Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30455
Title: | อัตราผลตอบแทนจากการรับรู้ในการศึกษาต่อสายอาชีวะและสายสามัญ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดเชียงราย |
Other Titles: | Perceived rates of return to vocational and general education of senior lower secondary students in Chiangrai, Thailand |
Authors: | นันท์ปพร มหาไม้ |
Advisors: | พิษเณศ เจษฎาฉัตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Phitsanes.J@chula.ac.th |
Subjects: | การศึกษา -- แง่เศรษฐกิจ อัตราผลตอบแทน นักเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย -- เชียงราย Education -- Economic aspects Rate of return High school students -- Thailand -- Chiang Rai |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) คำนวณอัตราผลตอบแทนจากการรับรู้ในการลงทุนทางการศึกษาสายอาชีวะและสายสามัญ และ (2) ศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการตัดสินใจศึกษาต่อของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2554 ในจังหวัดเชียงราย การศึกษาอัตราผลตอบแทนจากการรับรู้ในลงทุนทางการศึกษาใช้การคำนวณโดย Elaborate method และ Short-cut method สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการตัดสินใจศึกษาต่อ ใช้แบบจำลองหลายทางเลือก (Multinomial logit model) โดยตัวแปรที่สนใจศึกษา ได้แก่ เพศ ผลการศึกษาเฉลี่ย ประเภทของโรงเรียน ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง จำนวนพี่น้อง อิทธิพลของผู้ปกครองในการตัดสินเลือกประเภทการศึกษา และภาพลักษณ์ความรุนแรงในกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษา และสัดส่วนของอัตราผลตอบแทนจากการรับรู้ในการลงทุนทางการศึกษาสายอาชีวะต่อสายสามัญ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้มาจากการตอบแบบสอบถามของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ในจังหวัดเชียงราย มีจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 561 คน ผลการศึกษาพบว่าอัตราผลตอบแทนจากการรับรู้ในการลงทุนทางการศึกษาสายอาชีวะและสายสามัญที่คำนวณโดย Elaborate method มีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 13.14 และ 12.23 ตามลำดับ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนจากการรับรู้ที่คำนวณโดย Short-cut method มีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 9.22 และ 8.75 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อ พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อ ได้แก่ ผลการศึกษาเฉลี่ย ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง อิทธิพลจากผู้ปกครอง และภาพลักษณ์การใช้ความรุนแรงในกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษา แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการตัดสินใจศึกษาต่อสายอาชีวะและสายสามัญ พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ได้แก่ ผลการศึกษาเฉลี่ย ประเภทโรงเรียน ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง และสัดส่วนของอัตราผลตอบแทนจากการรับรู้ในการลงทุนทางการศึกษาสายอาชีวะต่อสายสามัญ ที่คำนวณโดย Elaborate method |
Other Abstract: | The purposes of this study are as follows (1) to estimate the perceived rates of return on vocational and general education; and (2) to determine factors affecting decision to pursue vocational or general secondary education of lower secondary education students of Chiangrai province in the academic year 2011. The perceived rates of return are calculated by the elaborate method and short-cut method. The multinomial logit model is employed to determine factors affecting decision to pursue vocational or general secondary education. Independence variables are gender, GPA, type of schools, parental education, number of siblings, parents’ influence on education choice, awareness of violence by vocational students, and the ratio of the received rates of return on vocational to general secondary education. Data are collected by questionnaires from 561 lower secondary education students of Chiangrai province in the academic year 2011. The average perceived rates of return on vocational and general education as estimated by the elaborate method are 13.14% and 12.23%, respectively. The average perceived rates of return as estimated by short-cut method are of 9.22% and 8.75%, respectively. The results from the multinomial logit indicate that GPA, parental education, the influence of parent and image of vocational student violence have a significant effect on the students’ decision to pursue vocational or general secondary education. However, the decision to choose between vocational and general secondary education depends on GPA, types of school, parental education, and the ratio of perceived rates of return estimated by the elaborate method. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30455 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1418 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1418 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nunpaporn_ ma.pdf | 1.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.