Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30061
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ
dc.contributor.authorไมตรี เหงียน
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-03-19T09:56:46Z
dc.date.available2013-03-19T09:56:46Z
dc.date.issued2531
dc.identifier.isbn9745691895
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30061
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531en
dc.description.abstractการก่อสร้างอาคารสูงในปัจจุบันนิยมระบบโครงสร้างแบบแผ่นพื้นไร้คาน น้ำหนักของเครื่องมือที่ใช้ขณะการก่อสร้างรวมกับน้ำหนักของโครงสร้างแผ่นพื้นชั้นบนๆ จะต้องแบกรับด้วยแผ่นพื้นชั้นล่างๆ ด้วยการถ่ายผ่านระบบค้ำยันหลาย ๆ ชั้น และถ้าหากน้ำหนักบรรทุกจรที่ออกแบบเพื่อการใช้สอยมีค่าน้อย อาจก่อให้เกิดปัญหาในการรับแรงระหว่างการก่อสร้างได้ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาน้ำหนักบรรทุกที่แบกรับบนแผ่นพื้นไร้คานและในค้ำยันที่เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้างด้วยการจำลองโครงสร้างให้เป็นโครงข้อแข็งที่มีพื้นเป็นคานเสมือน ค้ำยันและเสาเป็นเสาเสมือนแล้วคำนวณการถ่ายแรงตามวิธีการของการวิเคราะห์โครงข้อแข็ง โดยมีตัวแปรหลักคือ จำนวนชั้นของค้ำยันที่รองรับ อัตราการก่อสร้าง ชนิดของคอนกรีต ระยะห่างของค้ำยัน ความหนาของแผ่นพื้น สติฟเนสของค้ำยันและกำลังอัดประลัยของคอนกรีต ผลการศึกษาพบว่า เมื่อมีการถ่ายน้ำหนักจากชั้นบนสุด ค้ำยันและแผ่นพื้นในชั้นต่ำลงมาจะแบกรับน้ำหนักลดหลั่นกันลงมาจากมากไปหาน้อย ในกรณีที่คำยันมีจำนวนขั้นมากกว่า 3 ชั้น แผ่นพื้นในระดับต่ำกว่าชั้นที่ 3 จากบนสุดจะรับผลจากน้ำหนักขณะก่อสร้างไม่เกิน 10% ของน้ำหนักบรรทุกรวมที่กระทำ และเมื่อมีการถอดค้ำยันพฤติกรรมการถ่ายแรงจะเป็นไปในทางกลับกัน คือเมื่อถอดค้ำยันชั้นล่างสุดออกแรงในค้ำยันชั้นล่างจะถูกถ่ายเข้าสู่แผ่นพื้นชั้นบนๆ โดยชั้นล่างจะรับแรงสูงสุดแล้วค่อยๆ ลดลงตามลำดับ อนึ่งการถ่ายแรงในระหว่างการถอดค้ำยันชั้นล่าง น้ำหนักจะถ่ายเข้าแผ่นพื้นล่างสุดเกินกว่า 63% และส่วนที่เหลือจะถ่ายเข้าแผ่นพื้นชั้นบนๆ น้ำหนักบรรทุกสะสมสูงสุดในแผ่นพื้นในระหว่างการก่อสร้างจะมีค่าประมาณ 1.6 เท่าของน้ำหนักแผ่นพื้นในการเทชั้นบนสุดไม่ว่าจะใช้จำนวนค้ำยันรองรับกี่ชั้นก็ตาม นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราการก่อสร้าง ชนิดของคอนกรีต สติฟเนสและระยะห่างของค้ำยัน มีผลต่อน้ำหนักบรรทุกสะสมพอสมควร กล่าวคือ อัตราการก่อสร้างจะต้องสอดคล้องกับชนิดของคอนกรีตที่พัฒนากำลังได้ถึง 70% ตามอัตราการก่อสร้างต่อชั้นจึงจะไม่มีผล ในขณะที่สติฟเบสของค้ำยันและระยะห่างของค้ำยันมีผลต่อการถ่ายน้ำหนักถึง 9% และ 8% ตาม ลำดับ ทั้งนี้ความหนาของแผ่นพื้น กำลังอัดประลัยของคอนกรีต และจำนวนขั้นของค้ำยันรองรับ แสดงให้ เห็นว่ามีผลน้อยมากต่อการถ่ายน้ำหนักลงแผ่นพื้นและค้ำยัน
dc.description.abstractalternativeFlat slab has been one of the most popular floor systems for high-rise construction. It is a common practice that a freshly placed slab must be supported by hardened slabs below by means of shoring system. However, the accumulative load transmission in the floor slab may become a problem during its construction especially when the design live load is relatively small. The objective of this thesis is to determine actual forces transfer to the slabs and shoring system during the construction by modeling the structure as a rigid frame considering the slabs and shoring system as an equivalent frame. The analysis has been performed by conventional frame analysis using the following variables such as number of supported slabs, rate of contruction, types of cement, shore spacing, slab thickness, shore stiffness and concrete strength. The results indicate that loads contributed by freshly placed slab will distribute through the shoring into the slabs. The highest floor has shared more loads than the lower ones and the distribution has shown to be relatively small when more than 3 consecutive floors supports have been used. The forces transfer to the last third floor have shown to be less than 10% of distributed loads. On the other hand when shoring systems on the lowest floor are removed, the loads have transmitted from the shores to the upper slabs ; the lowest floor has picked up the higher load than the upper ones with gradually decrease. During releasing the shores, the lowest floor has taken more than 63% of the loads while the rest has been carried by the upper floors. The maximum accumulative loads carried by slabs during construction sequence have shown to be about 1.6 times of newly cast slab weight. The accumulative loads carried by the floor slab depend on rate of construction, types of cement, shore stiffness and shore spacing. Rate of the construction must be related to the concrete strength development. It is indicated that if concrete strength development is more than 70% at the rate of the construction, then the rate of construction seems to be less influenced to accumulative load transmission. The shore stiffness and the shore spacing will affect the transmitted loads in the floor or shoring in the magnitude of 9% and 8% respectively. The slab thickness, concrete strength and the number of supported slabs show very slightly effect on the accumulative load on the floor slabs.
dc.format.extent6375023 bytes
dc.format.extent2954632 bytes
dc.format.extent8426012 bytes
dc.format.extent3581421 bytes
dc.format.extent1122748 bytes
dc.format.extent15536979 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการถ่ายน้ำหนักลงค้ำยันในการก่อสร้างอาคารสูงประเภทแผ่นพื้นไร้คานen
dc.title.alternativeLoad distribution on shoring in multistory flat plate consturctionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Maitree_ng_front.pdf6.23 MBAdobe PDFView/Open
Maitree_ng_ch1.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open
Maitree_ng_ch2.pdf8.23 MBAdobe PDFView/Open
Maitree_ng_ch3.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open
Maitree_ng_ch4.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Maitree_ng_back.pdf15.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.