Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29994
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมคิด รักษาสัตย์ | |
dc.contributor.advisor | ประนอม รอดคำดี | |
dc.contributor.author | ไพลิน นุกูลกิจ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2013-03-18T09:33:10Z | |
dc.date.available | 2013-03-18T09:33:10Z | |
dc.date.issued | 2529 | |
dc.identifier.isbn | 9745667811 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29994 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาลักษณะของการปฏิบัติการพยาบาลก่อนที่จะมีการจัดการศึกษาพยาบาลในประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาพัฒนาการของการจัดการศึกษาพยาบาลในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2439 ถึง พ.ศ. 2524 3. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของการศึกษาพยาบาลในประเทศไทย วิธีรวบรวมข้อมูล 1. ศึกษาเรื่องพัฒนาการของการศึกษาพยาบาลในประเทศไทย จากเอกสารชั้นต้น (Primary Sources) ได้แก่ ร่างสารตรา พระราชบัญญัติ จดหมายเหตุ คำสั่ง กฎระเบียบ หนังสือโต้ตอบของทางราชการ ประกาศต่างๆ ของทางราชการ รายงานการประชุม บันทึกของชาวต่างประเทศที่เดินทางเขามาประเทศไทย บันทึกของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาพยาบาล และเอกสารชั้นรอง (Secondary Sources) ได้แก่ บทความ หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ปะวัติบุคคล วารสาร ภาษาไทย และต่างประเทศ และวิทยานิพนธ์ 2. สัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิชาชีพพยาบาล เพื่อให้ได้ข้อมูลสนับสนุนเพิ่มเติม ในกรณีที่มีข้อขัดแย้งจากการค้นคว้าจากเอกสาร สรุปผลการวิจัย ก่อนการจัดตั้งสถานศึกษาพยาบาลในประเทศไทยนั้น เชื่อว่าผู้ที่ทำหน้าที่ให้การพยาบาลได้ศึกษาวิชาการพยาบาล โดยสืบทอดความรู้มาจากคำบอกเล่าของบรรพบุรุษ และพระภิกษุ เรียนรู้จากประสบการณ์ และศึกษาด้วยตนเองจากคัมภีร์แพทย์แผนโบราณ สถานศึกษาที่สำคัญจึงได้แก่วัดและครอบครัว จนกระทั่งได้จัดตั้งสถานศึกษาพยาบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2439 ที่โรงพยาบาลศิริราช การจัดการศึกษาพยาบาลในประเทศไทย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2439 - 2468 ซึ่งเป็นยุคริเริ่มนั้น ยังไม่มีระบบระเบียบ ไม่มีสถานที่จัดตั้งโดยเฉพาะ ต้องอาศัยโรงพยาบาลไม่เข้มงวดเรื่องพื้นความรู้ของผู้เรียน ระยะเวลาในการศึกษาไม่แน่นอน วิชาที่เรียนในหลักสูตรกำหนดตามความจำเป็นที่พบในขณะนั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2469 - 2488 การจัดการศึกษาพยาบาลได้รับการปรับปรุงหลายด้าน ถึงแม้จะไม่มีการก่อตั้งสถานศึกษาพยาบาลเพิ่มขึ้นก็ตาม การปรับปรุงดังกล่าวได้รับแนวคิดจากต่างประเทศเป็นสำคัญ หลักสูตรที่กำหนดเริ่มจะมีระบบระเบียบและวิชาที่กำหนดในหลักสูตรให้กว้างขวางยิ่งขึ้น แต่การจัดการศึกษาต้องชะงักไประยะหนึ่งเนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 การจัดการศึกษาพยาบาลได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบเนื่องจากได้มีโอกาสติดต่อกับต่างประเทศอีก พร้อมทั้งประสบปัญหาการขาดแคลนพยาบาลจึงทำให้ในช่วงเวลาระหว่างพ.ศ. 2489 - 2504 มีการจัดตั้งสถานศึกษาพยาบาลเพิ่มอีก 7 แห่ง เพื่อเพิ่มจำนวนพยาบาลให้เพียงพอกับความต้องการ มีการยกระดับการศึกษา ให้สูงขึ้น ถึงขั้นปริญญาตรี และเปิดหลักสูตรหลังสำเร็จการศึกษาระดับพื้นฐานขึ้น นอกจากนี้ยังปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลระดับพื้นฐานที่มีอยู่เดิมให้ได้มาตรฐานสากล อย่างไรก็ตาม การศึกษาพยาบาลได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่อีกครั้งในยุคแผนพัฒนาฯ(พ.ศ. 2505 – 2524) เพราะประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนพยาบาลอย่างมาก เนื่องจากผลผลิตน้อย และพยาบาลเดินทางไปประกอบอาชีพในต่างประเทศกันมาก จึงทำให้ปริมาณพยาบาลไม่เพียงพอแก่การขยายบริการสาธารณสุขตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในยุคนี้จึงต้องตั้งสถานศึกษาพยาบาลเพิ่มขึ้นอีก 15 แห่ง การจัดการศึกษามีตั้งแต่ระดับ ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ประกาศนียบัตรเทียบเท่ากับปริญญาตรี ปริญญาตรี และปริญญาโท ทางการพยาบาล โครงสร้างของหลักสูตรไม่แตกต่างกันมาก เนื่องจากสถานศึกษาพยาบาลที่ก่อตั่งภายหลังจะยึดถือหลักสูตรของสถาบันที่ก่อตั้งก่อน ซึ่งหลักสูตรได้รับการยอมรับแล้วเป็นเกณฑ์ จากผลการวิจัยนี้ จะเห็นว่าการจัดการศึกษาพยาบาลนั้นมีการพัฒนามาโดยตลอดและการพัฒนาการนั้นมุ่งให้สอดคล้องกับความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนมากขึ้น ดังนั้นการจัดการศึกษาพยาบาลในอนาคตโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักสูตรและการสอนควรจะยึดนโยบายด้านสุขภาพของประเทศเป็นสำคัญ นอกจากนี้ควรจะมีการสร้างภาวะผู้นำ และความสามารถทางการวิจัยในบุคลากรพยาบาลให้มากขึ้นด้วย | |
dc.description.abstractalternative | The Research Objectives were: 1. To study the nursing practices preceding to the development of nursing education in Thailand. 2. To study the development of nursing education in Thailand from B.E. 2439 to B.E. 2524. 3. To analyze factors affecting development of nursing education in Thailand. Methodologies of Data Collection were: 1. The data compiled by researcher from important primary sources namely: written royal speeches, decrees, archives royal gazette, orders, regulations, official announcement, minutes , foreigners memorandum, reports and notes from those who were working in connection with nursing education, and from secondary sources which include articles, some historical books, biography and sane thesis. 2. Interviewing those nurses who had retired from and senior nurses who still working in nursing institution for data that could not found in any written forms. Major findings: Prior to the establishment of nursing school in Thailand, it was believed that those who performed the functions of nursing had been trained by their ancestors or from the Buddhist monks no less than from their self-studies. As a result, important nursing institutes then were the temples and the families. Both places had been playing very important roles until B.E. 2439 when the first nursing school was established at Siriraj Hospital. Thailand's nursing's education during B.E. 2439 - 2468, which was the starting point, was managed without formal regulations or formal systems. The school locations were not available, they were to be with or under the roof of some hospitals. In addition, basic knowledge and the length of time of study were not restricted. Subjects which had to be studied also depended on necessity and requirements then. During the year B.E. 2469 - 2488 the nursing education was improved to many extents. Although there were no formal nursing schools being set up, a lot of improvements with foreign assistance could be significantly observed. From such assistance, the syllabus could be developed more systematically. Besides; basic qualification of students and length of studies were formally proposed. However, all these were obstructed by The Second World War, Nursing education in many aspects were remedied when The Second World War was over. As international communication could be made again and as there were shortage of nurses, another 7 nursing schools were established during B.E. 2489 - 2504, One improvement which could be noted is the governments recognition and upgrading nursing'ร syllabus to a Bachelor Degree and other basic syllabus to international standard. However, during B.E. 2504 - 2524 the nursing education was changed substantially and comprehensively when the government in accordance to The National Economic and Social Development Board's Plan had recognized the problem of the nurse shortage. Therefore another 15 nursing schools were established, these schools offer Certificate, Diploma, Baccalaureate and Master degree in nursing. Syllabus and educational systems of each are very much alike because each institute shared the experience and accept the syllabus of the previously recognized as a criteria. The research result shows that nursing education has been developing ever since its beginning, and the development emphasized mainly on health needs of the population at large. Therefore, the management of the nursing education in the future, particularly the nursing curriculum and teaching should corresponse to the national health policy of the country. In addition the development of leadership training and research competence of nursing personnel should be emphasized more attentively. | |
dc.format.extent | 6212129 bytes | |
dc.format.extent | 7313339 bytes | |
dc.format.extent | 74151829 bytes | |
dc.format.extent | 32513228 bytes | |
dc.format.extent | 17050067 bytes | |
dc.format.extent | 29061589 bytes | |
dc.format.extent | 27888620 bytes | |
dc.format.extent | 7673228 bytes | |
dc.format.extent | 27275438 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การวิเคราะห์พัฒนาการของการศึกษาพยาบาลในประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | An analysis of the development of nursing education in Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พยาบาลศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pailin_nu_front.pdf | 6.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pailin_nu_ch1.pdf | 7.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pailin_nu_ch2.pdf | 72.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pailin_nu_ch3.pdf | 31.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pailin_nu_ch4.pdf | 16.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pailin_nu_ch5.pdf | 28.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pailin_nu_ch6.pdf | 27.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pailin_nu_ch7.pdf | 7.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pailin_nu_back.pdf | 26.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.