Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30011
Title: การวิเคราะห์สาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษา ในสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน กรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2526
Other Titles: An analysis of causes of students' dropout in the Institute for Skill Development in Bangkok Metropoltis B.E. 2526
Authors: หลุยส์ อัมสุทธิ
Advisors: รัตนา พุมไพศาล
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพทั่วไปของนักศึกษาที่ออกกลางคัน สาเหตุของการออกกลางคันและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพของนักศึกษาที่ออกกลางคันกับสาเหตุของการออกกลางคัน กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักศึกษาที่ออกกลางคัน ในการฝึกยกระดับฝีมือของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน กรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ.2526 จำนวนทั้งสิ้น 328 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์และค่าสัมประสิทธิ์ของความสัมพันธ์ด้วยวิธีของ Cramer ผลการวิจัยมีดังนี้ 1.นักศึกษาที่ออกกลางคันส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 25-29 ปี มีระดับการศึกษา ม.1- ม.3 หรือ มศ.1- มศ.3 เป็นโสดมีอาชีพเป็นพนักงานลูกจ้างเอกชนโดยมีรายได้ประมาณ 2,001 – 3,000 บาท และสาขาช่างไฟฟ้าและอิเล็คโทรนิคส์ เป็นสาขาที่ออกกลางคันมากที่สุด 2. ผลการศึกษาสาเหตุการออกกลางคันทั้ง 6 ด้าน คือด้านภูมิหลังของนักศึกษา ด้านหลักสูตร ด้านครูและการสอนของครู ด้านการบริการและสภาพแวดล้อม ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านประเมินผล พบว่าสาเหตุการออกกลางคันที่สำคัญที่สุด คือด้านภูมิหลังนักศึกษา โดยเฉพาะการไม่มีเวลามาเรียนเพราะต้องประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดโดยระดับความสำคัญที่พบคือระดับปานกลาง
Other Abstract: The purposes of this research are to study the general conditions of the students’ dropout in the Institute for skill Development, the causes of the dropout as well as to analyse the relationship between the conditions and the causes of the dropout. The subjects were 328 dropout students in the up-grading training of the Institute for skill Development, Bangkok 2526 B.E. A self-constructed questionnaire was used to collect data. Statistics used are percent, arithmatic mean, standard deviation, Chi-square and Cramer’s correlation. The results of the research were: 1. The age of the dropout students was between 25-29 years. The educational level was at M.1-M.3 or MS.1-MS.3. They were single and worked with private sectors earning about 2,001-3,000 baht. Most of the dropouts were students in the field of electric and electronics. 2. Results of the study indicated that important cause of the dropout was not the curriculum, the teacher and their teaching methodology, the services and environment, the teaching and training aids or the evaluation, but it was the student’s background. The item that showed the high level of cause was having no adequate time for studying because of working. It’s importantness was at the middle level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30011
ISBN: 9745676799
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Louis_um_front.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open
Louis_um_ch1.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open
Louis_um_ch2.pdf11.51 MBAdobe PDFView/Open
Louis_um_ch3.pdf4.54 MBAdobe PDFView/Open
Louis_um_ch4.pdf13.19 MBAdobe PDFView/Open
Louis_um_ch5.pdf9.29 MBAdobe PDFView/Open
Louis_um_back.pdf15.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.