Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30066
Title: ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อเครื่องดื่มเกลือแร่ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Consumers' attitude towards electroyte beverage in Bangkok metropolitan area
Authors: อนุรักษ์ แช่มปรีชา
Advisors: สุรพัฒน์ วัชรประทีป
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ในการทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภค ที่มีต่อเครื่องดื่มเกลือแร่ โดยออกแบบสอบถามสำรวจตัวอย่างผู้บริโภคที่เคยดื่มและไม่เคยดื่มจำนวน 500 รายในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งผลจากการสำรวจสรุปได้ดังนี้คือ ผลจากการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ว่า ผู้บริโภคน้อยกว่า 70% มีความเห็นว่าประโยชน์ของเครื่องดื่มเกลือแร่คือทดแทนเกลือแร่ที่สูญเสียไปเนื่องจากการออกกำลังกาย เล่นกีฬา หรือทำงานและผู้บริโภคเพศชายและเพศหญิงให้ความเห็นเกี่ยวกับรสชาติที่ชอบแตกต่างกัน ผู้บริโภคตัวอย่างที่ยังคงดื่มในปัจจุบัน เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุระหว่าง 30-34 ปี อาชีพพนักงานขับรถ เหตุผลในการดื่มครั้งแรก คืออยากทดลองดื่ม โดยคาดหวังคุณประโยชน์ในด้านการช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย และนิยมดื่มยี่ห้อสปอนเซอร์มากที่สุด ปัจจัยที่ใช้กำหนดในการเลือกยี่ห้อ ผู้บริโภคตัวอย่างส่วนใหญ่คำนึงถึงการหาซื้อได้ง่าย โดยมักจะหาซื้อตามร้านขายของทั่วไป และก็ดื่มที่ร้านขายของชำนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะดื่มเมื่อรู้สึกอ่อนเพลีย และมีความถี่ในการดื่มมากกว่า 1 เดือน/ครั้ง ด้านภาชนะบรรจุ ผู้บริโภคตัวอย่างส่วนใหญ่ชองเครื่องดื่มที่บรรจุในขวดแก้วขนาด 250 ซีซี และขายในราคาสูงสุดไม่เกิน 5 บาท และต่ำสุด ประมาณ 3 บาท ด้านรสชาติผู้บริโภคตัวอย่างส่วนใหญ่ชอบรสหวานอมเปรี้ยวและไม่ใส่คาร์บอเนตที่ทำให้เกิดรสซ่า ด้านประโยชน์และโทษของเครื่องดื่มเกลือแร่ ผู้บริโภคตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าเครื่องดื่มเกลือแร่มีประโยชน์ในแง่ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลียได้ ส่วนโทษนั้นผู้บริโภคตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าไม่มีโทษต่อร่างกาย ผู้บริโภคตัวอย่างที่เคยดื่มแต่ในปัจจุบันเลิกดื่มแล้ว เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุ ระหว่าง 35-39 ปี อาชีพแม่บ้านและไม่ได้ทำงาน ให้เหตุผลในการดื่มครั้งแรกว่าอยากทดลอง และเมื่อได้ทดลองดื่มไประยะหนึ่งแล้ว ก็เลิกดื่มโดยมีเหตุผลว่าไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ผู้บริโภคตัวอย่างที่ไม่เคยดื่มเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุระหว่าง 15-19 ปี ไม่ได้ทำงาน มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 2,000 บาท มีเหตุผลที่ไม่ดื่มเพราะคิดว่าเครื่องดื่มเกลือแร่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ข้อเสนอแนะแนวทางสำหรับบริษัทผู้ผลิตจำหน่าย บริษัทผู้ผลิตจำหน่ายควรปรับปรุงผลิตภัณฑ์ในด้านรสชาติโดยให้มีรสชาติแบบหวานอมเปรี้ยว กลิ่นและสีให้เหมือนธรรมชาติของผลไม้ชนิดต่างๆ เช่น มะนาว สตรอเบอรี่ และส้ม เป็นต้น นอกจาการปรับปรุงรสชาติแล้ว บริษัทผู้ผลิตจำหน่ายควรเน้นการกระจายสินค้าให้มากโดยเน้นขายผ่านร้านขายของชำ และร้านขายยาเพื่อสะดวกและง่ายต่อการหาซื้อของผู้บริโภค และราคาที่ขายปลีกไม่ควรเกิน 5 บาท ต่อขนาดบรรจุ 250 ซีซี ส่วนทางด้านการส่งเสริมการจำหน่ายนั้น บริษัท ผู้ผลิตจำหน่ายควรเน้นการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ โดยเฉพาะในช่วงการแนะนำผลิตภัณฑ์หรือในช่วงฤดูร้อน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รู้จักและทราบถึงคุณประโยชน์ นอกจากนี้บริษัทผู้ผลิตจำหน่ายยังควรจะต้องจัดรายการส่งเสริมการขาย แบบ ลด แลก แจก แถม บ้าง เพื่อกระตุ้นการดื่มให้มีมากขึ้น อีกทั้งควรจะส่งเสริมการขายโดยการเข้าร่วมกิจกรรมทางด้านการกีฬาหรือออกกำลังกาย เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้เกิดกับผู้บริโภคในแง่ของเครื่องดื่มที่ช่วยเสริมสร้างพลังงานและเกลือแร่ที่สูญเสียไปจากการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา
Other Abstract: The objective of this thesis is to study consumer behavior and attitudes towards electrolyte beverage. Personal interview with users and non users in Bangkok Metropolitan Area was conducted A total of 500 respondents were successfully interviewed The result of hypotheses test, consumers less than 70% belive that electrolyte beverage would help to replace sweat that loss of working hard or exercise. Male and female users different favours. It was found that among presents users, male users significantly outnumber females. The majority of users were 30-40 years old, mostly employed as drivers, The reason for the first trial is from curiosity with expectation that electrolyte beverage would help prevent fatiques. The brand that is reported more frequently than others is SPONSER. The factor that affects the choice of brands is reported to be a wide distribution. Normally , users could purchase the product and drink it at a regular shophouse. Frequency of usage is found to be one bottle per month or longer. Other findings on different aspects are as follows. The most preferred container is glass bottle with net weight of 250 cc. The appropriate price should be in 3-5 baht range. Most respondents likes sweetness with lemon flavour and non-carbonate. They believe that electrolyte beverage can help relaxation of fatiques and none is concerned with side effects. Past users are females more than males, aged 35-39 years old. Most of them are housewives. Their first trial is also from curiosity. It is found that those users stopped the consumption because they think the product is not beneficial to them. Finally, for those who are nonusers, It is founded that most of them are females, 15-19 years old, and unemployed the reason for not buying is the product is not beneficial at all. Concerning recommendations to manufacturers and distributors of electrolyte beverage , They should make the product to cover different flavours such as lemon , strawberry, orange ect. Moreover, taste should be sweet with lemon-flavour to meet consumer preference. Besides an improvement in taste, attempt to expand distribution must also be undertaken. The retail price for each bottle should be 5 baht or below. The manufacturers and the distributors should concentrate on T.V. advertising especially during summer or at initial launch period to build consumer awareness and familiary with the product. Active in store promotion is suggested for maximum brand exposures. Furthermore, sponsoring sport events might be considered effectively communicated product benefits to the target group.
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30066
ISBN: 9745693006
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anurak_ch_front.pdf980.99 kBAdobe PDFView/Open
Anurak_ch_ch1.pdf927.21 kBAdobe PDFView/Open
Anurak_ch_ch2.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Anurak_ch_ch3.pdf4.41 MBAdobe PDFView/Open
Anurak_ch_ch4.pdf924.4 kBAdobe PDFView/Open
Anurak_ch_back.pdf981.45 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.