Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30009
Title: การออกแบบระบบระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วม สำหรับพื้นที่ราบเชิงเขาชายฝั่งทะเล : กรณีพื้นที่ศึกษา เขตลุ่มน้ำกะรน จังหวัดภูเก็ต
Other Titles: Drainage system design for flood protection in the hillsided coastal plain area : a case study of the Karon watershed, Phuket province
Authors: หลักชัย พัฒนเจริญ
Advisors: สุจริต คูณธนกุลวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการออกแบบระบบระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม สำหรับพื้นที่ราบเชิงเขาชายฝั่งทะเลนี้ ได้เลือกใช้พื้นที่ลุ่มน้ำกะรน ซึ่งเป็นลุ่มน้ำขนาดเล็ก มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 8 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ตัวแทน ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากสภาพชนบทเป็นสภาพในเมือง ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาปัญหาน้ำท่วมในสนาม และการปรับหาค่าตัวแปรทางด้านชลศาสตร์ของพื้นที่จากข้อมูลภาคสนาม โปรแกรมที่จะใช้ในการประเมินและออกแบบปรับปรุงระบบระบายน้ำ พร้อมทั้งหาระบบระบายน้ำที่เหมาะสมต่อสภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันและอนาคต ผลจากการสำรวจภาคสนามและจากการประเมิน พบว่าพื้นที่ลุ่มน้ำกะรนจะต้องมีการออกแบบระบบระบายน้ำใหม่ โดยพิจารณาตามแต่ลักษณะพื้นที่ กล่าวคือ การลดอัตราการหลากจากพื้นที่ต้นน้ำ โดยการสร้างเขื่อนหรือฝาย หรือการปลูกป่า ซึ่งได้ใช้วิธี RATIONAL และ SCS ช่วยในการหาอัตราน้ำหลากในการศึกษา สำหรับพื้นที่ราบเชิงเขา โดยการใช้ระบบท่อระบายน้ำ, รางระบายน้ำ และการสร้างสระพักน้ำ ซึ่งการออกแบบระบบระบายน้ำเขตพื้นที่ราบเชิงเขานี้ จะได้ประยุกต์ใช้แบบจำลอง SWMM ช่วยในการปรับปรุงออกแบบระบบระบายน้ำ สำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเล ใช้วิธีการเพิ่มจุดระบายน้ำออกสู่ทะเล ผลที่ได้จากการศึกษาพบว่า รูปแบบการออกแบบระบบระบายน้ำที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำกะรนคือ การออกแบบระบบระบายน้ำในเขตพื้นที่ราบเชิงเขาให้เพียงพอ โดยใช้ระบบท่อระบายน้ำ ในพื้นที่ที่ต้องออกแบบระบบระบายน้ำใหม่ และระบบรางระบาย ในพื้นที่ที่มีระบบรางระบายน้ำเดิมอยู่แล้ว และเพิ่มจุดระบายน้ำออกสู่ทะเล สำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเล ส่วนการสร้างเขื่อน หรือฝาย หรือ การปลูกป่า ในเขตพื้นที่ต้นน้ำและการสร้างสระพักน้ำในเขตพื้นที่ราบเชิงเขา จะมีต้นทุนในการดำเนินการสูง จึงไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นรูปแบบในการออกแบบระบบระบายน้ำสำหรับลุ่มน้ำกะรน แต่อาจเป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการวางแผนการใช้ที่ดินและการออกแบบระบบระบายน้ำสำหรับพื้นที่อื่นต่อไป
Other Abstract: Karon Watershed, was selected as a study area for flood and drainage system design study in the hillsided coastal plain area. It is a small watershed are in Phuket Province covering approximately 8 sq.km. and tended to be urbanized in the rapid speed. In the study, flood problem in the area were investigated and parameter calibrations for model application in drainage system assessment and improvement was also conducted via field data observation. Suitable drainage scheme for present and future land use pattern were proposed. From the field investigation and drainage system assessment, it is found that drainage system for Karon Watershed should be redesigned by considering the characteristics of each subarea .i.e. flood protection dam or weir in the upstream zone by using Rational or SCS methods to estimate flood peak or drainage pipe/channel/retention storage in the plain area by adopting SWMM, or increase drainage channels to the sea etc. The study result showed that the suitable drainage scheme are to set the drainage pipe in the newly developed zone and to set the drainage channel in the developed zone. The outlet drainage to the sea should be increases. The constructions of flood protection dam or weir or deforestation or storage retention are costly and unsuitable for Karon Watershed. These measures may be applicable for other hillsided coastal plain area.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30009
ISBN: 9745793787
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Luckchai_pa_front.pdf4.88 MBAdobe PDFView/Open
Luckchai_pa_ch1.pdf5.81 MBAdobe PDFView/Open
Luckchai_pa_ch2.pdf6.75 MBAdobe PDFView/Open
Luckchai_pa_ch3.pdf7.18 MBAdobe PDFView/Open
Luckchai_pa_ch4.pdf18.86 MBAdobe PDFView/Open
Luckchai_pa_ch5.pdf14.6 MBAdobe PDFView/Open
Luckchai_pa_ch6.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open
Luckchai_pa_back.pdf32.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.