Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30478
Title: การดูดซับเมทานอลในไบโอดีเซลด้วยถ่านดูดซับจากเปลือกถั่วแมคคาเดเมีย
Other Titles: Adsorption of methanol in biodiesel with carbon adsorbent from macadamia nut shells
Authors: พรรณธิดา บรรจง
Advisors: เดชา ฉัตรศิริเวช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: deacha.c@chula.ac.th
Subjects: เมทานอล
ถ่าน
เชื้อเพลิงไบโอดีเซล
การดูดซับ
แมคาเดเมีย
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ถ่านดูดซับจากเปลือกถั่วแมคคาเดเมียสังเคราะห์ด้วยสารละลายกรดฟอสฟอริกเข้มข้นร้อยละ 30 – 50 โดยมวล และนำไปเผา ณ อุณหภูมิ 250 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากล้างถ่านดูดซับด้วยน้ำกลั่น นำถ่านดูดซับไปอบ ณ อุณหภูมิ 50, 80, 120 และ 200 องศาเซลเซียส ตามลำดับ เป็นเวลา 5 ชั่วโมง เมื่อนำไปดูดซับเมทานอลในไบโอดีเซลพบว่าถ่านดูดซับที่อบ ณ อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส สามารถดูดซับเมทานอลและไบโอดีเซลไปพร้อมๆกัน โดยมีปริมาณดูดซับเมทานอลและไบโอดีเซลจำเพาะ 181.564 และ 122.448 มิลลิกรัมต่อกรัมถ่านดูดซับ ตามลำดับ ภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง แต่ความสามารถในการดูดซับของถ่านดูดซับลดลงหลังจากการฟื้นฟูสภาพถ่านดูดซับประมาณร้อยละ 20 ส่วนถ่านดูดซับที่อบ ณ อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส มีปริมาณดูดซับเมทานอลจำเพาะ 157.890 มิลลิกรัมต่อกรัมถ่านดูดซับ และหลังจากการฟื้นฟูสภาพถ่านดูดซับไม่ส่งผลต่อความสามารถในการดูดซับของถ่านดูดซับ การดูดซับเมทานอลในไบโอดีเซลสามารถอธิบายได้ด้วยแบบจำลองสมดุลดูดซับของแลงเมียร์โดยมีค่าคงที่สมดุลดูดซับของแลงเมียร์ เท่ากับ 0.200 และปริมาณสมดุลดูดซับจำเพาะสูงสุด เท่ากับ 238.152 มิลลิกรัมต่อกรัมถ่านดูดซับ
Other Abstract: Macadamia nut shells, in actual hemispherical shape, were converted to carbon adsorbent by reaction of 30 – 50%wt phosphoric acid solutions at 250℃ for 1 hour. After washing the adsorbents with distilled water, they were dried in an oven at 50, 80, 120 and 200℃, respectively, for 5 hours. The methanol separation performance of the adsorbents synthesized from biodiesel were investigated. In addition, methanol adsorption isotherm was proposed. The macadamia nut shell adsorbent, which was dried at 200℃, could adsorb methanol and biodiesel simultaneously upto 181.564 and 122.448 mg/g, respectively within 3 hours. However, the adsorption capacity was reduced by 20% after regeneration. While the adsorbent, which was dried at 50℃, could selectively adsorb methanol upto 157.890 mg/g, and the adsorbent could be regenerated to recover the same adsorption capacity. The adsorption isotherm of methanol in biodiesel was agreed with Langmuir’s isotherm model with adsorption equilibrium constant K[subscript L] = 0.200 and maximum adsorption equilibrium capacity q[subscript max] = 238.152 mg/g.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30478
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1182
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1182
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
punthida_bu.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.