Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30362
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมชาย จงวุฒิเวศย์-
dc.contributor.authorนภาพร กวมทรัพย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-03-26T03:50:01Z-
dc.date.available2013-03-26T03:50:01Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30362-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractโรคมาลาเรียเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลก ในแต่ละปีมีผู้ป่วยมาลาเรียประมาณ 350 - 500 ล้านคน และเสียชีวิตประมาณ 1 ล้านคน ถึงแม้ว่าโรคมาลาเรียส่วนใหญ่จะเกิดจากการติดเชื้อพลาสโมเดียม ฟัลซิปารัม ซึ่งก่อให้เกิดอาการรุนแรงและมีอุบัติการณ์ก่อโรคมากกว่ามาลาเรียชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตามเชื้อพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ มีการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์อย่างกว้างขวางและมีความสามารถในการก่อให้เกิดความเจ็บป่วยเรื้อรังและกลับมาเป็นซ้ำได้เนื่องจากการมีระยะพักตัวที่อยู่ในเซลล์ตับและเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการรุนแรงทางคลินิก สำหรับเป้าหมายของการจำกัดเชื้อมาลาเรียโดยการตัดขั้นตอนในการติดต่อของเชื้อนั้น ระยะแกมีโตไซต์ในกระแสเลือดของผู้ที่ติดเชื้อมาลาเรียจึงเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับยาและวัคซีน ดังนั้นการประมาณการแพร่กระจายของระยะดังกล่าวจึงมีความสำคัญต่อการควบคุมโรค ถึงแม้ว่าวิธีการตรวจหาเชื้อภายใต้กล้องจุลทรรศน์ถือเป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไปทางห้องปฏิบัติการในการตรวจวินิจฉัยโรคมาลาเรีย แต่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องการตรวจหาเชื้อในตัวอย่างที่มีปริมาณเชื้อต่ำกว่าการตรวจสอบภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ปัจจุบันได้มีการพัฒนานำเทคนิคทางชีวโมเลกุลมาใช้ในการตรวจหาแกมีโตไซต์ การศึกษานี้จึงได้พัฒนาวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์เรส รีเวอร์ส ทรานสคริปชั่น โดยใช้ยีนเป้าหมาย คือ พีวีเอส 25 เพื่อการตรวจหาแกมีโตไซต์ระยะที่ 5 ของเชื้อพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ โดยทำการเก็บตัวอย่างเลือดจำนวน 106 ตัวอย่าง จากผู้ป่วยติดเชื้อพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ ที่เข้ารับการรักษาจากมาลาเรียคลินิกในจังหวัดตาก จัดเป็นตัวอย่างในฤดูฝนจำนวน 49 ตัวอย่าง และในฤดูแล้งจำนวน 57 ตัวอย่าง โดยใช้อาร์เอ็นเอที่ถูกเตรียมจากเลือดที่เก็บในสารคงสภาพอาร์เอ็นเอและเลือดที่เก็บบนกระดาษกรอง ผลการศึกษาพบระยะแกมีโตไซต์ในกระแสเลือด จากการตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์จากฟิล์มเลือดชนิดหนาและชนิดบางที่ย้อมด้วยสียิมซ่าร้อยละ 56.0 และร้อยละ 52.38 ของผู้ที่ติดเชื้อพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ ในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝน ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับผลปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์เรส รีเวอร์ส ทรานสคริปชั่น ที่มีความจำเพาะต่อยีนพีวีเอส 25 ผลการตรวจพบร้อยละ 91.84 และร้อยละ 94.87 ของอาร์เอ็นเอจากตัวอย่างเลือดผู้ป่วยที่ติดเชื้อพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ ในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝน ตามลำดับ โดยสรุปผลการตรวจหาแกมีโตไซต์ให้ผลบวกร้อยละ 93.18 จากการใช้อาร์เอ็นเอที่เตรียมจากเลือดที่เก็บในสารคงสภาพอาร์เอ็นเอ และร้อยละ 89.77 โดยวิธีการหยดเลือดบนกระดาษกรอง การวินิจฉัยความไวของการตรวจสอบยีนพีวีเอส 25 โดยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์เรส รีเวอร์ส ทรานสคริปชั่น อาร์เอ็นเอที่ถูกเตรียมจากเลือดที่เก็บในสารคงสภาพอาร์เอ็นเอและเลือดที่เก็บบนกระดาษกรองไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และพบว่าความชุกของแกมีโตไซต์ในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝนไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝน การศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์เรส รีเวอร์ส ทรานสคริปชั่น มีความไวในการตรวจพบแกมีโตไซต์ของเชื้อพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ ได้ดีกว่าการตรวจสอบภายใต้กล้องจุลทรรศน์ จากตัวอย่างเลือดผู้ป่วยที่ถูกเก็บในสารคงสภาพอาร์เอ็นเอและบนกระดาษกรอง และพบความชุกสูงของแกมีโตไซต์ของเชื้อพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ เกิดขึ้นทั้งในฤดูกาลที่มีการแพร่กระจายของเชื้อต่ำในช่วงฤดูแล้งและสูงในช่วงฤดูฝนจากพื้นที่ที่มีการแพร่กระจายของเชื้อในประเทศไทยen
dc.description.abstractalternativeMalaria remains one of the world’s most important public health burdens. It has been estimated that 350-500 million people are infected with malaria, resulting in about 1 million deaths each year. Although malaria caused by Plasmodium falciparum is the most pernicious and contributes the most disease burden of all malaria species at the global scale, Plasmodium vivax occupies a larger geographical niche and is capable of causing chronic relapsing illness due to the presence of a dormant stage in hepatocyte and can be responsible for severe clinical syndromes. For malaria eradication aiming at abrogating malaria transmission, circulating gametocytes in infected individuals are targets for drugs and vaccines. Therefore, estimation of gametocyte carriage has important implication for disease control. Although microscopy is considered to be a practical tool for malaria diagnosis. Furthermore, a number of infected blood samples harboring parasites below microscopic detection threshold are undiagnosed by microscopy. Herein, a novel nested reverse transcription polymerase chain reaction (nested RT-PCR) targeting Pvs25 mRNA was developed for detection of mature gametocytes (stage V) of P. vivax. The performance of the RT-PCR method was evaluated using blood samples from 106 P. vivax-infected patients who attended a malaria clinic in Tak Province in rainy season (n=49) and in dry season (n=57). RNA was extracted from both fresh blood spotted onto filter paper and RNA-preserved blood sample from each subject. Results showed that 56% (28/50) and 52.38% (22/42) of patients infected with P. vivax collected in dry and in rainy seasons, respectively, had gametocytes in their circulation based on microscopic examination of Giemsa stained thin and thick blood films. On the other hand, the nested RT-PCR method could specifically amplify Pvs25 mRNA in 91.84% (45/49) and 94.87% (37/39) of RNA-preserved blood samples from patients infected with P. vivax in dry and in rainy seasons, respectively. In total, 93.18% (82/88) of RNA-preserved blood samples gave positive tests for nested RT-PCR method and 89.77% (79/88) of blood samples spotted onto filter paper conferred positive results. It is noteworthy that no significant difference in diagnostic sensitivity for Pvs25 mRNA detection by nested RT-PCR was observed when templates were derived from RNA-preserved blood samples or from blood samples spotted onto filter paper (p>0.05). The prevalence of P. vivax gametocyte carriage did not show significant difference between samples collected in dry season and those collected in rainy seasons. Taken together, this study demonstrated that the nested RT-PCR method was superior to microscopy for detection of P. vivax mature gametocytes in patients’ blood samples that could be efficiently stored either on filter paper or RNA preservative and that a high prevalence of submicroscopic P. vivax gametocytemia occurred in both low (dry season) and high (rainy season) transmission seasons in an endemic area of Thailand.en
dc.format.extent2214873 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1075-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectมาลาเรียen
dc.titleการตรวจหาแกมีโตไซต์ของพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ ในกระแสเลือด โดยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์เรส รีเวอร์ส ทรานสคริปชั่นen
dc.title.alternativeDetection of Plasmodium vivax gametocytes in circulation by reverse transcription polymerase chain reactionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineปรสิตวิทยาทางการแพทย์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSomchai.Jo@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1075-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
napaporn_ku.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.