที่ไม่ได้รับการปรับปรุงชุมชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อการมีค่านิยมและความคาดหวังเรียงตามลำดับความสำคัญมากไม่น้อย ดังนี้ 1. ครอบครัวขาดความรักและความเข้าใจกัน 2. การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานอาชีพ 3. ความยากจนของประชาชน 4. การไม่มีงานที่มีรายได้ประจำทำ 5. การขาดความสนใจศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม 6. ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อการมีค่านิยมและความคาดหวังพบว่า 1. บิดามารดาควรมีเวลาให้กับครอบครัวมากขึ้น เพื่อสร้างความใกล้ชิดภายในครอบครัว 2. ให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐและเอกชนสนใจช่วยเหลือปราบปรามการลักขโมย และยาเสพติด 3. ให้มีการจัดอบรมให้ความรู้กับประชาชนในชุมชนแออัด ในด้านกฎหมาย ด้านสาธารณสุข และอาชีพ 4. ให้หน่วยงานของรัฐ จัดหาที่ให้ผู้มีรายได้น้อยจำหน่ายสินค้าได้ 5. ให้มีการแก้ไขระบบค่าจ้างให้เหมาะสมกับสภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน
Other Abstract: The objectives of this research were to study and compare the values and expectations of the Bangkok Metropolitan slum dwellers who either lived in slums which were unupgraded or upgraded by the National Housing Authority, and to study the problems affecting their values and expectations and the suggestions for solving these problems.The samples of this research consisted of 190 slum dwellers in the upgraded slums and 190 slum dwellers in the unupgraded slums. Both groups were selected by multi-stage sampling method. The collected data from the questionnaires constructed by the researcher were analyzed by means of frequency, percentage (%), standard deviation (S.D.), t-test, and chi-square 2.Findings 1. Values and expectations of the slum dwellers in upgraded and unupgraded areas. 1.1 The values which were held by the slum dwellers in both upgraded and unupgraded areas were moral values. 1.2 Moral values were mostly expected by the slum dwellers in upgraded areas, while public health values were mostly expected by those in unupgraded areas. 2. The values and expectations among the members of each group were significantly different at .01 level. 3. The comparisons of the values and expectations between the two groups were as follows. 3.1 The values of the two groups of slum dwellers were significantly different at .01 level. 3.2 The expectations of the two groups of slum dwellers were significantly different at .01 level. 4. The comparisons of the values and expectations of the slum dwellers of both groups regarding their sex, age, religion, education, and income were as follows. 4.1 The values of the slum dwellers in upgraded areas who were different in sex, age, religion, and income were significantly different at .01 level. 4.2 The values of the slum dwellers in unupgraded areas who were different in sex and income were significantly different at .01 level. 4.3 The expectations of the slum dwellers in upgraded areas who were different in sex, religion, and education were significantly different at .01 level. 4.4 The expectations of the slum dwellers in unupgraded areas who were different in sex, age, religion, education, and income were not significantly different at .01 level. 5. The slum dwellers in the two areas thought that the respectively important problems affecting their values and expectations were as follows. 1. Lack of love and understanding in the family. 2. Lack of vocational knowledge. 3. Poverty. 4. Lack of permanent employment. 5. Lack of interest to seek for knowledge. 6. The suggestions for solving the problems were as follows. 1. The parents should devote more time to their family in order to build up close relationship. 2. The government and non-government authorities should help eliminating robbery and narcotics. 3. There should be training courses in laws, public health, and vocation for slum dwellers. 4. The government should provide selling places for the low income. 5.Payment system should be improved to cope with the present cost of living.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สารัตถศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29979
ISBN: 9745639958
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Hathairat_no_front.pdf11.1 MBAdobe PDFView/Open
Hathairat_no_ch1.pdf8.65 MBAdobe PDFView/Open
Hathairat_no_ch2.pdf29.44 MBAdobe PDFView/Open
Hathairat_no_ch3.pdf5.65 MBAdobe PDFView/Open
Hathairat_no_ch4.pdf62.96 MBAdobe PDFView/Open
Hathairat_no_ch5.pdf20.28 MBAdobe PDFView/Open
Hathairat_no_back.pdf31.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.