Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30034
Title: | การเลือกภาษาและการธำรงภาษาของคนไทยเชื้อสายมอญบางขันหมาก จังหวัดลพบุรี |
Other Titles: | Language choice and language maintenance of Thai-Mon people in Bang Khan Mak, Lop Buri Province |
Authors: | พิมพ์ชนา พาณิชย์กุล |
Advisors: | อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | amaraprasithrathsint@hotmail.com |
Subjects: | ชาติพันธุ์วิทยา -- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มอญ -- ไทย -- ลพบุรี ภาษามอญ-เขมร การธำรงภาษา -- ไทย -- ลพบุรี ภาษาศาสตร์เชิงสังคมวิทยา |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเลือกภาษาของคนไทยเชื้อสายมอญบางขันหมากในตำบลบางขันหมากจังหวัดลพบุรี ตามแวดวงภาษา อายุของผู้พูด เพศของผู้พูด เพศของคู่สนทนา และศึกษาวิธีการธำรงภาษาของคนไทยเชื้อสายมอญ ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากการสังเกตและจดบันทึกการเลือกใช้ภาษาของชาวมอญ 180 คนในเขตหมู่ที่ 1,2,3,6,7,9 และ 12 ของตำบลบางขันหมาก 6 แวดวงภาษา ได้แก่ แวดวงงานประเพณี แวดวงศาสนา แวดวงครอบครัว แวดวงเพื่อน แวดวงที่ทำงาน และแวดวงตลาด นอกจากนั้นผู้วิจัยยังได้สัมภาษณ์เจาะลึกผู้ที่มีบทบาทในการธำรงภาษาในชุมชน 3 คนเพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับผลการวิเคราะห์การเลือกภาษา ผลการวิจัย พบว่า โดยทั่วไปคนไทยเชื้อสายมอญบางขันหมากเลือกใช้ภาษาไทยมากที่สุดรองลงมาคือ ภาษามอญ และน้อยสุด คือ ภาษาไทยสลับมอญ และเมื่อพิจารณาแต่ละแวดวงภาษา พบว่า คนไทยเชื้อสายมอญบางขันหมากเลือกใช้ภาษามอญสูงที่สุด ในแวดวงงานประเพณีและศาสนา รองลงมา คือ แวดวงครอบครัว เพื่อน ที่ทำงาน และน้อยสุด คือ ในแวดวงตลาด โดยกลุ่มที่เลือกใช้ภาษามอญสูงที่สุด คือ กลุ่มผู้มีอายุ 46-65 ปี รองลงมา คือ กลุ่มผู้มีอายุ 26-45 ปี และน้อยสุด คือ กลุ่มผู้มีอายุ 5-25 ปี ทั้งนี้ความแตกต่างในการเลือกภาษาในแต่ละแวดวงและในแต่ละช่วงอายุต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่าเพศกับการเลือกภาษา พบว่า เพศของผู้บอกภาษาและเพศคู่สนทนาไม่ทำให้การเลือกภาษาของคนไทยเชื้อสายมอญบางขันหมากแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนผลการศึกษากิจกรรมการธำรงภาษา พบว่า กิจกรรมเพื่อการธำรงภาษาโดยเฉพาะในชุมชนมอญบางขันหมากนั้นเพิ่งจะริเริ่มและยังไม่มีการวางแผนที่ชัดเจน แต่กิจกรรมในการธำรงประเพณีและวัฒนธรรมมีอยู่มากซึ่งมักจะสอดแทรกเรื่องการธำรงภาษาไว้ด้วย ถึงแม้ผู้วิจัยจะพบว่า การใช้ภาษามอญน้อยลงตามอายุ และโดยรวมแล้วคนไทยเชื้อสายมอญบางขันหมากเลือกใช้ภาษาไทยมากที่สุด ผู้วิจัยก็ยังเชื่อว่าชาวชุมชนมอญบางขันหมากจะไม่เปลี่ยนภาษา เพราะชาวชุนชนเริ่มมีการรวมกลุ่มและการปฏิบัติอย่างเป็นแบบแผนเพื่อธำรงภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ตน ซึ่งจากการประสบความสำเร็จในกิจกรรมธำรงประเพณีและความหวงแหนในเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ของคนไทยเชื้อสายมอญบางขันหมากที่ผู้วิจัยสังเกตเห็น ผู้วิจัยคิดว่าการธำรงภาษาที่เพิ่งจะริเริ่มในชุมชนนี้จะประสบความสำเร็จ หรืออย่างน้อยภาษามอญก็จะไม่สูญไปจากชุมชนนี้ |
Other Abstract: | This study investigates language choice and language maintenance among Thai-Mon people in Bang Khan Mak, Lop Buri Province, Thailand. The social context taken into account consists of domains of language use, the speaker’s age and sex, the addressee’ s sex, and the activities Thai-Mon people in Bang Khan Mak are involved in for maintaining their indigenous language. The data was collected by observing and recording the patterns of language choice in real-life conversations of 180 Thai-Mon people in seven purposely selected communities in Ban Khan Mak. Six domains of language use were focused: tradition domain, religion domain, family domain, friend domain, work domain and market domain. Moreover, three important local people were deeply interviewed concerning activities leading to the maintenance of Mon in Bang Khan Mak. The findings show that in general Thai-Mon people in Bang Khan Mak choose to speak Thai most frequently, Mon second most frequently and code-switching (Thai-Mon) least frequently. Taking the domains of language use into consideration, it is found that Thai-Mon people use Mon most frequently in tradition and religion domains, followed by family domain, friend domain, work domain and market domain, respectively. With regard to the speaker’s age, Mon is used most frequently by the oldest group of speakers (46-65 years old), followed by the second oldest group (25-45 years old), and least frequently by the youngest speakers (5-25 years old). The differences between the patterns of language choice according to the domains of language use and the speaker’s age are statistically significant ; however, they are not statistically significant according to the speaker’s and the addressee’s sex. Regarding language maintenance, it is found that there are various activities for preserving Mon culture in Bang Khan Mak and most of them, particularly the codification of the Mon language, seem to lead to Mon language maintenance. Even if it is found that young people used Mon less than old people, the researcher believes that language shift from Mon to Thai in Bang Khan Mak may not occur in the long run because of the well-planned maintenance activities and the Thai-Mon’s pride of their ethnicity. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30034 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1123 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1123 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pimchana_pa.pdf | 7.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.